องค์ประกอบที่ 7การบริหารและการจัดการ
ตัวบ่งชี้ที่ 7.4ระบบบริหารความเสี่ยง
ชนิดตัวบ่งชี้กระบวนการ
ผู้กำกับดูแลตัวชี้วัด :
อาจารย์ ดร.สุธาทิพย์   งามนิล
ผู้จัดเก็บข้อมูล  :
นายมงคล    แพทองคำ
นางสาววรางคณา   เขียวแก้ว
โทรศัพท์ : 0-5621-9100  ต่อ  1201 โทรศัพท์ : 0-5621-9100  ต่อ 1204

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1
คะแนน 2
คะแนน 3
คะแนน 4
คะแนน 5
มีการดำเนินการ
1 ข้อ
มีการดำเนินการ
2 ข้อ
มีการดำเนินการ
3 หรือ 4 ข้อ
มีการดำเนินการ
5 ข้อ
มีการดำเนินการ
6 ข้อ

ผลการประเมินตนเอง

มี
ข้อ
เกณฑ์
ผลดำเนินงาน
หลักฐาน
1
มีการแต่งตั้งคณะกรรมการหรือคณะทำงานบริหารความเสี่ยง โดยมีผู้บริหารระดับสูงและตัวแทนที่รับผิดชอบพันธกิจหลักของสถาบันร่วมเป็นคณะกรรมการหรือคณะทำงาน
สำนัก ฯ นำระบบบริหารความเสี่ยงเข้ามาใช้ในการบริหารปัจจัยและควบคุมกิจกรรมรวมทั้งกระบวนการดำเนินงานต่างๆ เพื่อลดเหตุของแต่ละโอกาสที่จะทำให้หน่วยงานเกิดความเสียหายให้อยู่ในระดับที่ยอมรับ ประเมิน ควบคุมและตรวจสอบได้ โดยคำนึงถึง การบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ของสำนักฯ และได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงเพื่อทำหน้าที่ในการวางแผนและติดตามบริหารความเสี่ยง
7-7.4-MR-1 รายงานผลการจัดการความเสี่ยง ปีงบประมาณ 2556 (ภาคผนวก:คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายในระดับหน่วยงาน)
2
มีการวิเคราะห์และระบุความเสี่ยง และปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงอย่างน้อย 3 ด้าน ตามบริบทของสถาบัน
สำนัก ฯ ได้จัดให้มีการประชุมทำความเข้าใจร่วมกันกับบุคลากรของหน่วยงานและทำการวิเคราะห์ความเสี่ยงและปัจจัยที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อการดำเนินงานของแต่ละกลุ่มงานส่งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง นำมาวิเคราะห์แยกเป็นด้าน ๆ ดังนี้
1.ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน
2.ความเสี่ยงด้านทรัพยากร(เทคโนโลยี)
3. ความเสี่ยงด้านบุคลากรและด้านธรรมา ภิบาล จรรยาบรรณของบุคลากรในหน่วยงาน
7-7.4-MR-2  รายงานการประชุมบุคลากร ครั้งที่ 6/2556  วาระที่ 5.2 การจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงระดับกลุ่มงาน
7-7.4-MR-3  แบบรายงานความเสี่ยงระดับกลุ่มงาน
3
มีการประเมินโอกาสและผลกระทบของความเสี่ยงและจัดลำดับความเสี่ยงที่ได้จากการวิเคราะห์ในข้อ 2
 
นำผลการวิเคราะห์ความเสี่ยงและปัจจัยทั้ง 3 ด้านนำเสนอต่อที่ประชุมบุคลากร ร่วมกันประเมินโอกาสและผลกระทบของแต่ละปัจจัย พร้อมทั้งเรียงลำดับผลการประเมินความเสี่ยงที่ได้จากการประเมิน ซึ่งมีผลการประเมินที่มีความเสี่ยงอยู่ในระดับสูง 3 ปัจจัย  อันได้แก่
1.มีการเข้าถึงฐานข้อมูลโดยบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาต
2.นักศึกษาลงทะเบียนไม่ครบตามโครงสร้างหลักสูตร
3.บุคลากรไม่ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับของหน่วยงาน
ปัจจัยเสี่ยงทั้ง 3 ประเด็นเข้าสู่กระบวนการบริหารจัดการความเสี่ยง
7-7.4-MR-1 แผนการจัดการความเสี่ยง สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน
7-7.4-MR-3  แบบรายงานความเสี่ยงรายบุคคล
4
มีการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงที่มีระดับความเสี่ยงสูง และดำเนินการตามแผน
คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงนำปัจจัยเสี่ยงที่อยู่ในระดับสูง มาจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงประจำปีงบประมาณ 2556  ภายใต้แนวทางการบริการจัดการความเสี่ยงทั้ง 4 แบบ และดำเนินงานตามแผนบริการความเสี่ยง อย่างครบถ้วน เพื่อลดโอกาส ผลกระทบที่จะเกิดผลเสียหายแก่หน่วยงาน
7-7.4-MR-4  แผนการจัดการความเสี่ยง สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน
5
มีการติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานตามแผน และรายงานต่อคณะกรรมการบริหารหน่วยงาน เพื่อพิจารณาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
กำหนดให้มีการรายงานผลการดำเนินการบริหารความเสียงในการประชุมของสำนักส่งเสริม ร่วมทั้งการเผยแพร่องค์ความรู้จากบุคลากรที่เข้ารับการอบรม  โดย มีผลการประเมินการดำเนินงาน บรรลุตามตัวชี้วัดของแผนการบริหารความเสี่ยง ดังนี้
- มีจัดโครงการอบรมบุคลากร ด้านจิตบริการ
- พัฒนาระบบงานทะเบียนและประมวลผล เพื่อให้การใช้งาน และการป้องกันระบบงานมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
- พัฒนาระบบงานทะเบียนและประมวลผลเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษา
     จากการดำเนินงานตามแผนการจัดการความเสี่ยง คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน ได้นำผลการดำเนินงานเข้าที่ประชุมคณะกรรมการประจำสำนัก และจัดส่งรายงานดังกล่าวไปยังหน่วยงานตรวจสอบภายใน เพื่อเป็นข้อมูลในการรับการตรวจสอบภายใน ระหว่างวันที่ 1-30 เมษายน 2557
7-7.4-MR-5  โครงการจิตบริการ ปีงบประมาณ 2556
7-7.4-MR-6  โครงการพัฒนาระบบงานทะเบียนและประมวลผล
7-7.4-MR-7  รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำสำนักฯ ครั้งที่ 1/2557  เรื่อง ผลการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง ปีงบประมาณ 2556
7-7.4-MR-8  บันทึกข้อความจัดส่งเอกสารการควบคุมภายใน ปีงบประมาณ 2556
6
มีการนำผลการประเมิน และข้อเสนอแนะจากสภาสถาบันไปใช้ในการปรับแผนหรือวิเคราะห์ความเสี่ยงในรอบปีถัดไป
จากการนำผลการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง รายงานต่อที่ประชุมคณะกรรมการประจำสำนัก ได้มีข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการประจำสำนัก ในด้านความปลอดภัยของฐานข้อมูลในระบบงานทะเบียนและประมวลผล  และการดำเนินงานด้านวิชาการที่ส่งผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรง(นักศึกษา) มาพิจารณาถึงความเป็นไปได้ในการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง โดยกำหนดเป็นกิจกรรม / โครงการในปีงบประมาณ 2557 ต่อไป  * (ข้อเสนอแนะถึงความเป็นไปได้ในการจัดทำระบบการตรวจสอบข้อมูลระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และระบบรักษาความปลอดภัยในการเข้าถึงฐานข้อมูลสำคัญ /// การพ้นสภาพของนักศึกษา การลาออก รีไทน์ เพราะผลการเรียน)
7-7.4-MR-7  รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำสำนักฯ ครั้งที่ 1/2557  เรื่อง ผลการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง ปีงบประมาณ 2556
7-7.4-MR-9  ข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการตรวจสอบภายใน ปีงบประมาณ 2554-2555
7-7.4-MR-10  แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ 2557
7-7.4-MR-11  รายละเอียดขอตั้งงบประมาณรายจ่าย ปีงบประมาณ 2557 อนุมัติโดยสภามหาวิทยาลัย ในคราวประชุมครั้งที่ 10/2556

ผลการประเมินของคณะกรรมการประเมินปีที่แล้ว  :  
ลำดับตัวบ่งชี้
ผลการดำเนินงานคะแนนอิงเกณฑ์การประเมินตัวบ่งชี้  สกอ.
ตัวบ่งชี้ที่ 7.4
เป้าหมายที่กำหนด
ผลของเป้าหมายที่ได้
การบรรลุเป้าหมาย
ค่าคะแนนที่ได้
6 ข้อ
6 ข้อ
บรรลุ
5 คะแนน

ผลการประเมินตนเองปีนี้
ลำดับตัวบ่งชี้
ผลการดำเนินงานคะแนนอิงเกณฑ์การประเมินตัวบ่งชี้  สกอ.
ตัวบ่งชี้ที่ 7.4
เป้าหมายที่กำหนด
ผลของเป้าหมายที่ได้
การบรรลุเป้าหมาย
ค่าคะแนนที่ได้
6 ข้อ
6 ข้อ
บรรลุ
5 คะแนน

ผลการประเมินของคณะกรรมการปีนี้  
ลำดับตัวบ่งชี้
ผลการดำเนินงานคะแนนอิงเกณฑ์การประเมินตัวบ่งชี้  สกอ.
ตัวบ่งชี้ที่ 7.4
เป้าหมายที่กำหนด
ผลของเป้าหมายที่ได้
การบรรลุเป้าหมาย
ค่าคะแนนที่ได้
6 ข้อ

จุดแข็ง
  1. สำนักดำเนินการการจัดการความเสี่ยงได้อย่างเป็นระบบครอบคลุมทุกกระบวนการ และมีผลจากแผนการจัดการความเสี่ยงได้ดีมาก
จุดอ่อน
  • ไม่มี
ข้อเสนอแนะ
  • ไม่มี