องค์ประกอบที่ 1การผลิตบัณฑิต ตัวบ่งชี้ที่ 1.3อาจารย์ประจำสถาบันที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ ชนิดตัวบ่งชี้ปัจจัยนำเข้า เกณฑ์การประเมิน โดยการแปลงค่าร้อยละของอาจารย์ประจำคณะที่มีดำรงตำแหน่งทางวิชาการเป็นคะแนนระหว่าง 0 – 5
เกณฑ์เฉพาะสถาบันกลุ่ม ข และ ค2 ค่าร้อยละของอาจารย์ประจำคณะที่ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ รวมกันที่กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 60 ขึ้นไป
สูตรการคำนวณ
1. คำนวณค่าร้อยละของอาจารย์ประจำคณะที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ = ( จำนวนอาจารย์ประจำคณะที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ / จำนวนอาจารย์ประจำทั้งหมด ) x 100
2. แปลงค่าร้อยละที่คำนวณได้ในข้อ 1 เทียบกับคะแนนเต็ม 5 = ( ร้อยละของอาจารย์ประจำที่ที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ / ร้อยละของอาจารย์ประจำที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการที่กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5 ) x 5
หมายเหตุ 1. คุณวุฒิปริญญาเอกพิจารณาจากระดับคุณวุฒิที่ได้รับหรือเทียบเท่าตามหลักเกณฑ์การพิจารณาคุณวุฒิของกระทรวงศึกษาธิการ กรณีที่มีการปรับวุฒิการศึกษาให้มีหลักฐานการสำเร็จการศึกษาภายในรอบปีการศึกษานั้น ทั้งนี้ อาจใช้คุณวุฒิอื่นเทียบเท่าคุณวุฒิปริญญาเอกได้สำหรับกรณีที่บางสาขาวิชาชีพมีคุณวุฒิอื่นที่เหมาะสมกว่า ทั้งนี้ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการอุดมศึกษา 2. การนับจำนวนอาจารย์ประจำ ให้นับตามปีการศึกษาและนับทั้งที่ปฏิบัติงานจริงและลาศึกษาต่อ ในกรณีที่มีอาจารย์บรรจุใหม่ให้คำนวณตามเกณฑ์อาจารย์ประจำที่ระบุในคำชี้แจงเกี่ยวกับการนับจำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัย ดังนี้
ผลการดำเนินงาน ในปีการศึกษา 2557 มหาวิทยาลัยมีอาจารย์ประจำทั้งหมด 389.5 คน และมีผู้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ , รองศาสตราจารย์ , ศาสตราจารย์) ดังตารางต่อไปนี้
1. คำนวณค่าร้อยละของอาจารย์ประจำที่มีตำแหน่งทางวิชาการ = ( 73 / 389.5 ) x 100
= 18.74
2. แปลงค่าร้อยละที่ใช้คำนวณในข้อ 1 เทียบกับคะแนนเต็ม 5 คะแนนที่ได้ = ( 18.74 / 60 ) x 5 = 1.56
มหาวิทยาลัยฯ มีอาจารย์ประจำที่มีตำแหน่งทางวิชาการ จำนวน 73 คนจากจำนวนอาจารย์ประจำทั้งหมด 389.5 คน คิดเป็นร้อยละ 18.74 เมื่อนำมาเทียบกับคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 60 ได้ 1.56 คะแนน ผลการประเมินตนเองปีนี้
ผลการประเมินของคณะกรรมการประเมินปีนี้
จุดแข็ง
|