องค์ประกอบที่ 5การบริหารและการจัดการ
ตัวบ่งชี้ที่ 5.1การบริหารของหน่วยงานเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจกลุ่มสถาบันและเอกลักษณ์ของหน่วยงาน
ชนิดตัวบ่งชี้กระบวนการ
ผู้กำกับดูแลตัวชี้วัด :
อาจารย์ ดร.สุธาทิพย์   งามนิล
ผู้จัดเก็บข้อมูล  :
หัวหน้าสำนักงานผู้อำนวยการ
หัวหน้ากลุ่มงาน 4 กลุ่มงาน
โทรศัพท์ : 0-5621-9100  ต่อ  1201 โทรศัพท์ : 0-5621-9100  ต่อ 1203

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1
คะแนน 2
คะแนน 3
คะแนน 4
คะแนน 5
มีการดำเนินการ
1 ข้อ
มีการดำเนินการ
2 ข้อ
มีการดำเนินการ
3 หรือ 4 ข้อ
มีการดำเนินการ
5 หรือ 6 ข้อ
มีการดำเนินการ
7 ข้อ

ผลการประเมินตนเอง

มี
ข้อ
เกณฑ์การประเมิน
ผลดำเนินงาน
หลักฐาน
1
พัฒนาแผนกลยุทธ์จากผลการวิเคราะห์ SWOT โดยเชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ของคณะและสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของคณะ สถาบัน รวมทั้งสอดคล้องกับกลุ่มสถาบันและเอกลักษณ์ของคณะ และพัฒนาไปสู่แผนกลยุทธ์ทางการเงินและแผนปฏิบัติการประจำปีตามกรอบเวลาเพื่อให้บรรลุตามตัวบ่งชี้และเป้าหมายของแผนกลยุทธ์และเสนอผู้บริหารระดับสถาบันเพื่อพิจารณาอนุมัติ
    1. สำนักฯ ได้จัดโครงการระดมความคิดกับทิศทางการพัฒนา สนส. เป็นโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม การจัดทำแผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติราชการ ประจำปี และแผนกลยุทธ์ด้านการเงิน โดยให้บุคลากรในสำนักมีส่วนร่วมในการพิจารณาให้ข้อเสนอแนะ และมีผู้เชี่ยวชาญในการจัดทำแผนต่าง ๆ มาให้ความรู้ และร่วมให้ข้อเสนอแนะในการกำหนดแผนงานต่าง ๆ
2. จากการจัดโครงการ ฯ หน่วยงานได้มีการนำผลที่ได้มาจัดทำการวิเคราะห์สภาวะองค์กร กำหนดกลยุทธ์ และการทบทวนปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ เพื่อพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ให้สอดคล้อง เชื่อมโยงกับปรัชญา ปณิธาน และวิสัยทัศน์ พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ.2547 จุดเน้นของมหาวิทยาลัย จุดเน้นของสำนัก กรอบแผนพัฒนาการศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2551 – 2565) และแผนพัฒนาการอุดมศึกษา ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555 – 2559)
3. มีการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี โดยมีการกำหนดผู้รับผิดชอบ กำหนดตัวบ่งชี้ ค่าเป้าหมายเพื่อวัดความสำเร็จตามแผน และมีการจัดสรรงบประมาณตามกิจกรรม/โครงการ ในการดำเนินงาน
4. มีการนำแผนที่ได้จากการประชุมเชิงปฏิบัติการเข้าที่ประชุมสำนักฯ และคณะกรรมการประจำสำนักเพื่อพิจารณาให้ความเห็นและอนุมัติ
5-5.1-NSRU-MR-1 รายงานโครงการ ระดมความคิดกับทิศทางการพัฒนา สนส.
5-5.1-NSRU-MR-2
การวิเคราะห์สภาวะองค์กร  กำหนดกลยุทธ์ และการทบทวนปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ โดยการวิเคราะห์ SWOT  ประจำปี
งบประมาณ 2557
5-5.1-NSRU-MR-3
แผนผังแสดงความเชื่อมโยงฯ
5-5.1-NSRU-MR-4
แผนยุทธศาสตร์ 5 ปี
5-5.1-NSRU-MR-5
แผนปฏิบัติราชการประจำปี 2557
 
5-5.1-NSRU-MR-6
รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำสำนัก ครั้งที่ 1/2557
2
ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินที่ประกอบไปด้วยต้นทุนต่อหน่วยในแต่ละหลักสูตร สัดส่วนค่าใช้จ่ายเพื่อพัฒนานักศึกษา อาจารย์ บุคลากร การจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการบริหารหลักสูตร ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการผลิตบัณฑิต และโอกาสในการแข่งขัน
   การบริหารงานด้านการเงินและงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ.2557 นั้นเป็นการดำเนินงานตามพันธกิจของหน่วยงาน ที่มีหน้าที่สนับสนุนการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัย โดยมีการดำเนินการดังนี้
1. ทำการทบทวนงบประมาณที่ได้รับจัดสรรและการบริหารงบประมาณ ผลการดำเนินงานในรอบปีที่ผ่านมา รวมทั้งศึกษาแนวทางที่เป็นจุดเน้นหรือกรอบในการจัดสรรงบประมาณของมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นแนวทางในการจัดทำแผนกลยุทธ์ทางการเงิน
2.พิจารณารายงานการเบิกจ่ายงบประมาณว่าในรอบปีที่ผ่านมามีการเบิกจ่ายตรงตามไตรมาสหรือไม่ พร้อมทั้งทบทวนโครงการ/กิจกรรมที่จัดในรอบปีนั้น ๆ ว่าสอดคล้อง ส่งเสริมการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยหรือไม่
3.นำข้อมูลพื้นฐานที่ได้จากการทบทวนในข้อ (1) และ (2) มาจัดทำร่างแผนกลยุทธ์ทางการเงิน (ดำเนินการในโครงการ ระดมความคิดกับทิศทางการพัฒนา สนส.) โดยกำหนดโครงการ/กิจกรรมที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยและแผนปฏิบัติราชการประจำปี และกำหนดผู้รับผิดชอบโครงการ /กิจกรรมตามแผน
4.นำร่างแผนกลยุทธ์ทางการเงินที่ได้เสนอต่อคณะกรรมการประจำสำนักเพื่อให้ข้อเสนอแนะและให้ความเห็นชอบ
5.เสนอขอตั้งงบประมาณประจำปี ซึ่งมีรายละเอียดโครงการ/กิจกรรมที่ได้ระบุไว้ในข้อ (3) และผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการประจำสำนัก เพื่อขอรับจัดสรรงบประมาณจากมหาวิทยาลัย
6.ผู้บริหารกำกับ ติดตามให้การดำเนินโครงการ/กิจกรรมเป็นไปตามรอบระยะเวลาที่กำหนดและอยู่ภายใต้งบประมาณที่ได้รับจัดสรร
7. ผู้รับผิดชอบงานด้านการเงินและงบประมาณ จัดทำรายงานการใช้งบประมาณงบประมาณ รอบ 6 เดือน รอบ 9 เดือน และรอบ 12 เดือน เสนอต่อผู้บริหาร เพื่อวิเคราะห์การใช้จ่ายงบประมาณของสำนักให้เป็นไปตามแผนการใช้งบประมาณประจำปีที่กำหนดและใช้เป็นแนวทางในการจัดทำงบประมาณในปีต่อไป
5-5.1-NSRU-MR-7
กรอบการจัดสรรงบประมาณมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ประจำปีงบประมาณ 2557
5-5.1-NSRU-MR-8
แผนกลยุทธ์ทางการเงิน สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน
5-5.1-NSRU-MR-9
รายงานการประชุมบุคลากร ครั้งที่    /2557 (รายงานงบ รายงานโครงการ)
5-5.1-NSRU-MR-10
รายงานการใช้งบประมาณ ประจำปีงบประมาณ 2556
รอบ 12 เดือน
5-5.1-NSRU-MR-11
รายงานการใช้งบประมาณประจำปี 2557 รอบ 6 เดือน รอบ 9 เดือน และรอบ 12 เดือน
5-5.1-NSRU-MR-12
สรุปผลการติดตามและประเมินโครงการ ประจำปีงบประมาณ 2557
 
 
3
ดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยงที่เป็นผลจากการวิเคราะห์และระบุปัจจัยเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากปัจจัยภายนอก หรือปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามพันธกิจของคณะและให้ระดับความเสี่ยงลดลงจากเดิม
   หน่วยงานได้ตระหนักถึงความสำคัญของการขจัดปัจจัยที่เป็นสาเหตุให้เกิดความเสี่ยงต่อการดำเนินงานของหน่วยงาน จึงได้แต่งตั้งให้มีคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงประจำหน่วยงาน ซึ่งประกอบไปด้วย ผู้บริหาร หัวหน้างาน และบุคลากรภายในหน่วยงาน โดยทำหน้าที่กำหนดแนวทางการดำเนินงานบริหารความเสี่ยงของหน่วยงานให้สอดคล้องกับนโยบายการบริหารความเสี่ยงระดับมหาวิทยาลัย ระบุ/วิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงภายในหน่วยงานที่รับผิดชอบ พร้อมจัดทำแผนป้องกัน/ลดความเสี่ยงในหน่วยของตน และรายงานผลการบริหารความเสี่ยงต่อคณะผู้บริหารและคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงระดับมหาวิทยาลัย
5-5.1-NSRU-MR-13
แผนการจัดการความเสี่ยง ปีงบประมาณ 2557
5-5.1-NSRU-MR-14
แผนการจัดการความเสี่ยง ปีงบประมาณ 2558
5-5.1-NSRU-MR-15
รายงานการจัดการความเสี่ยง ปีงบประมาณ 2557
4
บริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลอย่างครบถ้วนทั้ง 10 ประการที่อธิบายการดำเนินงานอย่างชัดเจน
   จากพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และสังคมที่ดี พ.ศ. 2546 คณะผู้บริหารสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียนได้นำมาเป็นแนวทางในการบริหารงาน ดังนี้
1. หลักประสิทธิผล
มีการจัดทำแผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติราชการประจำปี มีการกำหนดยุทธศาสตร์และเป้าประสงค์ที่ชัดเจน ส่งผลให้การปฏิบัติงานของหน่วยงานบรรลุผลสำเร็จตามแผน และมีการพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ
2. หลักประสิทธิภาพ
ผู้บริหารกำกับติดตามดูแลการใช้ทรัพยากรในแต่ละด้านให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น การบริหารงบประมาณให้เป็นไปตามแผนที่กำหนด มีการวิเคราะห์การใช้จ่ายงบประมาณเป็นร้อยละ โดยทำการสรุปผลการใช้งบประมาณประจำปี และรายงานให้คณะกรรมการประจำสำนักทราบ
3. หลักการตอบสนอง
มีกระบวนการปฏิบัติงาน และขั้นตอนการทำงาน ผ่านการลดรอบระยะเวลาการให้บริการ เพื่อตอบสนองความต้องการของบุคคลภายนอก และนักศึกษา ให้เกิดความพึงพอใจสูงสุด
4. หลักภาระรับผิดชอบ
ภารกิจหลักของหน่วยงานเป็นการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผู้รับบริการ หลากหลายกลุ่ม การปฏิบัติงาน หรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับบุคคลกลุ่มดังกล่าวจึงจำเป็นต้องปฏิบัติด้วยความระมัดระวัง มีความถูกต้อง เชื่อถือได้ และเป็นไปตามระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย
5. หลักความโปร่งใส
มีการนำเสนอการดำเนินงานของสำนักให้หน่วยงานภายนอกทราบ ผ่านการดำเนินโครงการ สนส. สัญจร จัดทำระบบข้อมูลสารสนเทศต่าง ๆ ซึ่งบุคคลภายนอกจะได้ทราบทุกขั้นตอน กระบวนการต่าง ๆ ในการดำเนินงานของสำนัก และสามารถตรวจสอบได้
   6. หลักการมีส่วนร่วม
มีการส่งเสริมให้นักศึกษา คณาจารย์ บุคลากร และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนภารกิจของสำนัก ดังนี้
- มีคณะกรรมการประจำสำนักที่มาจากบุคคลภายนอก
- ผู้ใช้บริการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมแสดงทัศนะ ร่วมเสนอปัญหาในการดำเนินงานของสำนัก
7. หลักการกระจายอำนาจ
มีการบริหารงานตามกฎกระทรวงว่าด้วยการแบ่งส่วนราชการในมหาวิทยาลัย โดยสำนักมี 4 กลุ่มงาน มีการแต่งตั้งหัวหน้ากลุ่มงานเพื่อดูแลรับผิดชอบภารกิจของกลุ่มงาน โดยมีการมอบอำนาจหน้าที่ให้รองผู้อำนวยการกำกับดูแลแต่ละกลุ่มงาน และมีการแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ  เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจของสำนัก
8. หลักนิติธรรม
ผู้บริหารปฏิบัติหน้าที่ และขับเคลื่อนงานของหน่วยงานตามกรอบของกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด และผู้บริหาร บุคลากรปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ
9. หลักความเสมอภาค
มีการให้บริการนักศึกษา คณาจารย์ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างเท่าเทียมกัน
10. หลักมุ่งเน้นฉันทามติ
   ในการประชุมสำนัก และคณะกรรมการประจำสำนัก ผู้บริหารยึดหลักเคารพมติของเสียงส่วนใหญ่ และความคิดเห็นที่แตกต่าง เพื่อให้เกิดฉันทามติ และการดำเนินงานของเป็นไปในทิศทางที่เหมาะสม
**อยู่ระหว่างการรวบรวมเอกสารอ้างอิง
5
ค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีจากความรู้ทั้งที่มีอยู่ในตัวบุคคล ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง และแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ ตามประเด็นความรู้ อย่างน้อยครอบคลุมพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิตและด้านการวิจัย จัดเก็บอย่างเป็นระบบโดยเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรและนำมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง
ในระดับสำนักนั้น ได้มีการดำเนินการดังนี้
1.คัดเลือกประเด็นของการจัดการความรู้ ซึ่งประเด็นความรู้ที่บุคลากรส่วนใหญ่ให้ความสนใจคือ 
“การพัฒนาศักยภาพการให้บริการ”
หลังจากนั้นหน่วยงานได้จัดทำแผนการจัดการความรู้และเป้าหมาย ซึ่งสอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 เรื่องการส่งเสริมประสิทธิภาพการให้บริการ
2.กำหนดกลุ่มเป้าหมายและการจัดการความรู้ ในประเด็น “การพัฒนาศักยภาพการให้บริการ” โดยจัดกิจกรรม/โครงการเพื่อพัฒนาความรู้ให้แก่บุคลากรภายในหน่วยงาน
3.หน่วยงานมีการแสวงหาความรู้ โดยการเชิญวิทยากรที่มีความรู้ความสามารถการส่งเสริมประสิทธิภาพการให้บริการ มาถ่ายทอดความรู้ให้แก่บุคลากร  รวมทั้งจัดกิจกรรมให้บุคลากรได้เข้าศึกษาดูงานหน่วยงานที่มีความเป็นเลิศ โดดเด่นด้านการให้บริการ ได้รับการยกย่องจากสถาบันต่าง ๆ 
4.จากการจัดกิจกรรม หน่วยงานได้นำความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากวิทยากร โดยกำหนดเป็นรูปแบบในส่วนของการให้บริการ และหน่วยงานได้ปรับรูปแบบการให้บริการคำร้อง/แบบฟอร์ม/ระบบการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรและแผนการเรียน/การใช้บริการห้องเรียนรวม ผ่านเว็บเพจของหน่วยงาน  ประชาสัมพันธ์ผ่านทางเว็บไซต์ facebook สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน
ส่วนในระดับมหาวิทยาลัย สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน ยังทำหน้าที่เป็นตัวกลาง ส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการผลิตบัณฑิต(การจัดการเรียนการสอน) ระหว่างคณาจารย์ ผู้บริหารภายในมหาวิทยาลัย ผ่านกิจกรรม/โครงการต่าง ๆ ดังนี้
1.กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ภายใต้หัวข้อ “สุนทรียสนทนา ภาษาการสอน”
2.กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในหัวข้อ “สอนอย่างไรให้  Active Learner” เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างคณาจารย์คณะต่าง ๆ ทั้ง 5 คณะ ถึงปัญหาการจัดการเรียนการสอน และแนวทาง เทคนิคการแก้ปัญหาในการสอน
3.เสวนาวิชาการ ภายใต้หัวข้อ เทคนิคการจัดการเรียนรู้สู่คุณภาพการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21  ระหว่างคณาจารย์ที่ได้รับการคัดเลือกจากคณะที่สังกัด ว่ามีผลการจัดการเรียนการสอนแบบใฝ่รู้ดีเด่น กับคณาจารย์ภายในมหาวิทยาลัย
4.เสวนาทางวิชาการ เรื่อง เรียนรู้อย่างไรให้มีคุณภาพพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน” ร่วมแลกเปลี่ยนเทคนิคการเรียนโดยนักศึกษาที่มีผลงานด้านวิชาการดีเด่นจาก 5 คณะ
จากการจัดกิจกรรมดังกล่าวข้างต้น มีการดำเนินการดังนี้
1.คณาจารย์ที่ได้รับคัดเลือกว่ามีผลการจัดการเรียนการสอนดีเด่น ได้จัดทำบทความเผยแพร่แนวคิด และเทคนิคใน การจัดการเรียนการสอน
2.มีการรวบรวมองค์ความรู้ที่ได้จากการจัดกิจกรรม และเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ บทความวิชาการ และงานวิจัยในชั้นเรียน
**อยู่ระหว่างการรวบรวมเอกสารอ้างอิง
6
การกำกับติดตามผลการดำเนินงานตามแผนการบริหารและแผนพัฒนาบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน
     บุคลากรถือเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้บรรลุผลสำเร็จ เพราะฉะนั้นการบริหารและการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรจึงเป็นเรื่องที่หน่วยงานต่าง ๆ  จะต้องให้ความสำคัญ
ผู้บริหารได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนางานควบคู่ไปกับการพัฒนาคน โดยมีนโยบายส่งเสริมและพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน รวมถึงทักษะชีวิตอื่น ๆ ที่บุคลากรสนใจ โดยจัดกิจกรรม/โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากร ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน อาทิเช่น
1.โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ
2.การจัดส่งบุคลากรเข้าร่วมอบรมกับหน่วยงานต่าง ๆ เช่น
-การจัดส่งบุคลากรเข้าร่วมอบรมเพื่อพัฒนาทักษะงานด้านสารบรรณ
-การจัดส่งบุคลากรเข้าร่วมกิจกรรมด้านการประกันคุณภาพฯ
-การจัดส่งบุคลากรเข้าอบรมเรื่องการจัดการประชุมและการบันทึกรายงานการประชุม เป็นต้น
นอกจากนี้หน่วยงานยังได้รับมอบหมายจากมหาวิทยาลัย ให้ดำเนินโครงการพัฒนาคณาจารย์สายวิชาการ ในด้านที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอน อาทิเช่น
1.โครงการสนับสนุนงานด้านวิชาการ เป็นโครงการที่สนับสนุนให้คณาจารย์เพิ่มพูนความรู้ เทคนิค และแนวทางการจัดการเรียนการสอนแบบใฝ่รู้ กับมหาวิทยาลัยชั้นนำที่มีความเชี่ยวชาญและมีชื่อเสียงในการจัดการเรียนการสอนแบบใฝ่รู้ในต่างประเทศ
2.กิจกรรมอบรมอาจารย์ใหม่ จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ให้แก่อาจารย์ใหม่ และอาจารย์ผู้ที่สนใจ ให้มีความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้ตามกรอบ TQF
3.กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ Active Learning
4.โครงการพัฒนาอาจารย์ด้านการจัดการเรียนการสอน
5.โครงการจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
ในการจัดกิจกรรม/โครงการพัฒนาบุคลากรแต่ละครั้ง หน่วยงานในฐานะผู้รับผิดชอบโครงการ ได้จัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อติดตามผลการดำเนินงาน ปัญหา อุปสรรค และร่วมกันหาแนวทางแก้ไขแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ รวมทั้งได้กำหนดให้ผู้เข้าร่วมโครงการพัฒนาบุคลากรจัดทำรายงานผลการเข้าร่วมอบรมหรือกิจกรรม/โครงการทั้งในรูปของแบบรายงานผล และรูปเล่มรายงาน
5-5.1-NSRU-MR-…. คู่มือการบริหารงานบุคคล
5-5.1-NSRU-MR-…. โครงการพัฒนาบุคลากร ด้านการให้บริการ
5-5.1-NSRU-MR-…. การจัดส่งบุคลากรเข้าร่วมฝึกอบรมพัฒนาทักษะด้านต่าง ๆ
5-5.1-NSRU-MR-…… รายงานการเข้าร่วมฝึก อบรมของบุคลากร
5-5.1-NSRU-MR-…… รายงานผลการดำเนินกิจกรรมพัฒนาคณาจารย์ด้านการจัดการเรียนการสอน
5-5.1-NSRU-MR-……รายงานโครงการจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ
5-5.1-NSRU-MR-……รายงานการจัดส่งคณาจารย์เข้าอบรมการจัดการเรียนการสอนแบบใฝ่รู้ ณ ประเทศมาเลเซีย
5-5.1-NSRU-MR-…… ตัวอย่างเล่มรายงานผลการจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษของคณาจารย์ที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 60 คน
7
ดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามระบบและกลไกที่เหมาะสมและสอดคล้องกับพันธกิจและพัฒนาการของคณะที่ได้ปรับให้การดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารงานคณะตามปกติที่ประกอบด้วย การควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพ และการประเมินคุณภาพ
    หน่วยงานมีระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายในที่สอดคล้องกับพันธกิจของสำนักและสอดคล้องกับการ
1. ระบบการควบคุมคุณภาพ
มีนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยที่ผ่านการเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัยที่สำนักต้องปฏิบัติ มีคณะกรรมการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของสำนัก รวมทั้งแผนการประกันคุณภาพการศึกษาที่ผ่านการเห็นชอบของคณะกรรมการประจำสำนัก
2. ระบบการติดตามตรวจสอบคุณภาพ
หน่วยงานจัดทำรายงานการประเมินตนเอง ปีการศึกษา 2557 ซึ่งประกอบด้วยตัวบ่งชี้ระดับหน่วยงานและตัวบ่งชี้ระดับมหาวิทยาลัย มีคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ การประกันคุณภาพการศึกษา ของมหาวิทยาลัยทำการกำกับติดตามการดำเนินงาน ด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของหน่วยงาน
3. ระบบการประเมินคุณภาพ
มีคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับสำนักและสถาบัน    ปีการศึกษา 2557 เพื่อสรุปผลการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของสำนัก และเตรียมความพร้อมในการรับการประเมินจากหน่วยงานภายนอก และมีการนำผลการประกันคุณภาพการศึกษามาจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพของสำนัก เพื่อปรับปรุงการทำงาน และพัฒนาผลการดำเนินงานของสำนัก
**อยู่ระหว่างการรวบรวมเอกสารอ้างอิง

ผลการประเมินตนเองปีนี้
ลำดับตัวบ่งชี้
ผลการดำเนินงานคะแนนอิงเกณฑ์การประเมินตัวบ่งชี้  สกอ.
ตัวบ่งชี้ที่ 5.1
เป้าหมายที่กำหนด
ผลของเป้าหมายที่ได้
การบรรลุเป้าหมาย
ค่าคะแนนที่ได้
6 ข้อ
7 ข้อ
บรรลุเป้าหมาย
5 คะแนน

ผลการประเมินของคณะกรรมการปีนี้  
ลำดับตัวบ่งชี้
ผลการดำเนินงานคะแนนอิงเกณฑ์การประเมินตัวบ่งชี้  สกอ.
ตัวบ่งชี้ที่ 5.1
เป้าหมายที่กำหนด
ผลของเป้าหมายที่ได้
การบรรลุเป้าหมาย
ค่าคะแนนที่ได้
6 ข้อ

จุดแข็ง
  • ไม่มี
จุดอ่อน
  • ไม่มี
ข้อเสนอแนะ
  • ไม่มี