ตัวบ่งชี้เพิ่มเติม ของสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน รอบ 9 เดือน
ตัวบ่งชี้ที่ 1การให้บริการในภาพรวม
ชนิดตัวบ่งชี้กระบวนการ , ผลลัพธ์
คำอธิบายตัวบ่งชี้สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มีพันธกิจหลักในการสนับสนุนการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัย และการให้บริการวิชาการแก่นักศึกษา คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และบุคคลภายนอก เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้รับบริการ
เกณฑ์มาตรฐาน
  1. มีแผนงาน / กระบวนการให้บริการที่มีระบบชัดเจน
  2. มีการดำเนินงานตามแผนงาน / กระบวนการ โดยนำนวัตกรรมใหม่ ๆ มาประยุกต์ใช้กับงานบริการ
  3. มีการติดตาม และประเมินผลตามแผนงาน / กระบวนการ
  4. มีการกำหนดผลการดำเนินงานโดยมีการประเมินผลความพึงพอใจจากผู้รับบริการ ไม่น้อยกว่า 3.51 จากคะแนนเต็ม 5
  5. มีการนำผลกระทบจากการประเมินผลการให้บริการมาสรุปเป็นกระทบทางบวก และผลกระทบทางลบ และนำผลมาทบทวน ปรับปรุงแผนงาน / กระบวนการ เพื่อพัฒนาเพื่อการบริการที่มีประสิทธิภาพ
ผู้กำกับดูแลตัวชี้วัด :
อาจารย์ ดร.สุธาทิพย์   งามนิล
ผู้จัดเก็บข้อมูล  :
อาจารย์ ดร.สุพัฒนา หอมบุปผา
หัวหน้าสำนักงานผู้อำนวยการ
โทรศัพท์ : 0-5621-9100  ต่อ  1201 โทรศัพท์ : 0-5621-9100  ต่อ 1200

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1
คะแนน 2
คะแนน 3
คะแนน 4
คะแนน 5
มีการดำเนินการ
1 ข้อ
มีการดำเนินการ
2 ข้อ
มีการดำเนินการ
3 ข้อ
มีการดำเนินการ
4 ข้อ
มีการดำเนินการ
ครบทุกข้อ

ผลการประเมินตนเอง

มี
ข้อ
เกณฑ์
ผลดำเนินงาน
หลักฐาน
1
มีแผนงาน กระบวนการให้บริการที่มีระบบชัดเจน
     จากพันธกิจและภารกิจหลักของสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มุ่งเน้นที่การให้บริการที่สร้างความพึงพอใจสูงสุดแก่ผู้รับบริการ สำนัก ได้กำหนดขั้นตอน กระบวนการให้บริการที่ชัดเจน เป็นระบบ มีการทบทวนขั้นตอน/กระบวนการให้บริการเพื่อให้มีความทันสมัย สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ดังวิสัยทัศน์ที่ว่า “สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน เป็นองค์กรที่ทันสมัย ให้บริการถูกต้อง รวดเร็ว”
1-MR-1  กระบวนงานและอัตรากำลัง
1-MR-2  ลดรอบการทำงาน
1-MR-3  คำขอจัดตั้งงบประมาณ 2557
2
มีการดำเนินงานตามแผนงาน กระบวนการ โดยนำนวัตกรรมใหม่ ๆ มาประยุกต์ใช้กับงานบริการ
     สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียนมีการให้บริการอย่างเป็นขั้นตอนตามกระบวนการให้บริการที่ได้กำหนดไว้ โดยนำสิ่งสนับสนุนต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการให้บริการ เพื่อความรวดเร็ว และสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้แก่ผู้รับบริการ
1-MR-4  แผนภาพแสดงขั้นตอนการให้บริการ
1-MR-5  ตัวอย่างการให้บริการผ่านระบบออนไลน์
3
มีการติดตาม และประเมินผลตามแผนงาน / กระบวนการ
     ผู้บริหารมีการกำกับ ติดตาม การปฏิบัติงานด้านการให้บริการอย่างต่อเนื่อง ทั้งแบบที่เป็นทางการ และไม่เป็นทางการ ผ่านการประชุมบุคลากร การสื่อสารภายในหน่วยงาน นอกจากนี้ยังมีการประเมินผลการให้บริการจากความพึงพอใจของผู้รับบริการอย่างต่อเนื่อง
1-MR-6 รายงานผลการประเมินความพึงพอใจและความคาดหวังของผู้ใช้บริการ  ปีงบประมาณ 2557
1-MR-7 รายงานการประชุมบุคลากร
4
มีการกำหนดผลการดำเนินงานโดยมีการประเมินผลความพึงพอใจจากผู้รับบริการ ไม่น้อยกว่า 3.51 จากคะแนนเต็ม 5
จากผลการประเมินความพึงพอใจและความคาดหวังของผู้ใช้บริการ ประจำปี 2557 พบว่า ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจในการให้บริการด้านต่าง ๆ ของสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน อยู่ในระดับดี (3.51)
1-MR-6 รายงานผลการประเมินความพึงพอใจและความคาดหวังของผู้ใช้บริการ  ปีงบประมาณ 2557
5
มีการนำผลการประเมินความพึงพอใจ มาทบทวนและปรับปรุงแผนงาน / กระบวนการ เพื่อพัฒนาเพื่อการบริการที่มีประสิทธิภาพ
 หน่วยงานได้นำผลเข้าที่ประชุมบุคลากร เพื่อแจ้งและร่วมกันหาแนวทางในการพัฒนางาน โดยทำการรักษามาตรฐานการบริการที่มีผลในด้านบวกในระดับดี และเร่งทำการปรับปรุงเพื่อให้อยู่ในระดับที่ได้มาตรฐานทั้งในด้านช่องทาง/รูปแบบการให้บริการที่หลากหลาย มีความรวดเร็ว ทันสมัย
1-MR-8 รายงานการประชุมบุคลากร 
1-MR-9 คำขอจัดตั้งงบประมาณประจำปี 2558

ผลการประเมินตนเองปีนี้
ลำดับตัวบ่งชี้
ผลการดำเนินงานคะแนนอิงเกณฑ์การประเมินตัวบ่งชี้  สกอ.
ตัวบ่งชี้ที่ 1
เป้าหมายที่กำหนด
ผลของเป้าหมายที่ได้
การบรรลุเป้าหมาย
ค่าคะแนนที่ได้
5 ข้อ
5 ข้อ
บรรลุ
5 คะแนน

จุดแข็ง
  • บุคลากรในหน่วยงานมีแนวคิดใหม่ ๆ ในการพัฒนาระบบการให้บริการที่สร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้รับบริการอย่างต่อเนื่อง
จุดอ่อน
  • ขาดงบประมาณสนับสนุนในการจัดหานวัตกรรมใหม่ ๆ มาสนับสนุนการพัฒนาระบบการให้บริการ
ข้อเสนอแนะ
  • การให้บริการถือเป็นพันธกิจของสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน ทั้งในด้านงานทะเบียนและประมวลผล งานตารางเรียน-ตารางสอน-ตารางสอบ รวมถึงงานประสานงานด้านหลักสูตรและแผนการเรียน ซึ่งการให้บริการดังกล่าวเกี่ยวข้องโดยตรงกับนักศึกษา และคณาจารย์ การพัฒนาระบบการให้บริการโดยนำเทคโนโลยี/นวัตกรรมใหม่ ๆ มาสนับสนุนการให้บริการนั้น จำเป็นต้องใช้งบประมาณในระดับหนึ่ง เช่นการพัฒนาระบบปฏิบัติงานทะเบียนและประมวลผล การพัฒนาโปรแกรมการจัดตารางเรียน-ตารางสอน-ตารางสอบ เพื่อรองรับข้อจำกัดด้านห้องเรียนและช่วงเวลาของอาจารย์ผู้สอน เป็นต้น