|
เกณฑ์ประเมินข้อที่ 1.
|
พัฒนาแผนกลยุทธ์จากผลการวิเคราะห์ SWOT โดยเชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ของคณะ และสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของคณะ สถาบัน รวมทั้งสอดคล้องกับกลุ่มสถาบันและเอกลักษณ์ของหน่วยงาน และพัฒนาไปสู่แผนกลยุทธ์ทางการเงินและแผนปฏิบัติการประจำปีตามกรอบเวลาเพื่อให้บรรลุตามตัวบ่ง ชี้และเป้าหมายของแผนกลยุทธ์และเสนอผู้บริหารระดับสถาบันเพื่อพิจารณาอนุมัติ
|
ผลการดำเนินงาน
สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มีคณะกรรมการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ (5.1-1-NSRU-MR-1 คำสั่งสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน ที่ 217/2556 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์) โดยคณะกรรมการฯ รวบรวมข้อมูลพื้นฐานในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ที่ได้จากการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการทบทวนนโยบาย แนวทางในการดำเนินงาน (ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ ประเด็นยุทธศาสตร์การดำเนินงาน รวมทั้งผลการดำเนินงานในรอบปีงบประมาณที่ผ่านมา) (5.1-1-NSRU-MR-2 รายงานการประชุมบุคลากร ครั้งที่ 2/2558) เสนอคณะกรรมการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ เพื่อนำไปประกอบการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน การกำหนดแนวทาง ทบทวนทิศทาง เป้าหมายในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ การกำหนดกลยุทธ์ มาตรการและกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จในการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ พ.ศ. 2557-2561 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2559) (5.1-1-NSRU-MR-3 ร่าง แผนยุทธศาสตร์ 5 ปี พ.ศ. 2557-2561 ปรับปรุง พ.ศ.2559) และกำหนดกิจกรรม/โครงการลงในแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 (5.1-1-NSRU-MR-4 ร่าง แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559) ทั้งในเชิงปริมาณ และคุณภาพ โดยทำการวิเคราะห์ความเชื่อมโยง สอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 11 กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 แผนพัฒนามหาวิทยาลัย แผนยุทธศาสตร์มหาวทยาลัย นโยบายสภามหาวิทยาลัย (5.1-1-NSRU-MR-5 แผนผังแสดงความเชื่อมโยงของแผนยุทธศาสตร์กับมาตรฐานการศึกษาที่เกี่ยวข้อง) จากนั้นเสนอ (ร่าง) แผนยุทธศาสตร์ 5 ปี พ.ศ.2557-2561 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2559) แก่คณะกรรมการบริหารสำนัก เพื่อพิจารณาเบื้องต้น ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2559 เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2559 (5.1-1-NSRU-MR-6 รายงานการประชุมหัวหน้ากลุ่มงาน ครั้งที่ 1 /2559 ) ก่อนนำเสนอคณะกรรมการประจำสำนัก พิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป
|
|
เกณฑ์ประเมินข้อที่ 2.
|
ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินที่ประกอบไปด้วย ต้นทุนต่อหน่วยในแต่ละหลักสูตร สัดส่วนค่าใช้จ่ายเพื่อพัฒนานักศึกษา อาจารย์ บุคลากร การจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการบริหารหลักสูตร ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการผลิตบัณฑิต และโอกาสในการแข่งขัน
|
ผลการดำเนินงาน
ระดับหน่วยงานสนับสนุนไม่รายงาน ตามมติที่ ประชุมคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2559
|
|
เกณฑ์ประเมินข้อที่ 3.
|
ดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยงที่เป็นผลจากการวิเคราะห์และระบุปัจจัยเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากปัจจัยภายนอก หรือปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามพันธกิจของคณะและให้ระดับความเสี่ยงลดลงจากเดิม
|
ผลการดำเนินงาน
N/A
|
|
เกณฑ์ประเมินข้อที่ 4.
|
บริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลอย่างครบถ้วนทั้ง 10 ประการที่อธิบายการดำเนินงานอย่างชัดเจน
|
ผลการดำเนินงาน
จากพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และสังคมที่ดี พ.ศ. 2546 คณะผู้บริหารสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียนได้นำมาเป็นแนวทางในการบริหารงาน ดังนี้
1. หลักประสิทธิผล มีการจัดทำแผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติราชการประจำปี มีการกำหนดยุทธศาสตร์และเป้าประสงค์ที่ชัดเจน ส่งผลให้การปฏิบัติงานของหน่วยงานบรรลุผลสำเร็จตามแผน และมีการพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ (5.1-4-NSRU-MR-1 รายงานการประชุมบุคลากรสำนัก ครั้งที่ 1/2558) (5.1-4-NSRU-MR-2 รายงานการประชุมบุคลากรสำนัก ครั้งที่ 2/2558) (5.1-4-NSRU-MR-3 รายงานการประชุมผู้บริหารและหัวหน้ากลุ่มงาน ครั้งที่ 1/2559)
2. หลักประสิทธิภาพ ผู้บริหารกำกับติดตามดูแลการใช้ทรัพยากรในแต่ละด้านให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น การบริหารงบประมาณให้เป็นไปตามแผนที่กำหนด มีการวิเคราะห์การใช้จ่ายงบประมาณเป็นร้อยละ โดยทำการสรุปผลการใช้งบประมาณประจำปี และรายงานให้คณะกรรมการประจำสำนักทราบ (5.1-4-NSRU-MR-1 รายงานการประชุมบุคลากรสำนัก ครั้งที่ 1/2558) (5.1-4-NSRU-MR-2 รายงานการประชุมบุคลากรสำนัก ครั้งที่ 2/2558)
3. หลักการตอบสนอง มีกระบวนการปฏิบัติงาน และขั้นตอนการทำงาน ผ่านการลดรอบระยะเวลาการให้บริการ เพื่อตอบสนองความต้องการของบุคคลภายนอก และนักศึกษา ให้เกิดความพึงพอใจสูงสุด (5.1-4-NSRU-MR-4 ลดรอบการทำงาน)
4. หลักภาระรับผิดชอบ ภารกิจหลักของหน่วยงานเป็นการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผู้รับบริการ หลากหลายกลุ่ม การปฏิบัติงาน หรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับบุคคลกลุ่มดังกล่าวจึงจำเป็นต้องปฏิบัติด้วยความระมัดระวัง มีความถูกต้อง เชื่อถือได้ และเป็นไปตามระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย
5. หลักความโปร่งใส มีการนำเสนอการดำเนินงานของสำนักให้หน่วยงานภายนอกทราบ ผ่านการดำเนินโครงการ สนส. สัญจร จัดทำระบบข้อมูลสารสนเทศต่าง ๆ ซึ่งบุคคลภายนอกจะได้ทราบทุกขั้นตอน กระบวนการต่าง ๆ ในการดำเนินงานของสำนัก และสามารถตรวจสอบได้ (5.1-4-NSRU-MR-5 รายงานประจำปี 2558)
6. หลักการมีส่วนร่วม มีการส่งเสริมให้นักศึกษา คณาจารย์ บุคลากร และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนภารกิจของสำนัก ดังนี้
- มีคณะกรรมการประจำสำนักที่มาจากบุคคลภายนอก (5.1-4-NSRU-MR-6 คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการประจำสำนักฯ)
- ผู้ใช้บริการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมแสดงทัศนะ ร่วมเสนอปัญหาในการดำเนินงานของสำนัก (5.1-4-NSRU-MR-7 สรุปผลโครงการ สนส.สัญจร 2559)
7. หลักการกระจายอำนาจ มีการบริหารงานตามกฎกระทรวงว่าด้วยการแบ่งส่วนราชการในมหาวิทยาลัย โดยสำนักมี 4 กลุ่มงาน มีการแต่งตั้งหัวหน้ากลุ่มงานเพื่อดูแลรับผิดชอบภารกิจของกลุ่มงาน โดยมีการมอบอำนาจหน้าที่ให้รองผู้อำนวยการกำกับดูแลแต่ละกลุ่มงาน และมีการแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจของสำนัก (5.1-4-NSRU-MR-8 คำสั่งแต่งตั้งผู้รักษาราชการในตำแหน่งหัวหน้างาน) (5.1-4-NSRU-MR-9 คำสั่งแต่งตั้ง/มอบหมายงานต่าง ๆ)
8. หลักนิติธรรม ผู้บริหารปฏิบัติหน้าที่ และขับเคลื่อนงานของหน่วยงานตามกรอบของกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด และผู้บริหาร บุคลากรปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ (5.1-4-NSRU-MR-10 แนวปฏิบัติในการกำกับดูแลองค์กรที่ดี)
9. หลักความเสมอภาค มีการให้บริการนักศึกษา คณาจารย์ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างเท่าเทียมกัน (5.1-4-NSRU-MR-11 คำสั่งสำนักส่งเสริม เรื่อง การให้บริการนักศึกษาประจำวัน)
10. หลักมุ่งเน้นฉันทามติ ในการประชุมสำนัก และคณะกรรมการประจำสำนัก ผู้บริหารยึดหลักเคารพมติของเสียงส่วนใหญ่และความคิดเห็นที่แตกต่าง เพื่อให้เกิดฉันทามติและการดำเนินงานของเป็นไปในทิศทางที่เหมาะสม
|
|
เกณฑ์ประเมินข้อที่ 5.
|
ค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีจากความรู้ทั้งที่มีอยู่ในตัวบุคคล ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรงและแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ ตามประเด็นความรู้ อย่างน้อยครอบคลุมพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิตและด้านการวิจัย จัดเก็บอย่างเป็นระบบโดยเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรและนำมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง
|
ผลการดำเนินงาน
สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มีคณะกรรมการจัดการความรู้ ที่มีตัวแทนผู้บริหาร หัวหน้างาน และบุคลากรผู้เกี่ยวข้อง ร่วมกำหนดแนวทางในการดำเนินการจัดการความรู้ระดับสำนัก ประชุมเพื่อจัดทำร่างแผนการจัดการความรู้ ระดับสำนัก (5.1-5-NSRU-MR-1 แผนการจัดการความรู้ ปีงบประมาณ 2559) เพื่อพัฒนาความรู้ ทักษะในการปฏิบัติงานตามพันธกิจและบริบทของหน่วยงาน ที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์ของหน่วยงาน และสนับสนุนการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัย มีรายละเอียดของการจัดการความรู้ ดังนี้
1.ประเด็นความรู้ คือ กระบวนการรับสมัครนักศึกษาใหม่
2.เป้าหมายของความรู้ คือ เพื่อให้บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการรับสมัครนักศึกษาให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย รวดเร็ว
3.ดำเนินกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ในการประชุมบุคลากร เพื่อการทบทวนการดำเนินงานในปัจจุบัน พร้อมทั้งสรุปประเด็นปัญหาจากการดำเนินการที่ผ่านมา ค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีในการดำเนินการรับสมัครนักศึกษาใหม่ และลดปัญหา อุปสรรค (5.1-5-NSRU-MR-2 รายงานการประชุมบุคลากร ครั้งที่ /2558) โดยผู้บริหารทำหน้าที่ให้คำปรึกษา และกำกับติดตามให้การจัดกิจกรรมเป็นไปตามแผนการจัดการความรู้
4.หน่วยงานได้นำความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มาปรับปรุงขั้นตอนการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการรับสมัครนักศึกษา ให้มีขั้นตอนลดลง ใช้บุคลากรน้อยลง และพัฒนาโปรแกรมสนับสนุนการรับสมัคร และการรายงานตัวนักศึกษา ให้มีความทันสมัยมีขั้นตอนที่รวดเร็ว ซึ่งเริ่มดำเนินการในการรับสมัครและการรับงานตัวนักศึกษาใหม่ ปีการศึกษา 2559 (รอบแรก) (5.1-5-NSRU-MR-3 ตัวอย่างระบบการรับสมัคร/รายงานตัวที่ได้มีการปรับปรุง)
5.จากการปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานที่ได้จากการจัดการความรู้ ผู้บริหารได้จัดประชุมบุคลากร เพื่อสรุปผล และปัญหา อุปสรรคจากการดำเนินงาน (5.1-5-NSRU-MR-4 รายงานการประชุมบุคลากร ครั้งที่ 1/2559) โดยนำไปปรับปรุงการดำเนินงานในการรับสมัคร และการรายงานตัวนักศึกษา (รอบ 2 )
6. รวบรวม และเผยแพร่แนวปฏิบัติที่ได้จากการจัดการความรู้ให้แก่ผู้สนใจ (5.1-5-NSRU-MR-5 แนวปฏิบัติในการรับสมัคร และการรายงานตัวนักศึกษาใหม่ ปีการศึกษา 2559)
|
|
เกณฑ์ประเมินข้อที่ 6.
|
การกำกับติดตามผลการดำเนินงานตามแผนการบริหารและแผนพัฒนาบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน
|
ผลการดำเนินงาน
บุคลากรถือเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้บรรลุผลสำเร็จ เพราะฉะนั้นการบริหารและการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรจึงเป็นเรื่องที่หน่วยงานต่าง ๆ จะต้องให้ความสำคัญ ผู้บริหารได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนางานควบคู่ไปกับการพัฒนาคน โดยมีนโยบายส่งเสริมและพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน รวมถึงทักษะชีวิตอื่น ๆ ที่บุคลากรสนใจ โดยจัดกิจกรรม/โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากร ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน (5.1-6-NSRU-MR-1 แผนพัฒนาบุคลากร ปีงบประมาณ 2559)
1.โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการและศึกษาดูงาน
2.โครงการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยี
3.การจัดส่งบุคลากรเข้าร่วมอบรมกับหน่วยงานต่าง ๆ เช่น
- การจัดส่งบุคลากรเข้าร่วมอบรมเพื่อพัฒนาทักษะงานที่สนใจ
- การจัดส่งบุคลากรเข้าร่วมกิจกรรมด้านการประกันคุณภาพฯ
นอกจากนี้หน่วยงานยังได้รับมอบหมายจากมหาวิทยาลัย ให้ดำเนินโครงการพัฒนาคณาจารย์สายวิชาการ ในด้านที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอน อาทิเช่น (5.1-6-NSRU-MR-2 คำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559)
1.โครงการสนับสนุนงานด้านวิชาการ เป็นโครงการที่สนับสนุนให้คณาจารย์เพิ่มพูนความรู้ เทคนิค และแนวทางการจัดการเรียนการสอนแบบใฝ่รู้ กับมหาวิทยาลัยชั้นนำที่มีความเชี่ยวชาญและมีชื่อเสียงในการจัดการเรียนการสอนแบบใฝ่รู้ในต่างประเทศ
2.โครงการพัฒนาอาจารย์ด้านการจัดการเรียนการสอนแบบใฝ่รู้ (Active Learning)
3.กิจกรรมอบรมอาจารย์ใหม่ ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยให้ความรู้แก่อาจารย์ใหม่ เกี่ยวกับนโยบายการจัดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย
ในการจัดกิจกรรม/โครงการพัฒนาบุคลากรแต่ละครั้ง หน่วยงานในฐานะผู้รับผิดชอบโครงการ ได้จัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อติดตามผลการดำเนินงาน ปัญหา อุปสรรค และร่วมกันหาแนวทางแก้ไขแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ รวมทั้งได้กำหนดให้ผู้เข้าร่วมโครงการพัฒนาบุคลากรจัดทำรายงานผลการเข้าร่วมอบรมหรือกิจกรรม/โครงการทั้งในรูปของแบบรายงานผล และรูปเล่มรายงาน (5.1-6-NSRU-MR-3 รายงานผลการเข้าร่วมอบรม )
|
|
เกณฑ์ประเมินข้อที่ 7.
|
ดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามระบบและกลไกที่เหมาะสมและสอดคล้องกับพันธกิจและพัฒนาการของคณะที่ได้ปรับให้การดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารงานคณะตามปกติที่ประกอบด้วยการควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพ และการประเมินคุณภาพ
|
ผลการดำเนินงาน
หน่วยงานมีระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายในที่สอดคล้องกับพันธกิจของสำนักและสอดคล้องกับการ
1. ระบบการควบคุมคุณภาพ มีนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย (5.1-7-NSRU-MR-1 ประกาศนโยบายการประกันคุณภาพมหาวิทยาลัยฯ) ที่ผ่านการเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัยที่ทุกหน่วยงานภายในต้องถือปฏิบัติ มีคณะกรรมการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของสำนัก (5.1-7-NSRU-MR-2 คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสำนัก) รวมทั้งแผนการประกันคุณภาพการศึกษา (5.1-7-NSRU-MR-3 แผนการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหน่วยงาน) (5.1-7-NSRU-MR-4 ปฏิทินการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน) (5.1-7-NSRU-MR-5 ระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน)
2. ระบบการติดตามตรวจสอบคุณภาพ หน่วยงานจัดทำรายงานการประเมินตนเอง ปีการศึกษา 2558 ซึ่งประกอบด้วยตัวบ่งชี้ระดับหน่วยงานและตัวบ่งชี้ระดับมหาวิทยาลัย (5.1-7-NSRU-MR-6 ผู้กำกับตัวบ่งชี้และผู้จัดเก็บข้อมูล ผู้รับผิดชอบดำเนินการ) มีคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ การประกันคุณภาพการศึกษา ของมหาวิทยาลัยทำการกำกับติดตามการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของหน่วยงาน (5.1-7-NSRU-MR-7 คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบคุณภาพฯ)
3. ระบบการประเมินคุณภาพ มีคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับสำนักและสถาบัน ปีการศึกษา 2557 (5.1-7-NSRU-MR-8 คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินคุณภาพฯ) เพื่อสรุปผลการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของสำนัก และเตรียมความพร้อมในการรับการประเมินจากหน่วยงานภายนอก และมีการนำผลการประกันคุณภาพการศึกษามาจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพของสำนัก (5.1-7-NSRU-MR-9 แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2558) เพื่อปรับปรุงการทำงาน และพัฒนาผลการดำเนินงานของสำนัก
|