ผลการปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผลการประเมินที่ผ่านมา

ข้อเสนอแนะผลการประเมิน 
 ปีการศึกษา 2554
ผลการปรับปรุง
ตามข้อเสนอแนะในปีการศึกษา 2555
องค์ประกอบที่ 1
จุดที่ควรพัฒนา
  • ไม่มี     
องค์ประกอบที่ 1
ข้อปรับปรุงแก้ไข
  • ไม่มี
องค์ประกอบที่ 2 การผลิตบัณฑิต
จุดที่ควรพัฒนา
- ในบางสาขาวิชาฯ ไม่มีระบบและกลไกการจัดการการเรียนการสอนซึ่งไม่ได้จัดส่งรายละเอียดของแผนการสอน (มคอ.3) ซึ่งทำให้ไม่เป็นไปตามเกณฑ์เรื่องระบบและกลไกการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 
องค์ประกอบที่ 2 การผลิตบัณฑิต
ข้อปรับปรุงแก้ไข
- ได้ทำการปรับปรุงตามคำแนะนำของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาใน
ปีการศึกษา 2555
องค์ประกอบที่ 3 กิจกรรมพัฒนานักศึกษา
จุดที่ควรพัฒนา
3.1 ระบบและกลไกการให้คำปรึกษาและบริการด้านข้อมูลข่าวสาร
- การพัฒนานักศึกษาโดยให้มองที่กลุ่มเป้าหมายซึ่งแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1. นักศึกษาปัจจุบัน และ 2. ศิษย์เก่า ซึ่งที่สำคัญการให้บริการและการจัดกิจกรรม คือการจัดให้มีการประเมินผลกิจกรรมนั้นๆ และนำผลนั้นไปปรับปรุงพัฒนากิจกรรมต่อไป ซึ่งรายละเอียดในแต่ละเกณฑ์ดังนี้
1. เกณฑ์ที่ 1, 2, 4 การจัดให้บริการให้คำปรึกษาและช่องทางการสื่อสาร ควรมีช่องทางการสื่อสารมากกว่า 1 ช่องทาง เช่น ทางโทรศัพท์ ทางอีเมล์ หรือจดหมายข่าวด่วน นอกเหนือการพบปะที่เป็นรูปแบบในชั้นเรียนเพียงอย่างเดียว หรือทางบอร์ดประชาสัมพันธ์ที่ได้มีการจัดขึ้นอยู่แล้ว
2. เกณฑ์ที่ 3 การจัดกิจกรรมควรมีหลายกิจ
กรรม นอกเหนือจากการฝึกงาน เช่น การดูงาน
จัดสัมมนา อบรมเชิงปฏิบัติการ เป็นต้น
3. เกณฑ์ที่ 5 การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความรู้และประสบการณ์ให้ศิษย์เก่า โดยเมื่อมีการจัดโครงการฯ หรือกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการขึ้น ควรเชิญชวนศิษย์เก่าเข้าร่วมการสัมมนาหรืออบรมเชิงปฏิบัติการ ด้วย   3.2 ระบบและกลไกการส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษา
- โดยปัจจุบันบัณฑิตวิทยาลัยจะมีการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาแล้ว แต่สาขาวิชาฯ ควรจะมีการจัดแยกเองในแต่ละสาขาวิชาฯ เพื่อให้เป็นเอกลักษณ์ หรืออัตลักษณ์ของแต่ละสาขาวิชาฯ นั้น ๆ
องค์ประกอบที่ 3 กิจกรรมพัฒนานักศึกษา
ข้อปรับปรุงแก้ไข
- ได้ทำการปรับปรุงตามคำแนะนำของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาใน
ปีการศึกษา 2555 ให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้
องค์ประกอบที่ 7
จุดที่ควรพัฒนา
1.ผู้บริหารควรเพิ่มการถ่ายทอดความรู้ด้วยการสอนงานในแต่ละส่วนงานจะสร้างการลดช่องว่างระหว่างกัน 2.เพิ่มรูปแบบการแบ่งปันความรู้ในการสอนงานแบบ Co-ordination แบบร่วมมือร่วมใจระหว่างบุคลากร เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน
องค์ประกอบที่ 7
ข้อปรับปรุงแก้ไข
สนับสนุนให้บุคลากรได้มีโอกาสในการนำเสนอความต้องการที่จะพัฒนาตนเอง พร้อมทั้งจัดสรรงบประมาณให้เข้ารับการอบรมตามความต้องการ เพื่อพัฒนาการดำเนินงาน ของตนเอง  รวมทั้งจัดกิจกรรม / โครงการเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบุคลากร ผู้บริหาร เพื่อสร้างการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างกัน ผ่านโครงการ / กิจกรรมดังนี้
1.โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ
1.1 กิจกรรม “จิตบริการกับงานส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน”
1.2 กิจกรรมศึกษาดูงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ณ มหาวิทยาลัยฮงอิก
1.3 กิจกรรมการตรวจสอบองค์กรสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้
2.โครงการพัฒนาบุคลาการด้านการประกันคุณภาพ
2.1 กิจกรรมการจัดการความเสี่ยง
2.2 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่มงานย่อย
องค์ประกอบที่ 8
จุดที่ควรพัฒนา
1.ควรทบทวนเกณฑ์ และข้อความของเกณฑ์การประเมิน ในการดำเนินงาน ที่สามารถดำเนินรายได้ตามภารกิจของหน่วยงานได้ถูกต้อง
องค์ประกอบที่ 8
ข้อปรับปรุงแก้ไข
มีการปรับปรุงการเขียนเกณฑ์การประเมินตามระดับคะแนน ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน

องค์ประกอบที่ 9
จุดที่ควรพัฒนา
1.เชื่อมโยงฐานข้อมูลทะเบียนกับ NSRU MIS เพื่อให้ครอบคลุมการประกันคุณภาพครบทุกองค์ประกอบ  
องค์ประกอบที่ 9
ข้อปรับปรุงแก้ไข
หน่วยงานได้นำข้อเสนอแนะเสนอต่อมหาวิทยาลัย และได้มีการจัดทำฐานข้อมูลกลาง เพื่อให้ทุกหน่วยงานได้เข้าถึงข้อมูล และสามารถนำข้อมูลประกันคุณภาพเข้าสู่ระบบครบทุกองค์ประกอบ