องค์ประกอบที่ 2 การผลิตบัณฑิต
ตัวบ่งชี้ที่ 2.1ระบบและกลไกการพัฒนาและบริหารหลักสูตร
ชนิดของตัวบ่งชี้กระบวนการ
ผู้กำกับดูแลตัวบ่งชี้  :    อาจารย์ ดร.บัณฑิตา  อินสมบัติ ผู้จัดเก็บข้อมูล :  นางวรรฒนา  ไวยมิตรา
โทรศัพท์ : 0 5621 9100-29  ต่อ 1213 โทรศัพท์ : 0 5621 9100-29  ต่อ 1210

เกณฑ์การประเมิน:  เกณฑ์เฉพาะสถาบันกลุ่ม ค1 ค2 และ ง
คะแนน 1
คะแนน 2
คะแนน 3
คะแนน 4
คะแนน 5
มีการดำเนินการ
1 ข้อ
ตามเกณฑ์ทั่วไป
มีการดำเนินการ 2 ข้อ
ตามเกณฑ์ทั่วไป
มีการดำเนินการ3 ข้อ
ตามเกณฑ์ทั่วไป
มีการดำเนินการ
4 หรือ 5ข้อ
ตามเกณฑ์ทั่วไป
มีการดำเนินการ ครบ 5 ข้อตามเกณฑ์ทั่วไป และครบถ้วนตามเกณฑ์มาตรฐานเพิ่มเติมเฉพาะกลุ่ม

ผลการประเมินตนเอง
มี
ข้อ
เกณฑ์การประเมิน
ผลดำเนินการ
หลักฐาน
1
มีระบบและกลไกการเปิดหลักสูตรใหม่และปรับปรุงหลักสูตรตามแนวทางปฏิบัติที่กำหนดโดยคณะกรรมการการอุดมศึกษา และดำเนินการตามระบบที่กำหนด
สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน โดยบัณฑิตวิทยาลัยได้กำหนดแนวทางการเปิดหลักสูตรใหม่ และได้ประชุมชี้แจงแนวทางการเปิดหลักสูตรใหม่ในที่ประชุมคณะกรรมการบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 1/2556 เพื่อแจ้งให้คณบดีและอาจารย์ประจำหลักสูตรได้รับทราบ และถือเป็นแนวปฏิบัติโดยกำหนดให้ทุกหลักสูตรที่จะเปิดสอน ให้เป็นไปตามกรอบมาตรฐาน TQF และดำเนินการตามประกาศมหาวิทยาลัย เรื่อง แนวปฏิบัติในการเปิดและปิดหลักสูตร 2-2.1-MR-1 ขั้นตอนการเปิดหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา
2-2.1-MR-2 สรุปรายงานการประชุมคณะกรรมการบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 1/2556
2-2.1-MR-3 ประกาศ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์เรื่องแนวปฏิบัติในการเปิดและปิดหลักสูตร
2-2.1-MR-4 กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552
2-2.1-MR-5 เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2548
2
มีระบบและกลไกการปิดหลักสูตรตามแนวทางปฏิบัติที่กำหนดโดยคณะกรรมการการอุดมศึกษา และดำเนินการตามระบบที่กำหนด
สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน โดยบัณฑิตวิทยาลัยได้กำหนดขั้นตอนการปิดหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาที่สอดคล้องกับแนวปฏิบัติ เรื่องแนวปฏิบัติในการเปิดและปิดหลักสูตรของมหาวิทยาลัย และแนวการเปิดหลักสูตรตามที่คณะกรรมการอุดมศึกษากำหนด โดยได้ดำเนินการประชุมชี้แจงเกี่ยวกับขั้นตอนการปิดหลักสูตร ในการประชุมคณะกรรมการบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 1/2556  โดยกำหนดให้ทุกหลักสูตรที่เปิดสอนระดับบัณฑิตศึกษาดำเนินการตามประกาศมหาวิทยาลัย เรื่องแนวปฏิบัติในการเปิดและปิดหลักสูตร 2-2.1-MR-6 ขั้นตอนการปิดหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา
2-2.1-MR-3 ประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์เรื่องแนวปฏิบัติในการเปิดและปิดหลักสูตร
2-2.1-MR-3 แนวทางการปิดหลักสูตรตามที่คณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนด
2-2.1-MR-7 เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2548
3
ทุกหลักสูตรมีการดำเนินงานให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา และกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (การดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ หมายถึง ต้องมีการประเมินผลตาม “ตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานตามประกาศมาตรฐานคุณวุฒิสาขาหรือสาขาวิชา เพื่อการประกันคุณภาพหลักสูตรและการเรียนการสอน” กรณีที่หลักสูตรใดยังไม่มีประกาศมาตรฐานคุณวุฒิสาขาหรือสาขาวิชาให้ประเมินตามตัวบ่งชี้กลางที่กำหนดในภาคผนวก ก) สำหรับหลักสูตรสาขาวิชาชีพต้องไดรับการรับรองหลักสูตรจากสภาหรือองค์กรวิชาชีพที่เกี่ยวข้องด้วย (หมายเหตุ: สำหรับหลักสูตรเก่าหรือหลักสูตรปรับปรุงที่ยังไม่ไดดำเนินการตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติก่อนปีการศึกษา  2555 ให้ยึดตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2548) หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาทุกหลักสูตร มีการกำหนดงานให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2548 และยังได้ดำเนินการให้มีการพัฒนาหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ  จำนวน 4 หลักสูตรได้แก่ หลักสูตรครุศาสตร
มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา  สาขาวิชาพลศึกษา  หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น และหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา โดยทั้ง 4 หลักสูตรสาขาฯ ได้ประเมินผลตามตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานตามมาตรฐานคุณวุฒิ 
นอกจากนี้หลักสูตรสาขาวิชาการจัดการหลักสูตรและการเรียนรู้ และหลักสูตรสาขาการจัดการศึกษาและการเรียนรู้ ยังได้รับการรับรองจากองค์กร
วิชาชีพ คือ สำนักงาน ก.ค.ศ
2-2.1-MR-7 เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2548
2-2.1-MR-8 คำสั่งอาจารย์ผู้สอนปีการศึกษา 2555
2-2.1-MR-9 คำสั่งอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ 
2-2.1-MR-10 รายละเอียด มคอ.7 ของสาขาวิชาฯ
2-2.1-MR-11 หนังสือจาก สนง. ก.ค.ศ. เรื่องการรับรองวิชาชีพ
4
มีคณะกรรมการรับผิดชอบควบคุมกำกับให้มีการดำเนินการได้ครบถ้วนทั้งข้อ 1 ข้อ 2 และข้อ 3 ข้างต้นตลอดเวลาที่จัดการศึกษา และมีการประเมินหลักสูตรทุกหลักสูตรอย่างน้อยตามกรอบเวลาที่กำหนดในเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรฯ กรณีหลักสูตรที่ดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับ อุดมศึกษาแห่งชาติ จะต้องควบคุมกำกับให้การดำเนินงานตาม  ตัวบ่งชี้ในข้อ 3 ผ่านเกณฑ์การประเมิน 5 ข้อแรกและอย่างน้อยร้อยละ 80 ของตัวบ่งชี้ที่กำหนดในแต่ละปี ทุกหลักสูตร หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา มีการแต่งตั้งอาจารย์ประจำหลักสูตรและอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทุกหลักสูตร เพื่อรับผิดชอบวางแผน ดำเนินการ ตรวจสอบการดำเนินการหลักสูตร ตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ.2548  กำหนดในหลักสูตร 2-2.1-MR-12 คำสั่งแต่งตั้งอาจารย์ประจำหลักสูตรและอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา 
2-2.1-MR-13 รายละเอียด มคอ.7 สาขาวิชาการบริหารการศึกษา , สาขาวิชาพลศึกษา, สาขาวิชาวิทยาศาสตร์, สาขาวิชาการบริหารเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
5
มีคณะกรรมการรับผิดชอบควบคุมกำกับให้มีการดำเนินการได้ครบถ้วนทั้งข้อ 1 ข้อ 2 และข้อ 3 ข้างต้นตลอดเวลาที่จัดการศึกษา และมีการพัฒนาหลักสูตรทุกหลักสูตรตามผลการประเมินในข้อ 4 กรณีหลักสูตรที่ดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ จะต้อง
ควบคุมกำกับให้การดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ในข้อ 3 ผ่านเกณฑ์การประเมินครบ ทุกตัวบ่งชี้และทุกหลักสูตร          
  
การจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษามีการแต่งตั้งคณะกรรมการบัณฑิตศึกษา เพื่อกำกับดูแลในการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา  ให้มีการดำเนินการให้ครบถ้วนทั้งข้อ 1 ข้อ 2 ข้อ 3 และ ข้อ 4 และมีการนำผลการประเมินหลักสูตรตามข้อ 4 มาใช้ในการพัฒนาหลักสูตร  มีการแต่งตั้งคณะกรรมการบัณฑิตศึกษาในการกำกับติดตามการเปิดหลักสูตรของแต่ละสาขาวิชาให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรอุดมศึกษา และกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ  โดยหลักสูตรที่เปิดสอนมีการพัฒนาหลักสูตรตามผลการประเมินหลักสูตร และทุกหลักสูตรมีผลการประเมินหลักสูตรครบทุกตัวบ่งชี้ 2-2.1-MR-14 คำสั่งแต่งตั้งกรรมการบัณฑิตศึกษา
2-2.1-MR-15 เล่มหลักสูตร    ที่พัฒนาแล้ว
2-2.1-MR-13 รายละเอียด มคอ.7 สาขาวิชาการบริหารการศึกษา , สาขาวิชาพลศึกษา, สาขาวิชาวิทยาศาสตร์, สาขาวิชาการบริหารเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
6
มีความร่วมมือในการพัฒนาและบริหารหลักสูตรระหว่างสถาบันกับภาครัฐหรือภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพของหลักสูตร มากกว่าร้อยละ 30 ของจำนวนหลักสูตรวิชาชีพทั้งหมดทุกระดับการศึกษา -  
7
หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาที่เน้นการวิจัยที่เปิดสอน (ปริญญาโท เฉพาะแผน ก และปริญญาเอก) มีจำนวนมากกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนหลักสูตรทั้งหมดทุกระดับการศึกษา (เฉพาะกลุ่ม ค1 และ ง) -  
8
หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาที่เน้นการวิจัยที่เปิดสอน (ปริญญาโท เฉพาะแผน ก และปริญญาเอก)มีจำนวนนักศึกษาที่ศึกษาอยู่ในหลักสูตรมากกว่าร้อยละ 30 ของจำนวนนักศึกษาทั้งหมดทุกระดับการศึกษา
(เฉพาะกลุ่ม ค1 และ ง)
-  

ผลการประเมินของคณะกรรมการประเมินปีที่แล้ว
 :  
ลำดับตัวบ่งชี้
ผลการดำเนินงานคะแนนอิงเกณฑ์การประเมินตัวบ่งชี้ สกอ.
ตัวบ่งชี้ที่ 2.1
เป้าหมายที่กำหนด
ผลของเป้าหมายที่ได้
การบรรลุเป้าหมาย
ค่าคะแนนที่ได้
 
5 ข้อ
 
5 ข้อ
บรรลุ
5 คะแนน

ผลการประเมินตนเองปีนี้
ลำดับตัวบ่งชี้
ผลการดำเนินงานคะแนนอิงเกณฑ์การประเมินตัวบ่งชี้ สกอ.
ตัวบ่งชี้ที่ 2.1
เป้าหมายที่กำหนด
ผลของเป้าหมายที่ได้
การบรรลุเป้าหมาย
ค่าคะแนนที่ได้
5 ข้อ
5 ข้อ
บรรลุ
5 คะแนน

การประเมินของคณะกรรมการปีนี้
:
ลำดับตัวบ่งชี้
ผลการดำเนินงานคะแนนอิงเกณฑ์การประเมินตัวบ่งชี้ สกอ.
ตัวบ่งชี้ที่ 2.1
เป้าหมายที่กำหนด
ผลของเป้าหมายที่ได้
การบรรลุเป้าหมาย
ค่าคะแนนที่ได้
5 ข้อ
5 ข้อ
บรรลุ
5 คะแนน

จุดแข็ง
  • หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาที่เป็นหลักสูตรปรับปรุงมีการพัฒนาและดำเนินการตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษาแห่งชาติ
จุดอ่อน
  • ไม่มี
ข้อเสนอแนะ
  • ไม่มี