องค์ประกอบที่ 9ระบบและกลไกการประกันคุณภาพ
ตัวบ่งชี้ที่ 9.1ระบบและกลไกการเงินและงบประมาณ
ชนิดตัวบ่งชี้กระบวนการ
ผู้กำกับดูแลตัวชี้วัด : อาจารย์ ดร.สุธาทิพย์   งามนิล ผู้จัดเก็บข้อมูล  :
อาจารย์ภัทริณี       คงชู
นางสาวณฤนรรณ    เอี่ยมมี
โทรศัพท์                 : 0-5621-9100  ต่อ  1201 โทรศัพท์          : 0-5621-9100  ต่อ 1204

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1
คะแนน 2
คะแนน 3
คะแนน 4
คะแนน 5
มีการดำเนินการ
1 ข้อ
มีการดำเนินการ
2 หรือ 3 ข้อ
มีการดำเนินการ
4 หรือ 5หรือ 6 ข้อ
มีการดำเนินการ
7 หรือ 8 ข้อ
มีการดำเนินการ
9 ข้อ

ผลการประเมินตนเอง
มี
ข้อ
เกณฑ์
ผลดำเนินงาน
หลักฐาน
1
มีระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายในที่เหมาะสมและสอดคล้องกับพันธกิจและการพัฒนาของสถาบัน ตั้งแต่ระดับภาควิชาหรือหน่วยงานเทียบเท่าและดำเนินการตามระบบที่กำหนด สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน  แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพระดับหน่วยงาน รับมอบนโยบายด้านการประกันคุณภาพจากมหาวิทยาลัย เป็นแนว ทางในการกำหนดนโยบาย จัดทำระบบและกลไกการประกันคุณภาพฯ ที่สอดคล้องกับพันธกิจตามบริบทของหน่วยงาน โดยใช้หลักการ คือ
1. ระบบการพัฒนาคุณภาพ กลไกของระบบ   คือ มีนโยบายการประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัยที่ผ่านการเห็นชอบของสภามหาวิทยาลัยที่สำนักต้องปฏิบัติ สำนักมีแผนงานการประกันคุณภาพภายใน  มีการกำหนดตัวบ่งชี้ร่วมที่ปรากฏในแผนปฏิบัติราชการประจำปี  มีการจัดทำแผนงานการประกันคุณที่สอดคล้องกับระยะเวลาการประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัยและมีคณะกรรมการดำเนินการประกันคุณภาพของสำนัก มีการทบทวนกระบวนการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษา
2. ระบบการติดตามคุณภาพ กลไกของระบบ คือ สำนักมีการจัดทำรายงานการประเมินตนเอง มีการตรวจติดตามและประเมินการประกันคุณภาพภายในระดับสำนัก
3. ระบบการประกันคุณภาพ กลไกของระบบ คือ มีคณะกรรมการตรวจสอบรายงานการประเมินตนเอง มีคณะกรรมการตรวจติดตามและประเมินผลระดับสำนักเพื่อเตรียมความพร้อมในการรับการประเมินจากหน่วยงานภายนอก
9-9.1-MR-1   คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในปีการศึกษา 2554
9-9.1-MR-2   ระบบและกลไกการประกันคุณภาพ
9-9.1-MR-3   ประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์เรื่องนโยบายแนวทางการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน
9-9.1-MR-4   แผนการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2555    
2
มีการกำหนดนโยบายและให้ความสำคัญเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน โดยคณะกรรมการระดับนโยบายและผู้บริหารสูงสุดของสถาบัน คณะกรรมการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพ ของสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน ได้นำนโยบายการประกันคุณภาพจากมหาวิทยาลัยมาเป็นแนวทางในการดำเนินงานประกันคุณภาพมาจัดทำแผนการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพประจำปี 2555  เสนอต่อคณะกรรมการประจำสำนักฯ พิจารณาให้ความเห็นชอบ และแจ้งให้บุคลากรภายในหน่วยงานรับทราบแนวทางการดำเนินงาน และตระหนักถึงความสำคัญของการดำเนินงานประกันคุณภาพ 9-9.1-MR-4  แผนการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2555
9-9.1-MR-5  คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน
3
มีการกำหนดมาตรฐานตัวบ่งชี้ เพิ่มเติมตามอัตลักษณ์ของสถาบัน จากการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน(สกอ.)และการประเมินคุณภาพภายนอก(สมศ.) ในรอบปีการศึกษา 2554 ที่ผ่านมา หน่วยงานได้มีการประชุมบุคลากรภายในสำนักฯ ร่วมกันค้นหา และกำหนดตัวบ่งชี้ที่เป็นอัตลักษณ์ที่สอดคล้องกับพันธกิจ และบริบทของหน่วยงาน โดยได้เพิ่มตัวบ่งชี้ที่เป็นอัตลักษณ์ไว้ในแผนปฏิบัติราชการประจำปี 2554
อัตลักษณ์ของหน่วยงาน  คือ “การให้บริการแบบจิตบริการ”
ตัวบ่งชี้ของอัตลักษณ์  คือ  ระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการ
9-9.1-MR-6   รายงานการประชุมบุคลากร สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน ครั้งที่ 3/2553
4
มีการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในที่ครบถ้วนประกอบด้วย  1)การควบคุมคุณภาพ การติดตาม ตรวจสอบ และงานประเมินคุณภาพ 2) การจัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานการประเมินคุณภาพเสนอต่อสภาสถาบันและสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาตามกำหนดเวลา โดยเป็นรายงานที่มีข้อมูลครบถ้วนตามที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนดใน CHE QA Online และ
3) การนำผลการประเมินคุณภาพไปทำแผนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถาบัน
1.ในปีการศึกษา 2555 สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียนได้มีการดำเนินงานตามมาตรฐานตัวบ่งชี้ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาในเรื่องการควบคุมคุณภาพ การติดตาม ตรวจสอบและงานประเมินคุณภาพได้ดำเนินการโดยแต่งตั้งคณะกรรมการการควบคุมติดตามการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสำนักเพื่อติดตามตรวจสอบด้านงานประกันคุณภาพ
2.สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียนมีการจัดทำรายงานประจำปีที่เป็นการประเมินคุณภาพที่เสนอต่อมหาวิทยาลัยได้จัดทำรายงานการประเมินตนเองปีการศึกษา 2555และดำเนินการตรงตามกำหนดโดยเป็นรายงานที่มีข้อมูลครบถ้วนตามที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนดใน CHE QA Online สำหรับการนำผลการประเมินคุณภาพไปทำแผนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถาบันได้
3.สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียนได้นำผลการดำเนินงานปี 2553 ปีและผลการดำเนินงานปี 2554  มาทบทวน ติดตามและปรับปรุงการดำเนินงานประกันคุณภาพให้มีประสิทธิภาพในแต่ละปีที่สูงขึ้น
9-9.1-MR-7 คำสั่งแต่งตั้งกรรมการควบคุมติดตามการประกันคุณภาพ
9-9.1-MR-8  รายงานผลการประเมินตนเอง ปีการศึกษา 2553
9-9.1-MR-9 รายงานผลการประเมินตนเอง ปีการศึกษา 2554
9-9.1-MR-10 รายงานการประชุมสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน ครั้งที่ 1/2555 (5.4,5.5)
5
มีการนำผลการประกันคุณภาพมาพัฒนาปรับปรุงการดำเนินงาน และส่งผลให้มีการพัฒนาผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ ของแผนกลยุทธ์ทุกตัวบ่งชี้ สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน  ได้นำข้อเสนอแนะของคณะกรรมการตรวจเยี่ยม มาพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงาน  โดยมีการนำผลการประเมินคุณภาพภายในมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน และการปรับแผนปฏิบัติการของสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียนนำผลการประเมิน ปีการศึกษา 2554 มาทบทวนโดยการประชุมสำนัก 9-9.1-MR-10 รายงานการประชุมสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน ครั้งที่ 1/2555 (5.4,5.5)
9-9.1-MR-11 แผนปฏิบัติราชการ สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน
6
มีระบบฐานข้อมูลและสารสนเทศที่สนับสนุนการประกันคุณภาพการศึกษา ครบทั้ง 9  องค์ประกอบคุณภาพ มหาวิทยาลัยได้จัดทำระบบสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ และเป็นสารสนเทศที่สนับสนุนการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในที่ครอบคลุมทั้ง 9 องค์ประกอบคุณภาพของมหาวิทยาลัย และเผยแพร่เป็นฐานข้อมูลให้แก่หน่วยงานภายนอก  คือ ระบบ MIS NSRU
นอกจากนี้ในส่วนของสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน ยังมีระบบสารสนเทศที่ช่วยสนับสนุนการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพตามบริบทของหน่วยงาน ได้แก่
1.สารสนเทศที่สนับสนุนการบริหารจัดการหน่วยงาน (องค์ประกอบที่ 1 ,7 ,8) ได้แก่ ข้อมูลบุคลากรภายในหน่วยงาน  แผนการดำเนินงานต่าง ๆ  ระเบียบ/ประกาศ/ข้อบังคับต่าง ๆ  nsru.regis forum เป็นต้น
2.สารสนเทศที่สนับสนุนการจัดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย (องค์ประกอบที่ 2) ได้แก่ ข้อมูลนักศึกษา งานทะเบียนนักศึกษา  งานตารางเรียน-ตารางสอน-ตารางสอบ  งานข้อมูลหลักสูตรและแผนการเรียนนักศึกษา
9-9.1-MR-12  http://mis.nsru.ac.th/
9-9.1-MR-13 ตัวอย่างระบบสานสนเทศภายในหน่วยงาน
7
มีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการประกันคุณภาพการศึกษา โดยเฉพาะนักศึกษา ผู้ใช้บัณฑิต และผู้ใช้บริการตามพันธกิจของสถาบันภายนอกสถาบัน หน่วยงานได้เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือผู้รับบริการตามบริบทการดำเนินงานของหน่วยงานได้แสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการดำเนินงานของหน่วยงานดังนี้
1.มีการสำรวจความพึงพอใจและข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการตามบริบทของหน่วยงาน(นักศึกษา คณาจารย์และบุคคลทั่วไป)เกี่ยวกับการดำเนินงานด้านอัตลักษณ์ของหน่วยงาน
2.ข้อเสนอแนะในการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพการศึกษาภายในจากคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน(บุคคลภายนอก)
3.ข้อเสนอแนะจากผลการสำรวจความคิดเห็นของนักศึกษา / ผู้ใช้บัณฑิต โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ
ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะดังกล่าว หน่วยงานได้นำมาทำการปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงานดังนี้
1.นำผลที่ได้เข้าที่ประชุมบุคลากรเพื่อรับทราบข้อเสนอแนะ และข้อคิดเห็นต่าง ๆ
2.ร่วมกันหาแนวทางการแก้ไขและ / หรือพัฒนาการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะ
3.ดำเนินงานตามแนวทางที่ได้ โดยกำหนดเป็นกิจกรรม / โครงการในปีงบประมาณถัดไป
9-9.1-MR-9 รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2554
9-9.1-MR-14 รายงานผลการสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ 2556
9-9.1-MR-15 รายงานผลการสำรวจความคิดเห็นของนักศึกษา / ผู้ใช้บัณฑิต โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ
9-9.1-MR-16 รายงานการประชุมบุคลากรสำนักส่งเสริม ครั้งที่ 2/2555
9-9.1-MR-17 โครงการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรด้านการประกันคุณภาพ
9-9.1-MR-18 โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ
8
มีเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการประกันคุณภาพการศึกษาระหว่างสถาบัน และมีกิจกรรมร่วมกัน สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการประกันคุณภาพการศึกษาระหว่างหน่วยงาน และสถาบัน โดยจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเครือข่ายเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา กับ.เครือข่ายระบบงานทะเบียนและประมวลผลการศึกษาทั่วประเทศ นอกจากนี้สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน (บัณฑิตวิทยาลัย) มีการสนับสนุนสร้างเครือข่ายและให้บุคลากรได้มีส่วนร่วมทำกิจกรรมร่วมกัน โดยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ด้านการประกันคุณภาพ กับบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือทั้ง 8 แห่ง เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการ การดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน และได้มีบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือโครงการพัฒนาความร่วมมือด้านการประกันคุณภาพภายในระหว่างบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ กับบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏทั้ง 7 แห่ง ประกอบด้วย มรภ.เชียงราย, มรภ.เชียงใหม่, มรภ.อุตรดิตถ์, มรภ.พิบูลสงคราม, มรภ.เพชรบูรณ์, มรภ.กำแพงเพชร, มรภ.ลำปาง และเข้าร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ 8 แห่ง สร้างเครือข่ายการประกันคุณภาพการศึกษาด้านการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา โดยมีการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ระหว่างมหาวิทยาลัยโดยร่วมกันจัดเวทีนำเสนอผลงานวิชาการของนักศึกษา อาจารย์ระดับบัณฑิตศึกษาและผู้สนใจทั่วไป 9-9.1-MR-19  โครงการสัมมนาเครือข่ายระบบงานทะเบียนและประมวลผลการศึกษา ครั้งที่ 7
9-9.1-MR-20 โครงการการสร้างเครือข่ายความร่วมมือการประกันคุณภาพมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ
9-9.1-MR-21 บันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือโครงการพัฒนาความร่วมมือด้านการประกันคุณภาพฯ
9-9.1-MR-22 ประมวลภาพกิจกรรมโครงการการสร้างเครือข่ายความร่วมมือฯ
9-9.1-MR-23 โครงการประชุมนำเสนอผลงานวิชาการบัณฑิตศึกษาราชภัฏภาคเหนือครั้งที่ 10 และ 11
9-9.1-MR-24 หนังสือเชิญร่วมประชุมคณะกรรมการเครือข่ายบัณฑิตภาคเหนือ
9-9.1-MR-25 สรุปรายงานผลการประชุมสัมมนาวิชาการนำเสนอผลงานวิชาการ ครั้งที่ 10 และ ครั้งที่ 11       
9-9.1-MR-26 ประมวลภาพกิจกรรมจัดงานนำเสนอผลงานวิจัยและวิชาการเครือข่ายบัณฑิตภาคเหนือ
9
มีแนวทางปฏิบัติที่ดีหรืองานวิจัยด้านการประกันคุณภาพการศึกษาที่หน่วยงานพัฒนาขึ้น และเผยแพร่ให้หน่วยงานอื่นสามารถนำไปใช้ประโยชน์ -  

ผลการประเมินของคณะกรรมการประเมินปีที่แล้ว  :
 
ลำดับตัวบ่งชี้
ผลการดำเนินงานคะแนนอิงเกณฑ์การประเมินตัวบ่งชี้  สกอ.
ตัวบ่งชี้ที่ 9.1
เป้าหมายที่กำหนด
ผลของเป้าหมายที่ได้
การบรรลุเป้าหมาย
ค่าคะแนนที่ได้
7 ข้อ
9 ข้อ
บรรลุ
5 คะแนน

ผลการประเมินตนเองปีนี้
ลำดับตัวบ่งชี้
ผลการดำเนินงานคะแนนอิงเกณฑ์การประเมินตัวบ่งชี้  สกอ.
ตัวบ่งชี้ที่ 9.1
เป้าหมายที่กำหนด
ผลของเป้าหมายที่ได้
การบรรลุเป้าหมาย
ค่าคะแนนที่ได้
7 ข้อ
8 ข้อ
บรรลุ
4 คะแนน

ผลการประเมินของคณะกรรมการปีนี้  
ลำดับตัวบ่งชี้
ผลการดำเนินงานคะแนนอิงเกณฑ์การประเมินตัวบ่งชี้  สกอ.
ตัวบ่งชี้ที่ 9.1
เป้าหมายที่กำหนด
ผลของเป้าหมายที่ได้
การบรรลุเป้าหมาย
ค่าคะแนนที่ได้
7 ข้อ
8 ข้อ
บรรลุ
4 คะแนน

จุดแข็ง
  • ไม่มี
จุดอ่อน
  • ไม่มี
ข้อเสนอแนะ
  • ในการจำทำแนวปฏิบัติที่ดี นั้นหน่วยงานควรพิจารณา เรื่องที่ตัวเองปฏิบัติแล้วมีความโดดเด่น และปฏิบัติง่าย เช่น การจัดทำวิจัยสถาบัน / หน่วยงาน เป็นต้น