ข้อเสนอแนะผลการประเมิน
ปีการศึกษา 2557 |
ผลการปรับปรุง
ตามข้อเสนอแนะในปีการศึกษา 2558 |
ระบบและกลไกจัดทำและพัฒนาแผนกลยุทธ์ มีการวิเคราะห์ SWOTที่เชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ของหน่วยงานตนเอง หน่วยงานอื่น และมหาวิทยาลัย |
1.ปีงบประมาณ 2559 สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน ได้ประชุมบุคลากรภายในหน่วยงาน เพื่อทำการทบทวนแผนยุทธศาสตร์ 5 ปี (2557-2561) ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2559 เพื่อวิเคราะห์ SWOT
2.มีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ ระดับสำนัก เพื่อทำการกลั่นกรองแผน และทำการวิเคราะห์ความสอดคล้องของยุทธศาสตร์สำนัก กับแผนปฏิบัติการอื่น ๆ มหาวิทยาลัย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3.การประชุมบุคลากร และคณะกรรมการประจำสำนักเพื่อทบทวนพิจารณา ร่างแผนกลยุทธ์ ประจำปีงบประมาณ 2559 |
พัฒนาแผนกลยุทธ์ทางการเงิน |
1.คณะกรรมการบริหารสำนักฯ ศึกษากรอบโครงสร้างจัดทำแผนกลยุทธ์ด้านการเงินและงบประมาณระดับสำนักที่เป็นไปตามกรอบการจัดสรรงบประมาณของมหาวิทยาลัย
2.บริหารงบประมาณ โดยจัดสรรงบประมาณตามแผนปฏิบัติราชการของหน่วยงาน และกำกับการใช้งบประมาณตามเป้าหมายของโครงการที่จัดทำขึ้น
3.จัดทำรายงานสรุปการเบิกจ่ายที่เป็นข้อมูลปัจจุบันตามรอบระยะเวลา โดยจัดทำเป็นแฟ้มรายงานการเบิกจ่ายงบประมาณประจำเดือน
|
ควรแสดงเอกสารอย่างเป็นรูปธรรม ของระบบและกลไก การกำกับติดตามดำเนินงานตามแผนบริหาร และแผนพัฒนาบุคลากร รวมทั้งมีการประเมิน เพื่อนำผลไปพัฒนาต่อไป |
1.สำนักส่งเสริมฯ จัดทำแผนพัฒนาบุคลากร ตามจุดเน้นการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในทักษะที่เกี่ยวข้องกับภาระหน้าที่ ที่รับผิดชอบ และจัดสรรงบประมาณในการพัฒนาบุคลากร ให้มีความสอดคล้องกับแผนการเสนอของบประมาณประจำปี (สนว.359)
2.พัฒนาบุคลากรกรตามแผนงานโดยจัดส่งบุคลากรเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ และจัดโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากร โดยกำหนดให้บุคลากรทุกคนเข้าร่วมโครงการ
3.การกำกับติดตามการดำเนินงานตามแผนพัฒนาบุคคลนั้น ทางหน่วยงานกำหนดให้บุคลากรที่เข้าร่วมการอบรมต่าง ๆ จัดทำรายงานผลการเข้าร่วมกิจกรรม/โครงการอบรมต่าง ๆ รวมถึงการนำความรู้ไปใช้
|
ควรสร้างระบบและกลไกในการกำกับ ติดตาม การดำเนินงาน เพื่อให้บรรลุตามตัวบ่งชี้และเป้าหมายตามแผนกลยุทธ์ มีการประเมินผล แล้วนำผลนั้นไปดำเนินการ เพื่อพัฒนาต่อไป |
เพื่อให้การปฏิบัติงานสำเร็จได้ตามแผนปฏิบัติราชการตามกระบวนการติดตาม ดังนี้
1.ติดตามผลการดำเนินงานที่ได้ปฏิบัติจริง ณ เวลาปัจจุบัน เปรียบเทียบกับแผนปฏิบัติการที่กำหนดไว้
2.ติดตามโครงการเร่งด่วนที่ต้องดำเนินงานให้แล้วเสร็จทันเวลามิฉะนั้นอาจก่อให้เกิดความเสียหาย
3.ทบทวน/ปรับเปลี่ยนการดำเนินงาน ตามปัญหา อุปสรรคการใช้งบประมาณในรอบระยะเวลา 6 เดือน และ 12 เดือน
4.ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลงานประจำปีและรายงานการประเมินผลการดำเนินการในรูปแบบต่าง ดังนี้
4.1 รายงานผลการปฏิบัติงานตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ (ก.พ.ร.)
4.2 รายงานประเมินตนเอง (SAR) ตามคู่มือการประกันคุณภาพภายใน
4.3 รายงานประจำปี
4.4 รายงานการเบิก–จ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ
4.5 รายงานระดับความพึงพอใจของผู้บริการ
4.6 รายงานสถานะทางการเงินของหน่วยงาน ผ่านการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักฯ รอบ 6 เดือน และ 12 เดือน และคณะกรรมการบริหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ทุกเดือน
5. ประเมินผลการใช้งานเพื่อปรับปรุง/แก้ไขโดยการ
5.1 ประเมินผลลัพธ์และความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมาย
5.2 สรุปปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทำงาน แนวทางการแก้ไขในปีงบประมาณต่อไป
|