องค์ประกอบที่ 5การบริหารและการจัดการ
ตัวบ่งชี้ที่ 5.1การบริหารของหน่วยงานเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจกลุ่มสถาบันและเอกลักษณ์ของหน่วยงาน
ชนิดตัวบ่งชี้กระบวนการ
ผู้กำกับดูแลตัวชี้วัด :
อาจารย์ ดร.สุธาทิพย์   งามนิล
ดร.สุพัฒนา หอมบุปผา
ผู้จัดเก็บข้อมูล  :
หัวหน้าสำนักงานผู้อำนวยการ
หัวหน้ากลุ่มงาน 4 กลุ่มงาน
โทรศัพท์ : 0-5621-9100  ต่อ  1201 โทรศัพท์ : 0-5621-9100  ต่อ 1203

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1
คะแนน 2
คะแนน 3
คะแนน 4
คะแนน 5
มีการดำเนินการ
1 ข้อ
มีการดำเนินการ
2 ข้อ
มีการดำเนินการ
3 ข้อ
มีการดำเนินการ
4 หรือ 5 ข้อ
มีการดำเนินการ
6 ข้อ

ผลการประเมินตนเอง

เกณฑ์ประเมินข้อที่ 1. พัฒนาแผนกลยุทธ์จากผลการวิเคราะห์ SWOT โดยเชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ของคณะ และสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของคณะ สถาบัน รวมทั้งสอดคล้องกับกลุ่มสถาบันและเอกลักษณ์ของหน่วยงาน และพัฒนาไปสู่แผนกลยุทธ์ทางการเงินและแผนปฏิบัติการประจำปีตามกรอบเวลาเพื่อให้บรรลุตามตัวบ่ง ชี้และเป้าหมายของแผนกลยุทธ์และเสนอผู้บริหารระดับสถาบันเพื่อพิจารณาอนุมัติ
ผลการดำเนินงาน
            1. สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มีคณะกรรมการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ แผนปฏิบัติราชการ รวมทั้งแผนกลยุทธ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานของสำนัก (5.1-1-NSRU-MR-1 คำสั่งสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน ที่ 217/2556 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์)
            2. มีการประชุมคณะกรรมการฯ ร่วมกับบุคลากรภายในหน่วยงาน เพื่อรวบรวมข้อมูลพื้นฐานในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ และแผนปฏิบัติการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ที่ได้จากการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการทบทวนนโยบาย แนวทางในการดำเนินงาน (ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ ประเด็นยุทธศาสตร์การดำเนินงาน รวมทั้งผลการดำเนินงานในรอบปีงบประมาณที่ผ่านมา) (5.1-1-NSRU-MR-2 รายงานการประชุมบุคลากร ครั้งที่ 2/2558)
            3. นำข้อมูลที่ได้จากการทบทวนการดำเนินงานมาประกอบการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม(SWOT) ในการดำเนินงานมากำหนดแนวทาง กำหนดกลยุทธ์ มาตรการและกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จในการดำเนินงาน เพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์ 5 ปี (5.1-1-NSRU-MR-3 แผนยุทธศาสตร์ 5 ปี พ.ศ. 2557-2561 ปรับปรุง พ.ศ.2559) แผนกลยุทธ์ทางการเงิน (5.1-1-NSRU-MR-4 แผนกลยุทธ์ทางการเงิน ประจำปีงบประมาณ 2559) แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 (5.1-1-NSRU-MR-5 แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559) โดยมีการกำหนดผู้รับผิดชอบ กำหนดตัวบ่งชี้ ค่าเป้าหมายเพื่อวัดความสำเร็จตามแผน และมีการจัดสรรงบประมาณตามกิจกรรม/โครงการที่ตั้งไว้
            4. เสนอแผนยุทธศาสตร์ 5 ปี พ.ศ.2557-2561 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2559) แผนกลยุทธ์ทางการเงิน ประจำปีงบประมาณ 2559 แผนปฏิบัติราชการประจำปี 2559 แก่คณะกรรมการบริหารสำนัก เพื่อพิจารณาเบื้องต้น ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2559 เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2559 จากนั้นนำเสนอต่อคณะกรรมการประจำสำนักฯ พิจารณาให้ความเห็นชอบ ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2559 เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2559 (5.1-1-NSRU-MR-6 รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำสำนักฯ ครั้งที่ 1 /2559) และนำเสนอต่ออธิการบดีเพื่อพิจารณาอนุมัติ (5.1-1-NSRU-MR-7 บันทึกข้อความเสนอแผนการดำเนินงานแก่มหาวิทยาลัย)
            5. ผู้บริหารสำนักฯ กำกับดูแลให้มีการดำเนินงานตามแผนและติดตามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง เช่น ติดตามการดำเนินกิจกรรม/โครงการตามแผน การเบิกจ่ายงบประมาณทุก 1 เดือน และให้รายงานงบประมาณ รอบ 6,9,12 เดือน และจัดทำรายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี (5.1-1-NSRU-MR-8 รายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ 2558) เสนอที่ประชุมคณะกรรมการประจำสำนักฯ (5.1-1-NSRU-MR-6 รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำสำนักฯ ครั้งที่ 1 /2559) พิจารณาให้ข้อเสนอแนะในการดำเนินงานและนำข้อเสนอแนะที่ได้จากการประชุมมาใช้ในการปรับปรุงแผนกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติราชการประจำปีให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น
เกณฑ์ประเมินข้อที่ 2. ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินที่ประกอบไปด้วย ต้นทุนต่อหน่วยในแต่ละหลักสูตร สัดส่วนค่าใช้จ่ายเพื่อพัฒนานักศึกษา อาจารย์ บุคลากร การจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการบริหารหลักสูตร ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการผลิตบัณฑิต และโอกาสในการแข่งขัน
ผลการดำเนินงาน
            ระดับหน่วยงานสนับสนุนไม่รายงาน ตามมติที่ ประชุมคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2559
เกณฑ์ประเมินข้อที่ 3. ดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยงที่เป็นผลจากการวิเคราะห์และระบุปัจจัยเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากปัจจัยภายนอก หรือปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามพันธกิจของคณะและให้ระดับความเสี่ยงลดลงจากเดิม
ผลการดำเนินงาน
            สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน ดำเนินการจัดการความเสี่ยงภายในหน่วยงาน ดังนี้
            1. มีคณะทำงาน ตามคำสั่งที่ 262/2558 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการจัดการความเสี่ยงและควบคุมภายใน ระดับสำนัก ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน 2558 (5.1-3-NSRU-MR-1 คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการจัดการความเสี่ยงและควบคุมภายใน)
            2. คณะกรรมการจัดการความเสี่ยงดำเนินการจัดทำแบบฟอร์มสำรวจปัจจัยที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อการดำเนินงาน แจกให้แก่บุคลากรกลุ่มงานต่าง ๆ เพื่อทำการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงานที่รับผิดชอบ ทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก (5.1-3-NSRU-MR-2 แบบฟอร์ม RM1)
            3.คณะกรรมการจัดการความเสี่ยงรวบรวมข้อมูลปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่ได้จากบุคลากรในหน่วยงาน มาทำการจัดลำดับ และกำหนดแนวทางป้องกันเบื้องต้นในแต่ละประเด็น (5.1-3-NSRU-MR-3 ข้อมูลปัจจัยเสี่ยงตามที่ได้จากการสำรวจ RM1)
            4. พิจารณาปัจจัยเสี่ยงที่อยู่ในระดับสูง และปัจจัยที่มีความจำเป็นเร่งด่วนมาจัดทำแผนจัดการความเสี่ยง (5.1-3-NSRU-MR-4 แผนบริหารความเสี่ยง ปีงบประมาณ 2559) โดยในปีงบประมาณ 2559 คณะกรรมการจัดการความเสี่ยง สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน วิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงที่อยู่ในระดับสูง คือ
                  1. การส่งผลการเรียนล่าช้า
                  2. การจัดตารางเรียนล่าช้า
                        -ส่งคืนรายการจัดสอนล่าช้า
                        -เงื่อนไขรายบุคคล
                        -ห้องเรียนไม่เพียงพอต่อการใช้งาน
            5. นำเสนอแผนเพื่อขออนุมัติ และข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการประจำสำนักฯ ในการประชุมครั้งที่ 1/2558 เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2558 คณะกรรมการพิจารณา เห็นชอบแผนฯ โดยแก้ไขตามข้อเสนอแนะ (5.1-3-NSRU-MR-5 รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำสำนัก ครั้งที่ 1/2558)
            6. คณะกรรมการบริหารสำนัก ได้ทำการทบทวนแผนการจัดการความเสี่ยง โดยเพิ่มเติมประเด็นความเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายนอก ได้แก่
                  ประเด็นความเสี่ยงเรื่อง จำนวนนักศึกษาใหม่ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย สาเหตุ
                        1. การขายายเขตพื้นที่บริการของมหาวิทยาลัยขนาดใหญ่ในพื้นที่มีจำนวนมากขึ้น
                        2. กลุ่มเป้าหมายไม่ทราบข้อมูลเกี่ยวกับการรับสมัคร
                  และนำเสนอให้แก่บุคลากรภายในน่วยงานพิจารณาให้ข้อคิดเห็น ในการประชุมโดยการประชุมกลุ่มย่อย (5.1-3-NSRU-MR-6 ข้อมูล RM1 และ RM2 ฉบับเพิ่มเติม)
            7. หน่วยงานจัดทำบันทึกข้อความที่ /2559 ลงวันที่ 7 กรกฏาคม 2559 เรื่อง ขอเพิ่มเติมปัจจัยเสี่ยงในแผนการจัดการความเสี่ยงระดับสำนัก ประจำปีงบประมาณ 2559 รายงานต่อคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ระดับมหาวิทยาลัย เพื่อทราบ (5.1-3-NSRU-MR-7 บันทึกข้อความขอเพิ่มเติมปัจจัยเสี่ยง)
            8. ดำเนินกิจกรรม/โครงการตามแผนการจัดการความเสี่ยง ของสำนักฯ และรายงานความก้าวหน้าให้ผู้บริหาร และคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงระดับมหาวิทยาลัยทราบผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง (5.1-3-NSRU-MR-8 รายงานผลการจัดการความเสี่ยง รอบ 9 เดือน)
เกณฑ์ประเมินข้อที่ 4. บริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลอย่างครบถ้วนทั้ง 10 ประการที่อธิบายการดำเนินงานอย่างชัดเจน
ผลการดำเนินงาน
            จากพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และสังคมที่ดี พ.ศ. 2546 คณะผู้บริหารสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียนได้นำมาเป็นแนวทางในการบริหารงาน ดังนี้
      1. หลักประสิทธิผล มีการจัดทำแผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติราชการประจำปี มีการกำหนดยุทธศาสตร์และเป้าประสงค์ที่ชัดเจน ส่งผลให้การปฏิบัติงานของหน่วยงานบรรลุผลสำเร็จตามแผน และจัดทำรายงานผลการดำเนินงานตามแผน (5.1-4-NSRU-MR-1 รายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ 2558) โดยแจ้งผลการดำเนินงานให้บุคลากรภายในหน่วยงานได้รับทราบ (5.1-4-NSRU-MR-2 รายงานการประชุมบุคลากรสำนัก ครั้งที่ 2/2558) และเสนอต่อคณะกรรมการประจำสำนักและมีการพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ (5.1-4-NSRU-MR-3 รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำสำนัก ครั้งที่ 1/2559)
      2. หลักประสิทธิภาพ ผู้บริหารกำกับติดตามดูแลการใช้ทรัพยากรในแต่ละด้านให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น การบริหารงบประมาณให้เป็นไปตามแผนที่กำหนด มีการวิเคราะห์การใช้จ่ายงบประมาณเป็นร้อยละ โดยทำการสรุปผลการใช้งบประมาณประจำปี และรายงานให้คณะกรรมการประจำสำนักทราบ (5.1-4-NSRU-MR-2 รายงานการประชุมบุคลากรสำนัก ครั้งที่ 2/2558)
      3. หลักการตอบสนอง มีกระบวนการปฏิบัติงาน และขั้นตอนการทำงาน ผ่านการลดรอบระยะเวลาการให้บริการ เพื่อตอบสนองความต้องการของบุคคลภายนอก และนักศึกษา ให้เกิดความพึงพอใจสูงสุด (5.1-4-NSRU-MR-4 ลดรอบการทำงาน) พัฒนาระบบสนับสนุนการดำเนินงานต่าง ๆ ที่เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้รับบริการ (5.1-4-NSRU-MR-5 ระบบงานที่พัฒนาเพื่อให้บริการนักศึกษา) (5.1-4-NSRU-MR-6 ระบบงานที่พัฒนาเพื่อให้บริการอาจารย์)
      4. หลักภาระรับผิดชอบ ภารกิจหลักของหน่วยงานเป็นการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผู้รับบริการ หลากหลายกลุ่ม การปฏิบัติงาน หรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับบุคคลกลุ่มดังกล่าวจึงจำเป็นต้องปฏิบัติด้วยความระมัดระวัง มีความถูกต้อง เชื่อถือได้ และเป็นไปตามระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย
      5. หลักความโปร่งใส มีการนำเสนอการดำเนินงานของสำนักให้หน่วยงานภายนอกทราบ ผ่านการดำเนินโครงการ สนส. สัญจร (5.1-4-NSRU-MR-7 สรุปผลโครงการ สนส.สัญจร 2559) จัดทำระบบข้อมูลสารสนเทศต่าง ๆ ซึ่งบุคคลภายนอกจะได้ทราบทุกขั้นตอน กระบวนการต่าง ๆ ในการดำเนินงานของสำนัก และสามารถตรวจสอบได้ (5.1-4-NSRU-MR-8 ระบบติดตามคำร้องงานทะเบียน) และจัดทำรายงานผลการดำเนินงานเพื่อเผยแพร่ (5.1-4-NSRU-MR-9 รายงานประจำปี 2558) (5.1-4-NSRU-MR-10 รายงานการศึกษาตนเอง เสนอคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลงานฯ)
      6. หลักการมีส่วนร่วม มีการส่งเสริมให้นักศึกษา คณาจารย์ บุคลากร และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนและให้ข้อเสนอแนะการดำเนินงานของสำนัก ดังนี้
   - มีคณะกรรมการประจำสำนักที่มาจากบุคคลภายนอก (5.1-4-NSRU-MR-11 คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการประจำสำนักฯ)
   - ผู้ใช้บริการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมแสดงทัศนะ ร่วมเสนอปัญหาในการดำเนินงานของสำนัก(5.1-4-NSRU-MR-7 สรุปผลโครงการ สนส.สัญจร 2559) (5.1-4-NSRU-MR-12 รายงานสำรวจความพึงพอใจผู้ใช้บริการ ประจำปี 2558)
   -นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้ที่เข้าร่วมกิจกรรมโครงการต่าง ๆ ที่หน่วยงานจัดขึ้น ได้ร่วมให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการดำเนินโครงการ/กิจกรรมในคราวต่อไป
      7. หลักการกระจายอำนาจ มีการบริหารงานตามกฎกระทรวงว่าด้วยการแบ่งส่วนราชการในมหาวิทยาลัย มีการแต่งตั้งหัวหน้ากลุ่มงานเพื่อดูแลรับผิดชอบภารกิจของกลุ่มงาน (5.1-4-NSRU-MR-13 คำสั่งแต่งตั้งผู้รักษาราชการในตำแหน่งหัวหน้างาน) โดยมีการมอบอำนาจหน้าที่ให้รองผู้อำนวยการกำกับดูแลแต่ละกลุ่มงาน มีการแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจของสำนัก (5.1-4-NSRU-MR-14 คำสั่งแต่งตั้ง/มอบหมายงานต่าง ๆ) เพิ่มการกระจายอำนาจการตัดสินใจ ด้านการให้บริการของหน่วยงานไปยังศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
      8. หลักนิติธรรม ผผู้บริหารปฏิบัติหน้าที่ และขับเคลื่อนงานของหน่วยงานตามกรอบของกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด และผู้บริหาร บุคลากรปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ (5.1-4-NSRU-MR-15 แนวปฏิบัติในการกำกับดูแลองค์กรที่ดี)
      9. หลักความเสมอภาค มีการให้บริการนักศึกษา คณาจารย์ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างเท่าเทียมกัน (5.1-4-NSRU-MR-16 คำสั่งสำนักส่งเสริม เรื่อง การให้บริการนักศึกษาประจำวัน) มีระบบให้บริการทั้งในส่วนของนักศึกษาและคณาจารย์ (5.1-4-NSRU-MR-5 ระบบงานที่พัฒนาเพื่อให้บริการนักศึกษา) (5.1-4-NSRU-MR-6 ระบบงานที่พัฒนาเพื่อให้บริการอาจารย์)
      10. หลักมุ่งเน้นฉันทามติ ในการประชุมสำนักฯ และคณะกรรมการประจำสำนัก ผู้บริหารยึดหลักเคารพมติของเสียงส่วนใหญ่และความคิดเห็นที่แตกต่าง เพื่อให้เกิดฉันทามติและการดำเนินงานของเป็นไปในทิศทางที่เหมาะสม
เกณฑ์ประเมินข้อที่ 5. ค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีจากความรู้ทั้งที่มีอยู่ในตัวบุคคล ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรงและแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ ตามประเด็นความรู้ อย่างน้อยครอบคลุมพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิตและด้านการวิจัย จัดเก็บอย่างเป็นระบบโดยเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรและนำมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง
ผลการดำเนินงาน
            สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มีการดำเนินการและบริหารจัดการความรู้ภายในหน่วยงาน ตามนโยบายการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัย และสนับสนุนการปฎิบัติงานตามภารกิจของสำนักฯ ดังนี้
      1. มีคณะกรรมการจัดการความรู้ (KM Team) ภายในหน่วยงานที่ประกอบด้วยผู้บริหารและบุคลากรตัวแทนจากกลุ่มงานต่าง ๆ
      2. ประชุมบุคลากรสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน เพื่อสำรวจประเด็นการจัดการความรู้ที่บุคลากรต้องการ (5.1-5-NSRU-MR-1 รายงานการประชุมบุคลากร ครั้งที่ 2/2558 ) ซึ่งประเด็นความรู้ที่บุคลากรส่วนใหญ่ให้ความสนใจคือ “กระบวนการรับสมัครนักศึกษา”
      3. หลังจากนั้นหน่วยงานได้จัดประชุมผู้บริหารและหัวหน้ากลุ่มงาน (5.1-5-NSRU-MR-2 รายงานการประชุมผู้บริหารและหัวหน้ากลุ่มงาน ครั้งที่1/2559) เพื่อทำแผนการจัดการความรู้ กำหนดเป้าหมายการจัดการความรู้ โดยจัดกิจกรรม/โครงการเพื่อพัฒนาความรู้ให้แก่กลุ่มเป้าหมายในประเด็นที่ต้องการ รวมทั้งกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างหน่วยงาน (5.1-5-NSRU-MR-3 แผนการจัดการความรู้ ประจำปีงบประมาณ 2559)
      4. หน่วยงานมีการแสวงหาความรู้ โดยการจัดกิจกรรมให้บุคลากรได้เข้าศึกษาดูงานหน่วยงานที่มีความเป็นเลิศ โดดเด่นด้านการรับสมัครนักศึกษา (5.1-5-NSRU-MR-4 โครงการศึกษาดูงาน) และประชุมแลกเปลี่ยนประเด็นปัญหาการดำเนินงานรอบที่ผ่านมา และนำแนวปฏิบัติที่ได้จากการศึกษาดูงานมาปรับใช้กับการดำเนินงานของสำนัก (5.1-5-NSRU-MR-5 รายงานการประชุมบุคลากร ครั้งที่ 1/2559)
      5. หน่วยงานได้นำความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มาปรับปรุงขั้นตอนการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการรับสมัครนักศึกษา ให้มีขั้นตอนลดลง ใช้บุคลากรน้อยลง และพัฒนาโปรแกรมสนับสนุนการรับสมัคร และการรายงานตัวนักศึกษา ให้มีความทันสมัยมีขั้นตอนที่รวดเร็ว ซึ่งเริ่มดำเนินการในการรับสมัครและการรับงานตัวนักศึกษาใหม่ ปีการศึกษา 2559 (5.1-5-NSRU-MR-6 ตัวอย่างระบบการรับสมัคร/รายงานตัวที่ได้มีการปรับปรุง)
      6. นำความรู้และแนวปฏิบัติที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน มาเผยแพร่ผ่านเว็บเพจของหน่วยงาน ประชาสัมพันธ์ผ่านทางเว็บไซต์ facebook สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน (5.1-5-NSRU-MR-7 เว็บเพจการจัดการความรู้ของสำนักฯ)
เกณฑ์ประเมินข้อที่ 6. การกำกับติดตามผลการดำเนินงานตามแผนการบริหารและแผนพัฒนาบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน
ผลการดำเนินงาน
            คณะผู้บริหารได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการบริหาร และพัฒนาคนควบคู่ไปกับการพัฒนางาน โดยมีการกำกับติดตามการดำเนินงานด้านบุคลากร ดังนี้
      1. กำหนดแนวทางในการบริหารทรัพยากรบุคคล โดยเริ่มจากการกำหนดกรอบอัตรากำลังระยะยาว 5 ปี การกำหนดคุณสมบัติตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งงาน ภาระงานและขั้นตอนการปฏิบัติงานในตำแหน่งต่าง ๆ รวมถึงการพัฒนาและสร้างขวัญกำลังใจ และส่งเสริมความก้าวหน้าในสายงาน (5.1-6-NSRU-MR-1 แนวทางการบริหารงานบุคคล)
      2. คณะกรรมการบริหารสำนัก นำแนวทางการบริหารงานบุคคลมาจัดทำเป็นแผนพัฒนาบุคลากรประจำปีงบประมาณ 2559 ซึ่งมีนโยบายส่งเสริมและพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน รวมถึงทักษะชีวิตอื่น ๆ ที่บุคลากรสนใจ โดยจัดกิจกรรม/โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากร ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน (5.1-6-NSRU-MR-2 แผนพัฒนาบุคลากร ปีงบประมาณ 2559)
      3. นำเสนอแผนพัฒนาบุคลากร ประจำปีงบประมาณ 2559 แก่คณะกรรมการประจำสำนัก พิจารณาให้ความเห็นชอบ ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2559 เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2559 (5.1-6-NSRU-MR-3 รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำสำนัก ครั้งที่ 1/2559)
      4. ผู้รับผิดชอบโครงการตามแผนพัฒนาบุคลากร ดำเนินกิจกรรม/โครงการพัฒนาบุคลากร ภายใต้การกำกับดูแล ของคณะกรรมการบริหารสำนักฯ (5.1-5-NSRU-MR-4 รายงานโครงการตามแผนพัฒนาบุคลากร)
      5. คณะผู้บริหารยังส่งเสริมให้บุคลากรเข้ารับการพัฒนาศักยภาพทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน และติดตามผลการเข้าร่วมกิจกรรมโครงการต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ พร้อมทั้งกำหนดให้ผู้เข้าร่วมโครงการพัฒนาบุคลากรจัดทำรายงานผลการเข้าร่วมอบรมหรือกิจกรรม/โครงการทั้งในรูปของแบบรายงานผล และรูปเล่มรายงาน (5.1-6-NSRU-MR-5 รายงานผลการเข้าร่วมอบรม/ดูงาน)
      6. ผู้บริหารสนับสนุนให้นำความรู้ที่ได้มาทำการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบุคลากรภายในหน่วยงาน เพื่อนำแนวปฏิบัติที่ดีมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานต่อไป (5.1-6-NSRU-MR-6 รายงานการประชุมบุคลากร ครั้งที่ 1/2559)
เกณฑ์ประเมินข้อที่ 7. ดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามระบบและกลไกที่เหมาะสมและสอดคล้องกับพันธกิจและพัฒนาการของคณะที่ได้ปรับให้การดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารงานคณะตามปกติที่ประกอบด้วยการควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพ และการประเมินคุณภาพ
ผลการดำเนินงาน
            หน่วยงานมีระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายในที่สอดคล้องกับพันธกิจของสำนักและสอดคล้องกับการควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพ และการประเมินคุณภาพ
      1. ระบบการควบคุมคุณภาพ นำประกาศนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน มาทำการทบทวนและปรับให้สอดคล้องกับการดำเนินงานระดับสำนัก (5.1-7-NSRU-MR-1 นโยบายการประกันคุณภาพสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน) มีคณะกรรมการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของสำนักฯ รับผิดชอบการดำเนินงานตามตัวชี้วัดต่าง ๆ (5.1-7-NSRU-MR-2 คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสำนัก) รวมทั้งแผนการประกันคุณภาพการศึกษา (5.1-7-NSRU-MR-3 แผนการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหน่วยงาน) (5.1-7-NSRU-MR-4 ปฏิทินการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน) (5.1-7-NSRU-MR-5 ระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน)
      2. ระบบการติดตามตรวจสอบคุณภาพ สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน จัดทำโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการการติดตาม ตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายใน โดยจัดทำรายงานการประเมินตนเอง ปีการศึกษา 2558 เสนอต่อคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ การประกันคุณภาพการศึกษา ของมหาวิทยาลัยให้ข้อเสนอแนะในการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา (5.1-7-NSRU-MR-6 โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสำนัก)
      3. ระบบการประเมินคุณภาพ มีคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับสำนักและสถาบันประจำปีการศึกษา 2558 (5.1-7-NSRU-MR-7 คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินคุณภาพฯ) เพื่อสรุปผลการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของสำนัก และเตรียมความพร้อมในการรับการประเมินจากหน่วยงานภายนอก และมีการนำผลการประกันคุณภาพการศึกษามาจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพของสำนัก (5.1-7-NSRU-MR-8 แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2558) เพื่อปรับปรุงการทำงาน และพัฒนาผลการดำเนินงานของสำนัก

ผลการประเมินปีที่ผ่านมา
ลำดับตัวบ่งชี้
ผลการดำเนินงานคะแนนอิงเกณฑ์การประเมินตัวบ่งชี้  สกอ.
ตัวบ่งชี้ที่ 5.1
เป้าหมายที่กำหนด
ผลของเป้าหมายที่ได้
การบรรลุเป้าหมาย
ค่าคะแนนที่ได้
6 ข้อ
6 ข้อ
บรรลุเป้าหมาย
4 คะแนน

ผลการประเมินตนเองปีนี้
ลำดับตัวบ่งชี้
ผลการดำเนินงานคะแนนอิงเกณฑ์การประเมินตัวบ่งชี้  สกอ.
ตัวบ่งชี้ที่ 5.1
เป้าหมายที่กำหนด
ผลของเป้าหมายที่ได้
การบรรลุเป้าหมาย
ค่าคะแนนที่ได้
5 ข้อ
6 ข้อ
บรรลุเป้าหมาย
5 คะแนน

ผลการประเมินของคณะกรรมการปีนี้  
ลำดับตัวบ่งชี้
ผลการดำเนินงานคะแนนอิงเกณฑ์การประเมินตัวบ่งชี้  สกอ.
ตัวบ่งชี้ที่ 5.1
เป้าหมายที่กำหนด
ผลของเป้าหมายที่ได้
การบรรลุเป้าหมาย
ค่าคะแนนที่ได้
5 ข้อ
6 ข้อ
บรรลุเป้าหมาย
5 คะแนน

จุดแข็ง
  • มีการวางนโยบาย และแนวทางในการปฏิบัติงานอย่างชัดเจน เป็นรูปธรรม
  • เปิดโอกาสให้บุคลากรเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทาง และวางแผนการดำเนินงาน
  • มีการมอบหมายงานตรงกับความสามารถของบุคลากร และส่งเสริมให้มีการดำเนินงานเป็นทีม
จุดอ่อน
  • ไม่มี
ข้อเสนอแนะ
  • ควรมีการกำกับติดตามการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรมและมีความต่อเนื่อง
  • เพิ่มเติมความรู้ความเข้าใจด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในแก่บุคลากรภายในหน่วยงานทุกคน ให้เกิดความเข้าใจในการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในที่ถูกต้อง