|
เกณฑ์ประเมินข้อที่ 1.
|
พัฒนาแผนกลยุทธ์จากผลการวิเคราะห์ SWOT โดยเชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์และสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของสำนัก สถาบัน รวมทั้งสอดคล้องกับกลุ่มสถาบันและเอกลักษณ์ของหน่วยงาน และพัฒนาไปสู่แผนกลยุทธ์ทางการเงินและแผนปฏิบัติการประจำปีตามกรอบเวลาเพื่อให้บรรลุตามตัวบ่งชี้และเป้าหมายของแผนกลยุทธ์และเสนอผู้บริหารระดับสถาบันเพื่อพิจารณาอนุมัติ
|
ผลการดำเนินงาน
สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน ดำเนินทบทวนแผนยุทธศาสตร์ 5 ปี พ.ศ. 2560-2564 (ปรับปรุง 2561) โดยจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ “การทบทวนแผนยุทธศาสตร์และจัดทำแผนปฏิบัติราชการ” เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2560 ณ ห้องประชุม 14808 เพื่อรวบรวมข้อมูลสำคัญ ที่จำเป็นประกอบการจัดทำแผนกลยุทธ์ระดับต่าง ๆ ได้แก่วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน-ภายนอกของหน่วยงาน การทบทวนวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าประสงค์การดำเนินงานของหน่วยงาน ร่วมกับวิสัยทัศน์ นโยบาย ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย และพัฒนาไปสู่การจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี แผนกลยุทธ์ทางการเงิน เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานให้บรรลุเป้าประสงค์ และตัวชี้วัดของหน่วยงาน ร่วมทั้งสนับสนุนการดำเนินงานในระดับมหาวิทยาลัยให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยมีกระบวนการดำเนินการ ดังนี้
1. รวบรวมข้อมูลพื้นฐาน เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการทบทวนการดำเนินงาน อันได้แก่ วิสัยทัศน์, พันธกิจของมหาวิทยาลัยและของหน่วยงาน, นโยบายการบริหารงานและจุดเน้นจากสภามหาวิทยาลัย, ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในของหน่วยงาน, ผลการติดตามตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานจากคณะกรรมการภายนอกที่ได้รับการแต่งตั้งจากสภามหาวิทยาลัย, ผลการดำเนินงานของหน่วยงานจากปีที่ผ่านมา, ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บริการของหน่วยงาน
2. ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการทบทวนแผนยุทธศาสตร์ และแผนปฏิบัติราชการประจำปี สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน ประจำปีงบประมาณ 2560 เพื่อกำหนดนโยบาย กรอบแนวทางการดำเนินงานในการทบทวนแผนกลยุทธ์ต่างๆ จากข้อมูลพื้นฐานตามข้อ 1 ให้มีความเชื่อมโยง / สอดคล้องกับลักษณะการดำเนินงานของสำนักฯ และสนับสนุนการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย
3. จัดประชุมคณะกรรมการฯ ร่วมกันวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน-ภายนอก เพื่อให้ทราบถึงสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป และส่งผลกระทบต่อหน่วยงาน พร้อมทั้งศึกษาถึงสถานการณ์ที่เกิดจากการประเมินสภาพแวดล้อม โดย SWOT ที่ได้จากการวิเคราะห์มีรายละเอียด ดังนี้
SO (จุดแข็งและโอกาส) |
+บุคลากรส่วนใหญ่มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์สิ่งใหม่อย่างต่อเนื่อง |
0.6 |
+หน่วยงานภายนอกมีการประชุม อบรม เพื่อพัฒนางานที่ทำอยู่อย่างต่อเนื่อง |
0.9 |
+ระบบการบริหารงานเน้นการมีส่วนร่วมของบุคลากร และกระจายอำนาจในการบริหารงาน |
0.4 |
+มีแหล่งทรัพยากรและเทคโนโลยีสารสนเทศสนับสนุนการเรียนรู้ภายนอกมากขึ้น |
0.8 |
+กำหนดภาระงานและความรับผิดชอบแก่ผู้ปฏิบัติอย่างชัดเจน |
0.2 |
+แต่ละหน่วยงานมีอิสระในการบริหารงานภายใต้นโยบายของมหาวิทยาลัย |
0.6 |
+มีเครื่องมือ/ทรัพยากร/เทคโนโลยีสนับสนุนการปฏิบัติงานที่ทันสมัย |
0.3 |
+ช่องทางการให้บริการจากหน่วยงานภายนอกมีความหลากหลาย |
0.6 |
+บุคลากรส่วนใหญ่มีความขยัน อดทน และทำงานหนัก |
0.3 |
+การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีส่งผลต่อการพัฒนา |
0.4 |
+มีการพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ และระบบงานให้บริการมีความทันสมัย สอดคล้องกับระเบียบ ประกาศของมหาวิทยาลัย |
0.8 |
|
|
+มีช่องทางการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าว สารระหว่างหน่วยงานและผู้รับบริการหลายช่องทาง |
0.4 |
|
|
รวม=3.0 เฉลี่ย=0.43 |
รวม=3.3 เฉลี่ย=0.66 |
ST (จุดแข็งและภัยคุกคาม) |
+บุคลากรส่วนใหญ่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง |
0.6 |
+การแข่งขันที่เพิ่มขึ้นจากสถาบันการศึกษาทั้งในพื้นที่บริการและนอกพื้นที่บริการ |
0.6 |
+ระบบการบริหารงานเน้นการมีส่วนร่วมของบุคลากร และกระจายอำนาจในการบริหารงาน |
0.4 |
+ทัศนคติ มุมมองสังคมภายนอกที่มีต่อบัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏในเชิงลบ |
0.3 |
+กำหนดภาระงานและความรับผิดชอบแก่ผู้ปฏิบัติอย่างชัดเจน |
0.4 |
+นโยบายและการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริหารงานของรัฐบาล |
0.3 |
+มีเครื่องมือ/ทรัพยากร/เทคโนโลยีสนับสนุนการปฏิบัติงานที่ทันสมัย |
0.3 |
+การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร ส่งผลให้ประชากรวัยเรียนลดลง |
0.8 |
+บุคลากรส่วนใหญ่มีความขยัน อดทน และทำงานหนัก |
0.3 |
+กฎ ระเบียบ ข้อบังคับของมหาวิทยาลัย มีการเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง และไม่เอื้อต่อการปฏิบัติงาน |
0.4 |
+มีการพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ และระบบงานให้บริการมีความทันสมัย สอดคล้องกับระเบียบ ประกาศของมหาวิทยาลัย |
0.8 |
+การเปลี่ยนแปลงระบบรับสมัครนักศึกษาใหม่จากเดิม เป็นระบบ TCAS ของ ทปอ. |
0.4 |
+มีช่องทางการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าว สารระหว่างหน่วยงานและผู้รับบริการหลายช่องทาง |
0.4 |
|
|
รวม 3.0 เฉลี่ย=0.43 |
รวม 3.0 เฉลี่ย=0.50 |
WO (จุดอ่อนและโอกาส) |
+ขาดการประชาสัมพันธ์เชิงรุก ในงานบางประเภทอย่างทั่วถึง เช่น ประกาศด้านวิชาการ ระบบการให้บริการ การใช้งานสารสนเทศเป็นต้น |
0.8 |
+หน่วยงานภายนอกมีการประชุม อบรม ให้ความรู้ในทักษะที่สามารถพัฒนางานที่ปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง |
0.9 |
+การสื่อสารระหว่างหน่วยงานภายในไม่มีประสิทธิภาพ |
0.3 |
+มีแหล่งทรัพยากรและเทคโนโลยีสารสนเทศสนับสนุนการเรียนรู้ภายนอกมากขึ้น |
0.8 |
+พื้นที่ให้บริการ สภาพภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมภายในไม่เอื้อต่อการให้บริการ |
0.3 |
+แต่ละหน่วยงานมีอิสระในการบริหารงานภายใต้นโยบายของมหาวิทยาลัย |
0.6 |
+งบประมาณสนับสนุนการพัฒนาระบบการให้บริการไม่เพียงพอต่อความต้องการ |
0.4 |
+ช่องทางการให้บริการจากหน่วยงานภายนอกมีความหลากหลาย |
0.6 |
+กระบวนการ ขั้นตอนการทำงานตามระเบียบ ข้อบังคับ มีความซับซ้อน และใช้เวลาในการดำเนินงานมาก |
0.6 |
+การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีส่งผลต่อการพัฒนา |
0.4 |
+บุคลากรขาดทักษะด้านภาษาต่างประเทศ |
0.3 |
|
|
+บุคลากรด้านสารสนเทศไม่เพียงพอต่อการพัฒนาระบบงาน |
0.3 |
|
|
+ระบบการจัดเก็บเอกสารสำคัญ ยังไม่เป็นระบบ สืบค้นยาก และสูญหาย |
0.2 |
|
|
รวม 3.2 เฉลี่ย=0.40 |
รวม=3.3 เฉลี่ย=0.66 |
WT (จุดอ่อนและภัยคุกคาม) |
+ขาดการประชาสัมพันธ์เชิงรุก ในงานบางประเภท อย่างทั่วถึง เช่น ประกาศด้านวิชาการ ระบบการให้บริการ การใช้งานสารสนเทศเป็นต้น |
0.8 |
+การแข่งขันที่เพิ่มขึ้นจากสถาบันการศึกษาทั้งในพื้นที่บริการและนอกพื้นที่บริการ |
0.6 |
+การสื่อสารระหว่างหน่วยงานภายในไม่มีประสิทธิภาพ |
0.3 |
+ทัศนคติ มุมมองสังคมภายนอกที่มีต่อบัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏในเชิงลบ |
0.3 |
+พื้นที่ให้บริการ สภาพภูมิทัศน์ภายในไม่เอื้อต่อการให้บริการ |
0.3 |
+นโยบายและการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริหารงานของรัฐบาล |
0.3 |
+งบประมาณสนับสนุนการพัฒนาระบบการให้บริการไม่เพียงพอต่อความต้องการ |
0.4 |
+การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร ส่งผลให้ประชากรวัยเรียนลดลง |
0.8 |
+กระบวนการ ขั้นตอนการทำงานตามระเบียบ ข้อบังคับ มีความซับซ้อน และใช้เวลาในการดำเนินงานมาก |
0.6 |
+กฎ ระเบียบ ข้อบังคับของมหาวิทยาลัย มีการเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง และไม่เอื้อต่อการปฏิบัติงาน ของหน่วยงานให้บรรลุเป้าหมาย |
0.4 |
+บุคลากรขาดทักษะด้านภาษาต่างประเทศ |
0.3 |
+การเปลี่ยนแปลงระบบรับสมัครนักศึกษาใหม่จากเดิม เป็นระบบ TCAS ของ ทปอ. |
0.4 |
+บุคลากรด้านสารสนเทศไม่เพียงพอต่อการพัฒนาระบบงาน |
0.3 |
|
|
+ระบบการจัดเก็บเอกสารสำคัญ ยังไม่เป็นระบบ สืบค้นยาก และสูญหาย |
0.2 |
|
|
รวม 3.2 เฉลี่ย=0.40 |
รวม 3.0 เฉลี่ย=0.50 |
4. จากการวิเคราะห์ SWOT เพื่อใช้ในการกำหนดยุทธศาสตร์ของหน่วยงานนั้น คณะกรรมการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ได้เลือกใช้ผลการวิเคราะห์ เพื่อนำเสนอกลยุทธ์ประกอบการกำหนดยุทธศาสตร์ของหน่วยงานจากผลการวิเคราะห์ ดังนี้
ตารางที่ 1 การวิเคราะห์ตาม TOWS Matrix ในด้าน WT
ยุทธศาสตร์เชิงรับ (WT) |
W จุดอ่อนภายในองค์กร |
T อุปสรรคภายนอก |
1. ขาดการประชาสัมพันธ์เชิงรุก ในงานบางประเภท เช่น ประกาศด้านวิชาการ ระบบการให้บริการ การใช้งานสารสนเทศ เป็นต้น
2. การสื่อสารระหว่างหน่วยงานภายในไม่มีประสิทธิภาพ
3. พื้นที่ให้บริการและสภาพแวดล้อมภายในไม่เอื้อต่อการให้บริการ
4. งบประมาณสนับสนุนการพัฒนาระบบการให้บริการไม่เพียงพอต่อความต้องการ
5. กระบวนการ ขั้นตอนการทำงานตามระเบียบ ข้อบังคับ มีความซับซ้อน และใช้เวลาในการดำเนินงานมาก
6. บุคลากรขาดทักษะด้านภาษาต่างประเทศ
7. บุคลากรด้านสารสนเทศไม่เพียงพอต่อการพัฒนาระบบงาน
8. ระบบการจัดเก็บเอกสารสำคัญ ยังไม่เป็นระบบ สืบค้นยาก และสูญหาย
|
1. การแข่งขันที่เพิ่มขึ้นจากสถาบันการศึกษาทั้งในพื้นที่บริการและนอกพื้นที่บริการ
2. ทัศนคติ มุมมองสังคมภายนอกที่มีต่อบัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏในเชิงลบ
3. นโยบายและการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริหารงานของรัฐบาล
4. การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร ส่งผลให้ประชากรวัยเรียนลดลง
5. กฎ ระเบียบ ข้อบังคับของมหาวิทยาลัย มีการเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง และไม่เอื้อต่อการปฏิบัติงาน ของหน่วยงานให้บรรลุเป้าหมายในสถานการณ์ปัจจุบัน เช่น แนวปฏิบัติในการขอลงทะเบียนเรียนย้อนหลัง แนวปฏิบัติเรื่องการเงินและงบประมาณ การบริหารงานพัสดุ ประกาศระเบียบการบริหารงานบุคคล
6. การเปลี่ยนแปลงระบบรับสมัครนักศึกษาใหม่จากเดิม เป็นระบบ TCAS ของ ทปอ.
|
ยุทธศาสตร์เชิงรับ (WT) |
กลยุทธ์ที่เสนอ
1. สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยให้เข้มแข็ง
2. เร่งพัฒนาช่องทางการติดต่อสื่อสารระหว่างหน่วยงาน/มหาวิทยาลัย กับชุมชนและท้องถิ่น
3. ปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงานของบุคลากรให้มีความคล่องตัว ลดระยะเวลาการปฏิบัติ
4. ปรับปรุงระบบบริหารจัดการภายในหน่วยงานให้มีสภาพคล่องตัว ทันต่อการเปลี่ยนแปลง
5. ลดความสิ้นเปลืองของการใช้ทรัพยากรโดยนำเทคโนโลยีมาใช้สนับสนุนการปฏิบัติงาน (ดำเนินงานโดยมุ่งเน้นให้เกิดประสิทธิผลอย่างเป็นรูปธรรม/ ลดเวลาและขั้นตอนในการปฏิบัติงาน)
6. เพิ่มศักยภาพของบุคลากรให้มีความสามารถที่หลากหลาย ให้สามารถปฏิบัติงานทดแทนกันได้
7. สร้างวัฒนธรรม 5ส ภายในหน่วยงาน
8. มีคู่มือการจัดเก็บเอกสาร หรือจัดหา/สร้างระบบจัดเก็บเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
|
ตารางที่ 2 การวิเคราะห์ตาม TOWS Matrix ในด้าน WO
ยุทธศาสตร์เชิงพัฒนา (WO) |
W จุดอ่อนภายในองค์กร |
O โอกาสภายนอก |
1. ขาดการประชาสัมพันธ์เชิงรุก ในงานบางประเภทอย่างทั่วถึง เช่น ประกาศด้านวิชาการ ระบบการให้บริการ การใช้งานสารสนเทศ เป็นต้น
2. การสื่อสารระหว่างหน่วยงานภายในไม่มีประสิทธิภาพ
3. พื้นที่ให้บริการ สภาพภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมภายในไม่เอื้อต่อการให้บริการ
4. งบประมาณสนับสนุนการพัฒนาระบบการให้บริการไม่เพียงพอต่อความต้องการ
5. กระบวนการ ขั้นตอนการทำงานตามระเบียบ ข้อบังคับ มีความซับซ้อน และใช้เวลาในการดำเนินงานมาก
6. บุคลากรขาดทักษะด้านภาษาต่างประเทศ
7. บุคลากรด้านสารสนเทศไม่เพียงพอต่อการพัฒนาระบบงาน
8. ระบบการจัดเก็บเอกสารสำคัญ ยังไม่เป็นระบบ สืบค้นยาก และสูญหาย
|
1. หน่วยงานภายนอกมีการประชุม อบรม ให้ความรู้ในทักษะที่สามารถพัฒนางานที่ปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
2. มีแหล่งทรัพยากรและเทคโนโลยีสารสนเทศสนับสนุนการเรียนรู้ภายนอกมากขึ้น
3. แต่ละหน่วยงานมีอิสระในการบริหารงานภายใต้นโยบายของมหาวิทยาลัย
4. ช่องทางการให้บริการจากหน่วยงานภายนอกมีความหลากหลาย
5. การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีส่งผลที่ดีต่อการพัฒนางาน
|
ยุทธศาสตร์เชิงพัฒนา (WO) |
กลยุทธ์ที่เสนอ
1. สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยให้เข้มแข็ง
2. พัฒนาช่องทางการติดต่อสื่อสารระหว่างหน่วยงาน/มหาวิทยาลัย กับชุมชนและท้องถิ่น
3. สร้างค่านิยมในการพัฒนาตนเอง และส่งเสริมให้บุคลากรปฏิบัติงานอย่างมีเป้าหมาย
4. สร้างวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ภายในองค์กร
5. ส่งเสริมการเรียนรู้ของบุคลากร ทั้งสมรรถนะหลักและสมรรถนะประจำสายงาน
6. มีคู่มือการจัดเก็บเอกสาร หรือจัดหา/สร้างระบบจัดเก็บเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
|
ตารางที่ 3 การวิเคราะห์ตาม TOWS Matrix ในด้าน ST
ยุทธศาสตร์เชิงป้องกัน (ST) |
S จุดแข็งภายในองค์กร |
T อุปสรรคภายนอก |
1. บุคลากรส่วนใหญ่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง
2. ระบบการบริหารงานเน้นการมีส่วนร่วมของบุคลากร และกระจายอำนาจในการบริหารงาน
3. กำหนดภาระงานและความรับผิดชอบแก่ผู้ปฏิบัติอย่างชัดเจน
4. มีเครื่องมือ/ทรัพยากร/เทคโนโลยีสนับสนุนการปฏิบัติงานที่ทันสมัย
5. บุคลากรส่วนใหญ่มีความขยัน อดทน และทำงานหนัก
6. มีการพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ และระบบงานให้บริการมีความทันสมัย สอดคล้องกับระเบียบ ประกาศของมหาวิทยาลัย
7. มีช่องทางการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารระหว่างหน่วยงานและผู้รับบริการหลายช่องทาง
|
1. การแข่งขันที่เพิ่มขึ้นจากสถาบันการศึกษาทั้งในพื้นที่บริการและนอกพื้นที่บริการ
2. ทัศนคติ มุมมองสังคมภายนอกที่มีต่อบัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏในเชิงลบ
3. นโยบายและการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริหารงานของรัฐบาล
4. การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร ส่งผลให้ประชากรวัยเรียนลดลง
5. กฎ ระเบียบ ข้อบังคับของมหาวิทยาลัย มีการเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง และไม่เอื้อต่อการปฏิบัติงาน ของหน่วยงานให้บรรลุเป้าหมาย
6. การเปลี่ยนแปลงระบบรับสมัครนักศึกษาใหม่จากเดิม เป็นระบบ TCAS ของ ทปอ.
|
ยุทธศาสตร์เชิงป้องกัน (ST) |
กลยุทธ์ที่เสนอ
1. เร่งพัฒนาช่องทางการติดต่อสื่อสารระหว่างหน่วยงาน/มหาวิทยาลัย กับชุมชนและท้องถิ่น
2. นำระบบสารสนเทศที่มีอยู่ มาใช้งานอย่างเต็มประสิทธิภาพ (เช่น ช่องทางการสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ ระบบสนับสนุนการปฏิบัติงานต่าง ๆ Application เป็นต้น)
3. พัฒนารูปแบบการให้บริการให้มีความทันสมัย รองรับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และสังคม รวมถึงวิถีชีวิตของผู้รับบริการ
4. สร้างทัศนคติที่ดีในการให้บริการ แก่บุคลากรภายในหน่วยงาน
5. สร้างองค์ความรู้ในการพัฒนางานจากการจัดการความรู้ภายในองค์กร
|
ตารางที่ 4 การวิเคราะห์ตาม TOWS Matrix ในด้าน SO
ยุทธศาสตร์เชิงรุก (SO) |
S จุดแข็งภายในองค์กร |
O โอกาสภายนอก |
1. บุคลากรส่วนใหญ่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง
2. ระบบการบริหารงานเน้นการมีส่วนร่วมของบุคลากร และกระจายอำนาจในการบริหารงาน
3. กำหนดภาระงานและความรับผิดชอบแก่ผู้ปฏิบัติอย่างชัดเจน
4. มีเครื่องมือ/ทรัพยากร/เทคโนโลยีสนับสนุนการปฏิบัติงานที่ทันสมัย
5. บุคลากรส่วนใหญ่มีความขยัน อดทน และทำงานหนัก
6. มีการพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ และระบบงานให้บริการมีความทันสมัย สอดคล้องกับระเบียบ ประกาศของมหาวิทยาลัย
7. มีช่องทางการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารระหว่างหน่วยงานและผู้รับบริการหลายช่องทาง
|
1. หน่วยงานภายนอกมีการประชุม อบรม ให้ความรู้ในทักษะที่สามารถพัฒนางานที่ปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
2. มีแหล่งทรัพยากรและเทคโนโลยีสารสนเทศสนับสนุนการเรียนรู้ภายนอกมากขึ้น
3. แต่ละหน่วยงานมีอิสระในการบริหารงานภายใต้นโยบายของมหาวิทยาลัย
4. ช่องทางการให้บริการจากหน่วยงานภายนอกมีความหลากหลาย
5. การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีส่งผลต่อการพัฒนา
|
ยุทธศาสตร์เชิงรุก (SO) |
กลยุทธ์ที่เสนอ
1. พัฒนากระบวนการปฏิบัติงาน โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาสนับสนุนการดำเนินงานในทุกขั้นตอน
2. พัฒนาระบบงานและช่องทางการให้บริการที่มีความหลากหลาย ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและสนองความต้องการของผู้รับบริการ
3. พัฒนาระบบสนับสนุนการปฏิบัติงานที่ทันสมัย เข้าถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
4. ส่งเสริมการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรในทักษะที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน
|
จากการวิเคราะห์ SWOT และการจัดทำ TOWS Matrix นำไปสู่การกำหนดยุทธศาสตร์ และกลยุทธ์ของหน่วยงานในการดำเนินงาน ดังนี้
ประเด็นยุทธศาสตร์ ที่ 1 ส่งเสริมการจัดการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษา
เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์
1. เพื่อส่งเสริมการหลักสูตรการศึกษาของมหาวิทยาลัย ให้มีการดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
2. เพื่อพัฒนาห้องเรียนในความรับผิดชอบให้เป็นห้องเรียนมาตรฐาน
3. เพื่อพัฒนาอาจารย์ผู้สอนให้มีสมรรถนะที่สอดคล้องกับนโยบายการจัดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย
กลยุทธ์
1. ส่งเสริมการพัฒนา/ปรับปรุงหลักสูตร ให้มีการดำเนินงานเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
2. สร้างโอกาสทางการศึกษา ให้แก่นักเรียน นักศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างทั่วถึง
3. สนับสนุนการจัดการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน
4. พัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอน และการฝึกประสบการณ์วิชาชีพที่ได้มาตรฐาน
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 ส่งเสริมการพัฒนางานบริการของหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพ
เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์
1. ระบบให้บริการมีความถูกต้อง รวดเร็ว สร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
2. มีพัฒนาระบบสารสนเทศสนับสนุนงานด้านวิชาการ งานทะเบียนและประมวลผลให้มีความทันสมัย ข้อมูลถูกต้อง เชื่อถือได้
3. เพื่อสร้างมาตรฐานการให้บริการตามพันธกิจของหน่วยงาน
กลยุทธ์
1. พัฒนาหน่วยงานให้เป็น Smart Organization
2. พัฒนาการให้บริการที่เป็นเลิศ
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริมการบริหารจัดการที่ได้มาตรฐานและเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์
1. เพื่อให้การบริหารหน่วยงานเป็นไปด้วยความโปร่งใส ตามหลักธรรมาภิบาล
2. เพื่อพัฒนาและเตรียมความพร้อมของบุคลากรให้สอดคล้องกับนโยบาย Thailand 4.0 สู่การเป็น Smart Organization
3. เพื่อพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในของหน่วยงานให้มีมาตรฐาน ตามเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน
4. เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศสนับสนุนการปฏิบัติงานของบุคลากร
กลยุทธ์
1. บริหารจัดการเชิงรุกอย่างมีธรรมาภิบาล
2. ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรเพื่อการพัฒนาสมรรถนะหลักและทักษะอื่นที่สนใจให้สูงขึ้น
3. สร้างความเชื่อมั่นในการประกันคุณภาพของหน่วยงาน
4. ส่งเสริมการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการปฏิบัติงาน
5. เมื่อได้แผนยุทธศาสตร์ 5 ปี พ.ศ. 2560-2564 (ปรับปรุง 2561) หน่วยงานได้แปลงแผนยุทธศาสตร์ ไปสู่การจัดทำแผนปฏิบัติการด้านต่าง ๆ ดังนี้
5.1 แผนยุทธศาสตร์กับการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปี คณะกรรมการฯ ทำการแปลงแผนยุทธศาสตร์ 5 ปี มาจัดทำเป็นแผนปฏิบัติราชการประจำปี โดยนำเป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ มาตรการ และตัวชี้วัดมาเป็นข้อมูลตั้งต้น โดยกำหนดกิจกรรม/โครงการ และงบประมาณ ในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้บรรลุตามตัวชี้วัดและเป้าประสงค์นั้นพร้อมทั้งกำหนดผู้รับผิดชอบการดำเนินงาน การคัดเลือกกิจกรรม/โครงการใด ๆ ลงในแผนงานแต่ละปีนั้น คณะผู้บริหาร และบุคลากรได้ร่วมกันพิจารณาถึงนโยบายด้านการบริหารงานของคณะผู้บริหาร ร่วมกับความจำเป็น ในการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ตามสถานการณ์แวดล้อมในปัจจุบัน
5.2 แผนยุทธศาสตร์กับการจัดทำแผนกลยุทธ์ทางการเงิน ดำเนินการ ดังนี้
5.2.1 หน่วยงานกำหนดแนวทางในการดำเนินงานด้านงบประมาณ โดยพิจารณาจากทิศทางของยุทธศาสตร์ของหน่วยงาน
5.2.2 วิเคราะห์ทิศทางการปรับตัวของหน่วยงาน และมหาวิทยาลัยตามสถานการณ์ปัจจุบันตลอดจนความสามารถในการแข่งขัน ที่ได้จากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน-ภายนอก (SWOT) ภายใต้แนวทางการบริหารงาน ด้วยหลักของความประหยัด คุ้มค่า โปร่งใสตรวจสอบได้ มุ่งเน้นผลงานที่มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
5.2.3 ประชุมคณะกรรมการบริหารหน่วยงาน (ประชุมย่อย แบบไม่เป็นทางการ) เพื่อกำหนดสัดส่วนงบประมาณภาพรวม ที่ใช้ในการสนับสนุนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ของหน่วยงานอย่างครบถ้วน และบรรลุตามเป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ที่ตั้งไว้
5.2.4 จัดทำคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี โดยนำรายละเอียดกิจกรรม/โครงการที่กำหนดไว้ตามแผนยุทธศาสตร์ มาจัดทำแผนงบประมาณเสนอต่อคณะอนุกรรมการ ด้านงบประมาณ ระดับมหาวิทยาลัย
6. เสนอแผนยุทธศาสตร์ 5 ปี พ.ศ. 2560-2564 (ปรับปรุง 2561) แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ 2561 แผนกลยุทธ์ทางการเงิน ปีงบประมาณ 2561 แก่คณะกรรมการบริหารสำนักฯ เพื่อตรวจทานความถูกต้อง เหมาสม ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2561 เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2561 และเสนอต่อคณะกรรมการประจำสำนัก พิจารณาให้ความเห็นชอบ ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2561 เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2561 และเสนอต่อมหาวิทยาลัยเพื่อขออนุมัติแผน ตามบันทึกข้อความที่ 012/2561 ลงวันที่ 12 มกราคม 2561 (หมายเหตุ หน่วยงานเสนอพิจารณาอนุมัติแผนมีความล่าช้ากว่ากำหนด เนื่องจากต้องปรับเปลี่ยนและรับมอบตัวชี้วัดเพิ่มเติมจากการทบทวนแผนยุทธศาสตร์ และแผนปฏิบัติการ ระดับมหาวิทยาลัย)
7. เมื่อได้รับการอนุมัติแผนฯ ผู้บริหารมีการกำกับติดตามให้การดำเนินงานเป็นไปตามที่กำหนด ผ่านช่องทางต่าง ๆ ดังนี้
7.1 ติดตามผลการใช้งบประมาณ จากรายงานการเบิกจ่ายงบประมาณ รอบ 6 เดือน 9 เดือน และ 12 เดือน นอกจากนี้ ผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติงานสามารถติดตามความเคลื่อนไหวการใช้งบประมาณได้ทุกเวลา ผ่านระบบบัญชี 3 มิติ
7.2 รายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการ ณ สิ้นปีงบประมาณ
7.3 ติดตามผลการปฏิบัติงาน จากการสอบถามแบบเป็นทางการในรูปของการประชุมบุคลากร และแบบไม่เป็นทางการ เช่นการประชุมกลุ่มย่อย และรายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี เพื่อติดตามการดำเนินงาน รับทราบปัญหาและร่วมกันหาแนวทางแก้ไขในกรณีที่เกิดปัญหา
7.4 มีการติดตามการเบิกจ่ายงบประมาณจากหน่วยงานภายนอกเป็นประจำทุกปี เช่น หน่วยงานตรวจสอบภายใน หรือสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
7.5 มีการติดตามการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี โดยคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ที่แต่งตั้งโดยสภามหาวิทยาลัย
เอกสารอ้างอิง
1. แผนยุทธศาสตร์ 5 ปี พ.ศ. 2560-2564 (ปรับปรุง 2561)
2. คำสั่งสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน ที่ 022/2560 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการทบทวนแผนยุทธศาสตร์ และแผนปฏิบัติราชการประจำปี
3. แผนกลยุทธ์ทางการเงิน ปีงบประมาณ 2560-2564
4. แผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ 2561
5. แผนกลยุทธ์ทางการเงิน ปีงบประมาณ 2561
6. รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักฯ/หัวหน้ากลุ่มงาน ครั้งที่ 1/2561
7. รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำสำนัก ครั้งที่ 1/2561
8. บันทึกข้อความขออนุมัติแผนฯ ต่อมหาวิทยาลัย
9. รายงานการเบิกจ่ายงบประมาณ ปีงบประมาณ 2560 รอบ 12 เดือน
10. รายงานการเบิกจ่ายงบประมาณ ปีงบประมาณ 2561 รอบ 6 เดือน
11. รายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการ ปีงบประมาณ 2560
|
|
เกณฑ์ประเมินข้อที่ 3.
|
ดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยงที่เป็นผลจากการวิเคราะห์ และปัจจัยเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากปัจจัยภายนอก หรือปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามพันธกิจของสำนักฯ และให้ระดับความเสี่ยงลดลงจากเดิม
|
ผลการดำเนินงาน
หน่วยงานมีแนวทางการจัดการความเสี่ยง ตามนโยบายของมหาวิทยาลัย โดยใช้กระบวนการจัดการความเสี่ยงและควบคุมภายในตามแบบ COSO-ERM โดยดำเนินการ ดังนี้
1. ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายในระดับหน่วยงาน เพื่อดำเนินงานและติดตามการผลการการจัดการความเสี่ยงภายในหน่วยงาน ประกอบด้วยผู้บริหาร และหัวหน้ากลุ่มงาน และผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง
2. คณะกรรมการฯ สำรวจปัจจัยที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อการดำเนินงานของหน่วยงาน และมหาวิทยาลัย โดยเก็บข้อมูลจากบุคลากรทุกกลุ่มงานภายในหน่วยงาน ตามแบบฟอร์ม RM 1
3. คณะกรรมการฯ รวบรวมข้อมูลที่ได้ ตามแบบฟอร์ม RM1 มาทำการคัดกรองแยกเรื่องที่มีลักษณะเป็นปัญหากับเรื่องที่มีลักษณะเป็นปัจจัยเสี่ยง โดยมีเหตุความเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายนอก ได้แก่
ความเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายนอก ได้แก่ จำนวนนักศึกษาลดลง ไม่เป็นไปตามแผนการรับ เนื่องมาจาก การเปลี่ยนแปลงการรับสมัครนักศึกษาใหม่ โดยใช้ระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา (Thai university Center Admission: TCAS)
4. คณะกรรมการ นำข้อมูลที่ได้มาจัดทำแผนการจัดการความเสี่ยง เพื่อกำหนดแนวทางรับมือกับปัจจัยเสี่ยงนั้น และเสนอคณะกรรมการเพื่อพิจารณาอนุมัติ ในคราวประชุมครั้งที่ 2/2560
5. ดำเนินกิจกรรม/โครงการตามแนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ได้กำหนดไว้ในคำขอตั้งงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ 2561 มีรายละเอียดโครงการ ดังนี้
โครงการส่งเสริมการผลิตบัณฑิตภาคปกติ
กิจกรรมย่อย ประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยสู่โรงเรียน (ประชุมอาจารย์แนะแนว) เพื่อประชาสัมพันธ์หลักสูตรของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ และชี้แจงรายละเอียดการดำเนินการรับนักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ผ่านผู้บริหาร อาจารย์แนะแนวจากโรงเรียนต่าง ๆ และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการรับนักศึกษา
กิจกรรมย่อย การประชาสัมพันธ์เชิงรุก เพื่อสร้างเครือข่ายทางการศึกษาระหว่างมหาวิทยาลัย ชุมชน โรงเรียนภายในพื้นที่บริการ และสร้างโอกาสทางการศึกษาให้แก่นักเรียนที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรือเทียบเท่าจากสถาบันอื่น เข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
จากการดำเนินกิจกรรม/โครงการตามแนวทางการจัดการความเสี่ยงของหน่วยงาน (รายงานผลการดำเนินงานรอบ 9 เดือน) มีผลการดำเนินงาน ดังนี้
1. กิจกรรมประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยสู่โรงเรียน (ประชุมอาจารย์แนะแนว) เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2560 ณ ห้องอมราวดี อาคาร 14 ชั้น 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เป็นการประชุมอาจารย์แนะแนว ผู้บริหาร และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการรับสมัครนักศึกษา เพื่อชี้แจงข้อมูลหลักสูตรการศึกษาของมหาวิทยาลัยที่เปิดสอน และรับนักศึกษาใหม่ในปีการศึกษา 2561 ผ่านระบบการรับสมัครแบบ TCAS
2. กิจกรรมประชาสัมพันธ์หลักสูตรการศึกษา "แนะแนวทางสู่รั้วมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์" BCAK TO SCHOOL [season 1-3] โครงการที่พาชวนอาจารย์ 5 คณะ ไปพบกันน้องๆ ที่โรงเรียนเพื่อ "แนะนำสาขาที่ชอบ เพื่อเลือกสาขาที่ใช่" สร้างการรับรู้ข่าวสารด้านการรับสมัครนักศึกษา ปีการศึกษา 2561 โดยความร่วมมือระหว่างคณะทั้ง 5 คณะ กับสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน ออกแนะแนวการศึกษาต่อไปยังโรงเรียนต่าง ๆ ภายในพื้นที่บริการ และจังหวัดใกล้เคียง เริ่มออกแนะแนวการศึกษา รอบแรกเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2560 รอบสองเดือนธันวาคม 2560 และรอบสามเดือนมกราคม 2561
ภายหลังการดำเนินกิจกรรมตามแผนการจัดการความเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายนอก เรื่อง จำนวนนักศึกษาใหม่ลดลง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงระบบรับสมัครนักศึกษาใหม่ โดยใช้ระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา (Thai university Center Admission: TCAS) พบว่า นักศึกษาใหม่ผ่านระบบการรับสมัครแบบ TCAS ปีการศึกษา 2561 จากการเปิดรับรอบ 1 Portfolio 1/1 - 1/2, รอบ 2 โควตา, รอบ 5 รับตรงอิสระ 5/1-5/3 มีจำนวนนักศึกษาที่ยืนยันสิทธิ์เข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ทั้งสิ้น 2,108 คน จากแผนการรับจำนวน 3,195 คน คิดเป็นร้อยละ 65.98
เอกสารอ้างอิง
1. คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการจัดการความเสี่ยงและควบคุมภายใน
2. แผนการจัดการความเสี่ยง ปีงบประมาณ 2561
3. รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำสำนักฯ ครั้งที่ 1/2561
4. รายงานการผลการจัดการความเสี่ยง ปีงบประมาณ 2561รอบ 6 เดือน
5. รายงานสถิติการรับสมัครนักศึกษาใหม่ ปีการศึกษา 2561
6. รายละเอียดโครงการส่งเสริมการผลิตบัณฑิตภาคปกติ ปีงบประมาณ 2561
|
|
เกณฑ์ประเมินข้อที่ 4.
|
บริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลอย่างครบถ้วนทั้ง 10 ประการที่อธิบายการดำเนินงานอย่างชัดเจน
|
ผลการดำเนินงาน
จากพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และสังคมที่ดี พ.ศ. 2546 คณะผู้บริหารสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียนได้นำมาเป็นแนวทางในการบริหารงาน ดังนี้
1. หลักประสิทธิผล (Effectiveness) คณะผู้บริหารสำนักฯ บริหารงานโดยมุ่งเน้นผลการปฏิบัติราชการที่บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของแผนการปฏิบัติราชการตามที่ได้รับงบประมาณมาดำเนินการ มีการกำหนดทิศทางยุทธศาสตร์และเป้าประสงค์ กระบวนการปฏิบัติงานและระบบงานที่เป็นมาตรฐาน รวมถึงมีการติดตามประเมินผลและพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ ส่งผลให้การปฏิบัติงานของหน่วยงานบรรลุผลสำเร็จตามแผนฯ พร้อมทั้งแจ้งผลการดำเนินงานให้บุคลากรภายในหน่วยงานได้รับทราบ และเสนอต่อคณะกรรมการประจำสำนัก และมีการพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ จากการบริหารงาน โดยเทียบเคียงระหว่างผลการดำเนินงานและค่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ตามแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 รวมไปถึงการผลการดำเนินงานด้านอื่น ๆ สรุปผลได้ดังนี้
1.1 ผลการดำเนินงานของตัวชี้วัดตามประเด็นยุทธศาสตร์ของแผนปฏิบัติราชการ
จำนวนตัวชี้วัดของแผน |
11 ตัวชี้วัด |
บรรลุผลสำเร็จ จำนวน |
8 ตัวชี้วัด |
ไม่บรรลุผลสำเร็จ จำนวน |
3 ตัวชี้วัด |
ผลสำเร็จคิดเป็นร้อยละ |
72.73 |
1.2 ผลการบริหารงานงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ 2560
งบประมาณที่ได้รับจัดสรร |
11,959,600.00 บาท |
เบิก-จ่าย ตลอดปีงบประมาณ |
10,901,044.50 บาท |
ร้อยละความสำเร็จของการบริหารงบประมาณ |
91.15 |
1.3 การประเมินผลงานของสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน ด้านการดำเนินงานตามพันธกิจ และด้านการบริหารโครงการ/งบประมาณ ปีงบประมาณ 2560 โดยคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ มีผลการประเมินอยู่ในระดับดีมาก มีผลการประเมินเท่ากับ 4.55 คะแนน
1.4 การประเมินผลการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหาร มีผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก มีผลการประเมินเท่ากับ 4.53 คะแนน
1.5 ผลการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ของสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มีผลการประเมินเท่ากับ 4.54 คะแนน
เอกสารอ้างอิง
1. รายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ 2560
2. รายงานผลการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลงาน ประจำปีงบประมาณ 2560
3. รายงานผลการประเมินผู้บริหารตามหลักธรรมาภิบาล ปีงบประมาณ 2560
4. รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2559
2. สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน โดยคณะผู้บริหารสำนักฯ มีการบริหารงานโดยมีวิธีการ และกระบวนการที่เหมาะสมกับบริบทของหน่วยงาน ทำให้หน่วยงานสามารถใช้ทรัพยากรในแต่ละด้านให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น การบริหารงบประมาณให้เป็นไปตามแผนที่กำหนด บริหารงบประมาณด้วยความประหยัด คุณภาพของงานคุ้มค่ากับงบประมาณที่เสียไป มีการวิเคราะห์การ
ใช้จ่ายงบประมาณ มีการสรุปผลการใช้งบประมาณประจำปี รายงานให้คณะกรรมการประจำสำนักฯ รับทราบ และสามารถบริหารจัดการกระบวนการทำงานที่มุ่งตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้เสียได้ โดยคณะผู้บริหารสนับสนุนให้บุคลากรนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการ การปฏิบัติงาน และการตัดสินใจ ครอบคลุมทุกกิจกรรมของหน่วยงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ มีรายละเอียดดังนี้
2.1 ด้านการบริหารจัดการ
- การเปลี่ยนระบบการรับนักศึกษาใหม่ ตั้งแต่กระบวนการรับสมัครเพื่อให้สอดคล้องกับการรับแบบ TCAS จาก ท.ป.อ. ที่หน้าเพจ คลิกที่นี่
- ระบบการรายงานตัวเข้าเป็นนักศึกษาใหม่ ได้มีการพัฒนาระบบและนำเทคโนโลยีบาร์โค้ด และเพิ่มเมนูการบันทึกเอกสารรายงานตัวนักศึกษาใหม่ ช่วยให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความรวดเร็ว และลดจำนวนบุคลากรที่ปฏิบัติงานในกระบวนการดังกล่าว
- ใช้การประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร ผ่านระบบ NSRU-MIS
- สนับสนุนให้บุคลากรยื่นการลาต่าง ๆ ผ่านระบบ NSRU-MIS
- ระบบติดตามเอกสารภายใน คลิกที่นี่
- พัฒนาระบบสารสนเทศเผยแพร่และเชื่อมโยงข้อมูลจากหน่วยงานต่าง ๆ โดยเริ่มจากระหว่างหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย เช่น ระบบการลงทะเบียนและการชำระเงินโดยเชื่อมโยงระบบการเงินการชำระเงินจากกลุ่มงานการเงิน สังกัดสำนักงานอธิการบดี กับระบบการลงทะเบียนนักศึกษาของกลุ่มงานทะเบียนและประมวลผล สังกัดสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน
- ระบบจัดการสำหรับเจ้าหน้าที่กลุ่มงานทะเบียนและประมวลผล-สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน คลิกที่นี่
- ระบบจัดเก็บหนังสือราชการ คลิกที่นี่
- ระบบบริหารงานประชุม ภายในสำนักฯ คลิกที่นี่
- การจัดการข้อมูลผู้สมัคร คลิกที่นี่
- ข้อมูลกิตติมศักดิ์ คลิกที่นี่
2.2 ด้านการสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน
- ใช้ระบบสนับสนุนการจัดตารางเรียน-สอน-สอบ
- การจัดทำระบบงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับงานทะเบียนและประมวลผล เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่อาจารย์ และนักศึกษา เช่น การตรวจสอบโครงสร้างด้วยตัวเอง การตรวจสอบสถานะทางงานทะเบียน
- ระบบฐานข้อมูล มคอ. ออนไลน์ คลิกที่นี่
- ระบบการส่งผลการเรียนและการติดตามผลการเรียน โดยเชื่อมโยงการทำงานระดับอาจารย์ผู้สอน ระดับสาขา ระดับคณะ จนถึงสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน
- ระบบสนับสนุนการให้บริการ แจ้งซ่อมอุปกรณ์ ห้องเรียน และห้องประชุม ในความรับผิดชอบ คลิกที่นี่
- ระบบบริหารจัดการห้องเรียน คลิกที่นี่
2.3 ด้านการเงินและงบประมาณ
- ระบบบริหารงบประมาณ การเงินและการบัญชี คลิกที่นี่
- ระบบรายงานการเบิกจ่ายงบประมาณ คลิกที่นี่
2.4 ด้านการให้บริการ
- Mobile Application NSRU Regis บนระบบ Android เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่นักศึกษาในการติดต่อกับงานทะเบียน เช่น การตรวจสอบผลการเรียน ตรวจสอบตารางเรียนสำหรับนักศึกษา รวมถึงผลการสอบประกันคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงกับงานประกันคุณภาพคอมพิวเตอร์ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
- ระบบปฏิบัติงานด้านคำร้องออนไลน์ และการติดตามคำร้องของนักศึกษา
- ระบบสนับสนุนการตรวจสอบคุณวุฒินักศึกษา ระหว่างหน่วยงาน กับโรงเรียนภายนอก คลิกที่นี่
- ระบบฐานข้อมูลเทียบโอนรายวิชา คลิกที่นี่
- ระบบรับข้อมูล ftes จำนวนนักศึกษาเต็มเวลา คลิกที่นี่
- ระบบคำร้องเพิ่ม-ถอนรายวิชาออนไลน์ คลิกที่นี่
- ระบบการส่งผลการเรียนและการติดตามผลการเรียน โดยเชื่อมโยงการทำงานตั้งแต่ระดับอาจารย์ผู้สอน ระดับสาขา ระดับคณะ จนถึงสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน
เอกสารอ้างอิง
1. ระบบการรับนักศึกษาใหม่
2. ระบบติดตามเอกสารภายใน
3. ระบบ NSRU-MIS
4. ระบบจัดการสำหรับเจ้าหน้าที่กลุ่มงานทะเบียนและประมวลผล
5. ระบบจัดเก็บหนังสือราชการ
6. ระบบบริหารงานประชุมภายในสำนักฯ
7. การจัดการข้อมูลผู้สมัคร
8. ข้อมูลการให้ปริญญากิตติมศักดิ์
9. ระบบฐานข้อมูล มคอ. ออนไลน์
10. ระบบสนับสนุนการให้บริการ แจ้งซ่อมอุปกรณ์ ห้องเรียน และห้องประชุม ในความรับผิดชอบ
11. ระบบบริหารจัดการห้องเรียน
12. ระบบบริหารงบประมาณ การเงินและการบัญชี
13. ระบบรายงานการเบิกจ่ายงบประมาณ
14. ระบบสนับสนุนการตรวจสอบคุณวุฒินักศึกษา ระหว่างหน่วยงาน กับโรงเรียนภายนอก
15. ระบบฐานข้อมูลเทียบโอนรายวิชา
16. ระบบรับข้อมูล ftes
17. ระบบคำร้องเพิ่ม-ถอนรายวิชาออนไลน์
3. หลักการตอบสนอง มีกระบวนการปฏิบัติงาน และขั้นตอนการทำงาน โดยมีการกำหนดมาตรฐานระยะเวลาการให้บริการ เพื่อตอบสนองความต้องการของบุคคลภายนอก และนักศึกษา ให้เกิดความพึงพอใจสูงสุด พร้อมทั้งเร่งขจัดปัญหา /หรือข้อร้องเรียนต่างๆ (ถ้ามี) จากผู้รับบริการ รวมถึงการพัฒนาระบบสนับสนุนการดำเนินงานต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้รับบริการ มีการดำเนินการเพื่อรับฟัง ตอบสนองความต้องการใช้บริการและความคาดหวัง
3.1 หน่วยงานจัดให้มีช่องทางที่หลากหลายในการสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูล และรับฟังความคิดเห็นหรือตอบข้อซักถามต่าง ๆ จากผู้รับบริการทุกระดับ ได้แก่
- จัดให้มีช่องทางการประเมินผลความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อการให้บริการ และการใช้งานสารสนเทศของหน่วยงาน
- จัดให้มีระบบประเมินการสอน เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์ผู้สอน
- ช่องทางการติดต่อสื่อสาร ผ่าน Web Board / Facebook / @Line
- ช่องทางอำนวยความสะดวกให้แก่นักศึกษา ในการติดต่อกับงานทะเบียนผ่านMobile Application “NSRU Regis” บนระบบ Android
- ช่องทางอำนวยความสะดวกให้แก่อาจารย์ ในการติดต่อกับหน่วยงาน ผ่าน Mobile Application “NSRU Mentor”
- จัดให้มีกิจกรรมสื่อสารข้อมูล รับฟังข้อเสนอแนะ จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียผ่านการดำเนินโครงการต่าง ๆ ของหน่วยงาน
3.2 การประเมินความพึงพอใจผู้รับบริการของหน่วยงาน ประจำปีงบประมาณ 2560 หน่วยงานดำเนินงานด้านต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการและความคาดหวังของผู้บริการ และมีการสำรวจความพึงพอใจผู้รับบริการที่มีต่อการให้บริการของหน่วยงาน และการสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บริการสานสนเทศของหน่วยงาน ซึ่งมีผลการประเมิน ดังนี้
- ผลการประเมินความพึงพอใจผู้รับบริการของหน่วยงาน แบ่งออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่
ประเด็นที่ประเมิน |
ผลการประเมิน |
ด้านกระบวนการ/ขั้นตอนการให้บริการ |
4.10 |
ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ |
4.12 |
ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก |
4.09 |
ด้านคุณภาพการให้บริการ |
4.08 |
เฉลี่ยรวม |
4.10 |
- ผลการประเมินความพึงพอใจผู้ใช้สารสนเทศของหน่วยงาน
ประเด็นที่ประเมิน |
ผลการประเมิน |
ความพึงพอใจโดยรวมที่มีต่อการใช้บริการเว็บไซต์สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน(http://apr.nsru.ac.th/) |
4.39 |
ความพึงพอใจโดยรวมที่มีต่อการใช้บริการเว็บไซต์ห้องทะเบียนและประมวลผล (http://regis.nsru.ac.th/) |
4.55 |
เฉลี่ยรวม |
4.47 |
เอกสารอ้างอิง
1. รายงานผลการประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ ประจำปีงบประมาณ 2560
2. รายงานผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้สารสนเทศ ประจำปีงบประมาณ 2560
4. หลักภาระรับผิดชอบ หน่วยงานมีการบริหารงานแบ่งออกเป็น 2 มิติ ดังนี้
4.1 มิติเชิงสถาบัน/หน่วยงาน บุคลากรผู้ปฏิบัติงานภายในหน่วยงานนั้น มีการกำหนดภาระหน้าที่ ความรับผิดชอบงานด้านต่าง ๆ อย่างชัดเจน เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย เนื่องจากภารกิจหลักของหน่วยงานเป็นการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผู้รับบริการ หลากหลายกลุ่ม การปฏิบัติงาน หรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับบุคคลกลุ่มดังกล่าวจึงจำเป็น ต้องปฏิบัติด้วยความระมัดระวัง มีความถูกต้อง เชื่อถือได้และเป็นไปตามระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย โดยในแต่ละงานนั้น มีการกำหนดผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน พร้อมทั้งกำหนดเป้าหมาย/ตัวชี้วัด ที่สามารถสนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยงาน และตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้เสีย
4.2 มิติเชิงวัตถุประสงค์ หรือจุดมุ่งหมายในภาพรวมของมหาวิทยาลัย โดยคณะผู้บริหารของหน่วยงานได้รับมอบอำนาจในการบริหารจัดการจากมหาวิทยาลัยฯ นั้น ต้องมีภาระรับผิดชอบต่อการใช้อำนาจที่ได้รับมอบหมาย เช่น การใช้จ่ายงบประมาณที่ได้รับจัดสรร หน่วยงานมีการแสดงข้อมูล รายงานสถานการณ์ใช้จ่ายงบประมาณ มีความรับผิดชอบต่อผลงาน การบริหารงานโดยมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินงาน เพื่อให้ได้ผลงานที่มีคุณภา ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และคุ้มค่ากับเงินงบประมาณที่เสียไป
เอกสารอ้างอิง
1. แผนยุทธศาสตร์ 5 ปี พ.ศ. 2560-2564 (ปรับปรุง 2561)
2. แผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ 2561
3. รายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ 2560
5. หลักความโปร่งใส มีการนำเสนอการดำเนินงานของสำนักฯ ให้หน่วยงานภายนอกทราบ ผ่านการดำเนิน มีกระบวนปฏิบัติงานที่ชัดเจน เปิดเผยชี้แจงได้เมื่อมีข้อสงสัย ผู้มีส่วนได้เสียสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างเสรี โดยจัดทำระบบข้อมูลสารสนเทศ ซึ่งบุคคลภายนอกจะได้ทราบทุกขั้นตอน กระบวนการต่าง ๆ ในการดำเนินงานของสำนักฯ และสามารถตรวจสอบได้ และจัดทำรายงานผลการดำเนินงานเพื่อเผยแพร่ ผ่านช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสารให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียรับทราบอย่างทั่วถึง
5.1 หน่วยงานมีการเปิดเผยข้อมูลผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ ผ่านช่องทางต่าง ๆ ได้แก่ จัดทำเป็นเอกสารรายงานผลการดำเนินงาน เสนอต่อคณะกรรมการประจำสำนักฯ และมหาวิทยาลัย รวมถึงหน่วยงานต่าง ๆ ภายนอก และเผยแพร่ Webpage ของหน่วยงาน
5.2 หน่วยงานมีการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงาน จากคณะกรรมการภายนอกที่แต่งตั้งจากสภามหาวิทยาลัย โดยหน่วยงานจัดทำเอกสารรายงานการศึกษาตนเอง ตามตัวบ่งชี้ที่ได้รับจากคณะกรรมการฯ ซึ่งสอดคล้องกับพันธกิจและภารกิจของหน่วยงาน
5.3 หน่วยงานได้รับการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงาน การใช้จ่ายงบประมาณ การบริหารงาน จากหน่วยงานตรวจสอบภายใน ของมหาวิทยาลัย เป็นประจำทุกไตรมาส
5.4 ด้านการให้บริการนั้น หน่วยงานจัดทำระบบติดตามคำร้องออนไลน์ เพื่อแสดงกระบวนการปฏิบัติงานให้ผู้รับบริการทราบและติดตามการทำงานได้ตลอดเวลา
5.5 หน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย ร่วมแสดงเจตจำนงต่อต้านการทุจริตและส่งเสริมการปฏิบัติงานอย่างมีคุณธรรมและความโปร่งใส โดยการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ร่วมกันต่อต้านการทุจริตระหว่างหน่วยงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ประกอบด้วย สำนักงานอธิการบดี สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม สถาบันวิจัยและพัฒนา คณะครุศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และบัณฑิตวิทยาลัย กับ ป.ป.ช. นครสวรรค์ ร่วมลงนามข้อตกลง
เอกสารอ้างอิง
1. หน้าเว็บเพจ “งานประกันคุณภาพ” ในการเผยแพร่ข้อมูล
2. รายงานการศึกษาตนเอง ประจำปีงบประมาณ 2560
3. เอกสารรายงานการตรวจสอบภายใน
4. ตัวอย่างหน้าจอระบบติดตามคำร้องออนไลน์
5. รายงานประจำปี 2560
6. หลักการมีส่วนร่วม มีการส่งเสริมให้นักศึกษา คณาจารย์ บุคลากร และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนและให้ข้อเสนอแนะการดำเนินงานของสำนัก ดังนี้
6.1 มีคณะกรรมการประจำสำนักที่มาจากบุคคลภายนอก ตามคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการประจำสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน
6.2 ผู้ใช้บริการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมแสดงทัศนะ ร่วมเสนอปัญหาในการดำเนินงาน
6.3 นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้ที่เข้าร่วมกิจกรรมโครงการต่าง ๆ ที่หน่วยงานจัดขึ้น ได้ร่วมให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการดำเนินโครงการ/กิจกรรมในคราวต่อไป
เอกสารอ้างอิง
1. คำสั่งมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ที่ 603/2560 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการประจำสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน
2. รายงานผลการประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ ประจำปีงบประมาณ 2560
3. รายงานผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้สารสนเทศ ประจำปีงบประมาณ 2560
7. หลักการกระจายอำนาจ การดำเนินงานของหน่วยงานตามหลักการกระจายอำนาจนั้น มีการดำเนินการใน 2 ลักษณะ ดังนี้
7.1 หน่วยงานมีการบริหารงานตามกฎกระทรวงว่าด้วยการแบ่งส่วนราชการภายในมหาวิทยาลัย มีการมอบหมายงานอย่างเป็นทางการ โดยจัดทำเป็นคำสั่งสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน ที่ 013/2560 เรื่อง มอบหมายงานให้รองผู้อำนวยการ และหัวหน้าสำนักงานกำกับการบริหารราชการ สั่งและปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการ เพื่อมอบอำนาจให้ผู้บริหารแต่ละระดับดูแลรับผิดชอบงานด้านต่าง ๆ ภายในหน่วยงาน พร้อมทั้งกำกับดูแลรับผิดชอบภารกิจของกลุ่มงาน และมีการแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งต่างๆ เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจของสำนัก เพิ่มการกระจายอำนาจการตัดสินใจ ด้านการให้บริการของหน่วยงานไปยังศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
7.2 การมอบหมายงานอย่างไม่เป็นทางการ เป็นรายกรณี เช่น
- การมอบอำนาจในการตัดสินใจในการดำเนินกิจกรรม/โครงการต่าง ๆ ภายในหน่วยงาน ให้แก่เจ้าของหรือผู้รับผิดชอบโครงการนั้น ๆ
- การมอบหมายงานต่าง ๆ ให้แก่บุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องกับงานนั้น ให้มีอำนาจการตัดสินใจในเบื้องต้น
เอกสารอ้างอิง
1. คำสั่งสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน ที่ 013/2560 เรื่อง มอบหมายงานให้รองผู้อำนวยการ และหัวหน้าสำนักงานกำกับการบริหารราชการ สั่งและปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการ
2. คำสั่งมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ที่ 380/2558 เรื่องแต่งตั้งนายทะเบียน
8. หลักนิติธรรม ผู้บริหารปฏิบัติหน้าที่ และขับเคลื่อนงานของหน่วยงานตามกรอบของกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด และผู้บริหาร บุคลากรปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ มีตัวอย่างการดำเนินการของหน่วยงาน ดังนี้
8.1 ด้านการใช้อำนาจในการบริหารงาน
- การบริหารงานของคณะผู้บริหาร ภายใต้อำนาจที่ได้รับมอบจากมหาวิทยาลัย ตามคำสั่งมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ที่ 898/2560 เรื่องการมอบอำนาจให้คณบดี ผู้อำนวยการสำนัก สถาบันและหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะปฏิบัติราชการแทนอธิการบดี
- การใช้อำนาจตามที่ได้รับมอบหมายจากมหาวิทยาลัย ในการแต่งตั้งคณะทำงานในกิจกรรม/โครงการต่าง ๆ ของหน่วยงาน เป็นต้น
8.2 ด้านการปฏิบัติงานตามพันธกิจและภารกิจของหน่วยงาน
- การปฏิบัติงานเรื่องการพิจารณาการยื่นคำร้องขอลงทะเบียนเพิ่มเติม (กรณีเกิน 22 หน่วยกิตสำหรับภาคปกติ) หน่วยงานในฐานะผู้รับคำร้องดังกล่าว มีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาเบื้องต้นก่อนเสนอให้ผู้มีอำนาจลงนาม ต้องเป็นไปตามประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เรื่องแนวปฏิบัติในการลงทะเบียนเกิน 22 หน่วยกิต ของนักศึกษาภาคปกติ
- การพิจารณารายชื่อเพื่อจัดทำประกาศการพ้นสภาพการเป็นนักศึกษา หน่วยงานในฐานะผู้จัดทำข้อมูลประกาศฯ ดังกล่าว มีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาจัดทำรายชื่อนักศึกษาที่อยู่ในเกณฑ์การพ้นสภาพ ภายใต้หลักเกณฑ์ตามระเบียบมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2550
เอกสารอ้างอิง
1. คำสั่งมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ที่ 898/2560 เรื่องการมอบอำนาจให้คณบดี ผู้อำนวยการสำนัก สถาบันและหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะปฏิบัติราชการแทนอธิการบดี
2. กระบวนงานการออกคำสั่งพ้นสภาพเพราะผลการเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี
9. หลักความเสมอภาค มีการดำเนินงานตามหลักความเสมอภาค ดังนี้
9.1 หน่วยงานการให้บริการตามพันธกิจแก่นักศึกษา คณาจารย์ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างเท่าเทียมกัน มีระบบให้บริการที่อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้รับบริการทุกกลุ่มอย่างเสมอภาค ทั้งในส่วนของนักศึกษาและคณาจารย์ รวมทั้งจัดหาสิ่งสนับสนุนการให้บริการนักศึกษา (ย่านมัทรี) ด้วยระบบ Video Conference ซึ่งนักศึกษาสามารถใช้เป็นช่องทางติดต่อ สอบถามข้อมูล ขอรับคำปรึกษาผ่านระบบดังกล่าวได้ทันที
9.2 หน่วยงานปฏิบัติต่อบุคลากร ของหน่วยงานอย่างเท่าเทียม เปิดโอกาสให้บุคลากรได้รับการพัฒนา เพิ่มพูนความรู้ และเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน โดยสนับสนุนให้บุคลากรเข้ารับการฝึกอบรมตามความสนใจในเส้นทางของตนเอง
เอกสารอ้างอิง
1. แบบสำรวจความต้องการพัฒนาตนเอง
2. รายงานการเข้ารับการฝึกอบรมของบุคลากร
10. หลักมุ่งเน้นฉันทามติ สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มีแนวทางการบริหารงานโดยมุ่งฉันทามติ การมีส่วนร่วมทางความคิดและการเสนอแนะ ซึ่งมีกระบวนการค้นหาข้อตกลงร่วมกันระหว่างผู้บริหาร บุคลากร และผู้มีส่วนได้เสียในการประชุมสำนักฯ และคณะกรรมการประจำสำนัก ผู้บริหารยึดหลักเคารพมติของเสียงส่วนใหญ่และความคิดเห็นที่แตกต่าง เพื่อให้เกิดฉันทามติและการดำเนินงานของเป็นไปในทิศทางที่เหมาะสม
นอกจากนี้ หน่วยงานยังมีแนวทางการในการหาข้อตกลงร่วมกันระหว่างกลุ่มบุคคล เพื่อให้ไม่มีข้อคัดค้านที่ยุติไม่ได้ในประเด็นที่สำคัญ เนื่องจากหน่วยงานมีฐานะเป็นหน่วยงานสนับสนุนการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัย ปฏิบัติหน้าจำนวนมากของหน่วยงาน มีความเกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้เสียหลากหลายกลุ่ม จึงจำเป็นอย่างยิ่งในการหาข้อยุติในประเด็นต่าง ๆ ทั้งในรูปของการประชุมกลุ่มย่อย การสอบถามข้อคิดเห็น การเปรียบเทียบผลดี ผลเสีย การเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความราบรื่น
- รายงานการประชุมบุคลากร ครั้งที่ 1/2560
- รายงานการประชุมหัวหน้ากลุ่มงาน ครั้งที่ 1/2561
เอกสารอ้างอิง
1. รายงานการประชุมบุคลากร ครั้งที่ 1/2560
2. รายงานการประชุมหัวหน้ากลุ่มงาน ครั้งที่ 1/2561
|
|
เกณฑ์ประเมินข้อที่ 5.
|
ค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีจากความรู้ทั้งที่มีอยู่ในตัวบุคคลทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรงและแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ ตามประเด็นความรู้ อย่างน้อยครอบคลุมพันธกิจ ด้านการผลิตบัณฑิต และด้านการวิจัย จัดเก็บอย่างเป็นระบบโดยเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรและนำมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง
|
ผลการดำเนินงาน
สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มีการดำเนินการและบริหารจัดการความรู้ภายในหน่วยงาน ตามนโยบายการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัย และสนับสนุนการปฏิบัติงานตามภารกิจของสำนักฯ ดังนี้
1. คณะกรรมการจัดการความรู้ (KM Team) ประกอบด้วยผู้บริหารและบุคลากรกลุ่มงานต่าง ๆ โดยพิจารณาการจัดการความรู้ในปีงบประมาณ 2560 มาใช้เป็นแนวทางกำหนดประเด็นความรู้ และกลุ่มเป้าหมายของการจัดการความรู้ ที่สนับสนุนการดำเนินงานตามประเด็นยุทธศาสตร์ ทั้ง 3 ประเด็น
2. เมื่อได้ขอบเขตประเด็นความรู้ที่สนับสนุนการดำเนินงานตามประเด็นยุทธศาสตร์แล้ว หน่วยงานจัดประชุมบุคลากรสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน เพื่อคัดเลือกประเด็นความรู้ที่บุคลากรต้องการ ซึ่งประเด็นความรู้ที่บุคลากรส่วนใหญ่ให้ความสนใจ คือ
ประเด็นความรู้: เรื่อง การจัดระบบการให้บริการที่เป็นเลิศ มุ่งเน้นสร้างความพึงพอใจแก่ผู้รับบริการ
ขอบเขตความรู้: สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 ส่งเสริมการพัฒนางานให้บริการของหน่วยงานที่มีประสิทธิภาพ
เป้าหมายของการจัดการความรู้: เพื่อให้บุคลากรและผู้บริหารทุกระดับ มีความสามารถในการพัฒนาระบบให้บริการตามพันธกิจของหน่วยงานที่มีประสิทธิภาพ มุ่งเน้นสร้างความพึงพอใจแก่ผู้รับบริการ โดยพิจารณาจากผลการประเมินความพึงพอใจผู้รับบริการ 4.00 จากคะแนนเต็ม 5
กลุ่มเป้าหมาย: บุคลากรภายในสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียนทุกคน
3. หลังจากนั้นหน่วยงานได้จัดประชุมผู้บริหารและหัวหน้ากลุ่มงาน เพื่อทำแผนการจัดการความรู้ และกำหนดกิจกรรม/โครงการ เพื่อสร้างความรู้ให้แก่กลุ่มเป้าหมายในประเด็นที่ต้องการ
4.หน่วยงานมีการแสวงหาความรู้ โดยการจัดกิจกรรมให้บุคลากรได้เข้าศึกษาดูงานหน่วยงานที่มีความเป็นเลิศ โดดเด่นด้านการให้บริการ และเชิญผู้ทรงคุณวุฒิจากภายในมหาวิทยาลัยมาร่วมแลกเปลี่ยนแนวคิดในการสร้างทัศนคติที่ดีในการให้บริการ และประชุมแลกเปลี่ยนประเด็นปัญหาการดำเนินงานรอบที่ผ่านมา โดยมีกิจกรรม/โครงการต่าง ๆ ดังนี้
4.1 จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาสมรรถนะด้านการปฏิบัติงานของบุคลากร เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2561 โดยเชิญ คุณพศิน อินทรวงค์ และคุณชัชรินทร์ กวางทอง เป็นวิทยากรผู้มีความเชี่ยวชาญ และเป็นที่ยอมรับในวงกว้าง ในระดับประเทศ ให้ความรู้ และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
- สมาธิกับประสิทธิภาพการทำงาน
- วิธีมองโลกแบบองค์รวม เพื่อเข้าใจตนเอง ผู้ร่วมงาน และผู้รับบริการ
- ฝึกจิตง่ายๆ เพื่อพัฒนากระบวนการทำงาน เพื่อประโยชน์ต่อตนเอง และผู้อื่น
4.2 จัดโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดระบบการให้บริการที่เป็นเลิศ มุ่งเน้นสร้างความพึงพอใจแก่ผู้รับบริการ ระหว่างผู้บริหาร และบุคลากรภายในหน่วยงาน มีประเด็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คือ แนวทางการให้บริการด้านงานทะเบียนและประมวลผล การจัดการห้องเรียน และระบบการให้บริการนักศึกษา/อาจารย์ รวมถึงการแลกเปลี่ยนแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการให้บริการ (รวมทั้งกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างหน่วยงาน)
4.3 ประชุมกลุ่มย่อยแลกเปลี่ยนแนวทางในการใช้ระบบสารสนเทศ มาสนับสนุนการปฏิบัติงานและการให้บริการของบุคลากรสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน
5. จากการจัดกิจกรรม/โครงการดังกล่าว ผู้บริหารมีนโยบายให้บุคลากรทุกคน นำแนวปฏิบัติและองค์ความรู้ที่ได้รับ มาปรับใช้กับการดำเนินงาน ดังนี้
5.1 ให้บุคลากรทำการทบทวนกระบวนงาน ขั้นตอนการให้บริการภายใต้ความรับผิดชอบของตน พร้อมทั้งทบทวนระยะเวลามาตรฐานในการให้บริการแก่นักศึกษา อาจารย์ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
5.2 พัฒนาระบบสนับสนุนการให้บริการ ลดการใช้ทรัพยากรสิ้นเปลือง (ลดกระดาษ ลดเวลา)
5.3 นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการปฏิบัติงาน เช่น การให้บริการผ่านระบบออนไลน์ การพัฒนาการให้บริการผ่าน Mobile Application
6. องค์ความรู้ที่ได้รับจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้แก่
6.1 เทคนิคการให้บริการแบบจิตบริการ โดยผู้ให้บริการต้องมีความจริงใจ เต็มใจให้บริการ มีความรอบรู้ในงานที่ปฏิบัติ สื่อสารด้วยความชัดเจนด้วยข้อมูลที่ถูกต้อง มีความน่าเชื่อถือ
6.2 แนวปฏิบัติด้านการให้บริการโดยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีส่วนช่วยในการขับเคลื่อนการปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายของหน่วยงาน เช่น การใช้ Google calendar มาช่วยเป็นช่องทางการประชาสัมพันธ์ข้อมูล ปฏิทินวิชาการต่างๆ เพื่อสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้ใช้บริการ
6.3 มีขั้นตอนกระบวนการให้บริการที่ได้รับการทบทวน ปรับปรุงให้ทันสมัย และมีการรักษาระยะเวลามาตรฐานการลดรอบการให้บริการ
6.4 มีการพัฒนา Application ให้บริการออนไลน์ / การพัฒนาตู้ให้บริการอัตโนมัติ
เอกสารอ้างอิง
1. แผนการจัดการความรู้ สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน
2. รายงานความก้าวหน้าการจัดการความรู้ รอบ 9 เดือน
3. ตัวอย่างการพัฒนางานให้บริการจากการจัดการความรู้
|
|
เกณฑ์ประเมินข้อที่ 6.
|
การกำกับติดตามผลการดำเนินงานตามแผนการบริหารและแผนพัฒนาบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน
|
ผลการดำเนินงาน
คณะผู้บริหารได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการบริหาร และพัฒนาคนควบคู่ไปกับการพัฒนางาน โดยมีการกำกับติดตามการดำเนินงานด้านบุคลากร ดังนี้
1. กำหนดแนวทางในการบริหารทรัพยากรบุคคล โดยเริ่มจากการกำหนดกรอบอัตรากำลังระยะยาว 5 ปี การกำหนดคุณสมบัติตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งงาน ภาระงานและขั้นตอนการปฏิบัติงานในตำแหน่งต่างๆ รวมถึงการพัฒนาและสร้างขวัญกำลังใจ และส่งเสริมความก้าวหน้าในสายงาน
2. คณะกรรมการบริหารสำนัก นำแนวทางการบริหารงานบุคคล มาจัดทำเป็นแผนพัฒนาบุคลากรประจำปีงบประมาณ 2561 ซึ่งมีนโยบายส่งเสริมและพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน รวมถึงทักษะชีวิตอื่นๆ ที่บุคลากรสนใจ โดยจัดกิจกรรม/โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากร ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน
3. นำเสนอแผนพัฒนาบุคลากร ประจำปีงบประมาณ 2561 แก่คณะกรรมการประจำสำนัก พิจารณาให้ความเห็นชอบ ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2561 เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2561
4. ผู้รับผิดชอบโครงการตามแผนพัฒนาบุคลากร ดำเนินกิจกรรม/โครงการพัฒนาบุคลากร ภายใต้การกำกับดูแล ของคณะกรรมการบริหารสำนักฯ
5. คณะผู้บริหารได้ส่งเสริมให้บุคลากรเข้ารับการพัฒนาศักยภาพทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน และติดตามผลการเข้าร่วมกิจกรรมโครงการต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ พร้อมทั้งกำหนดให้ผู้เข้าร่วมโครงการพัฒนาบุคลากรจัดทำรายงานผลการเข้าร่วมอบรมหรือกิจกรรม/โครงการทั้งในรูปของแบบรายงานผล และรูปเล่มรายงาน
6. ผู้บริหารสนับสนุนให้นำความรู้ที่ได้มาทำการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบุคลากรภายในหน่วยงาน เพื่อนำแนวปฏิบัติที่ดีมาปรับใช้ในการปฏิบัติงาน และมีการติดตามผลการนำความรู้ไปใช้ จากผลการปฏิบัติงานตามภาระงานหลักที่ความรับผิดชอบ ซึ่งจะนำไปเป็นข้อมูลส่วนหนึ่งเพื่อประกอบการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน ตามเกณฑ์การประเมินในแบบ ป. 6 แบบ กผ. 1 และ แบบ กส. 4
เอกสารอ้างอิง
1. แนวทางการบริหารงานบุคคล
2. แผนพัฒนาบุคลากร ปีงบประมาณ 2561
3. รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำสำนัก ครั้งที่ 1/2561
4. รายงานผลการเข้าร่วมอบรม/ดูงาน ปีงบประมาณ 2560
5. รายงานผลการเข้าร่วมอบรม/ดูงาน ปีงบประมาณ 2561 รอบ 9 เดือน
6. ตัวอย่างการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในงานของบุคลากร
|
|
เกณฑ์ประเมินข้อที่ 7.
|
ดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามระบบและกลไกที่เหมาะสมและสอดคล้องกับพันธกิจ และพัฒนาการของคณะที่ได้ปรับให้การดำเนินงาน ด้านการประกันคุณภาพเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารงานหน่วยงานตามปกติที่ประกอบด้วยการควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพและการประเมินคุณภาพ
|
ผลการดำเนินงาน
สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มีระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ที่สอดคล้องกับพันธกิจของสำนักฯ โดยนำรูปแบบการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย ภายใต้ระบบและกลไกการดำเนินงาน 3 ด้าน ได้แก่
1. ระบบการควบคุมคุณภาพ หน่วยงานนำประกาศนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน มาทำการทบทวนและปรับให้สอดคล้องกับการดำเนินงานระดับสำนัก มีคณะกรรมการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของสำนักฯ รับผิดชอบการดำเนินงานตามตัวชี้วัดต่าง ๆ รวมทั้งแผนการประกันคุณภาพการศึกษา
จากระบบการควบคุมคุณภาพเพื่อให้ได้ผลของการดำเนินงานบรรลุผลตามตัวชี้วัดที่ได้รับมอบหมาย ทั้งในระดับมหาวิทยาลัยและระดับสำนักนั้น คณะกรรมการบริหารสำนักได้นำ
2. ระบบการติดตามตรวจสอบคุณภาพ สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน จัดทำโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการการติดตาม ตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายใน โดยจัดทำรายงานการประเมินตนเอง ปีการศึกษา 2560 เสนอต่อคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ การประกันคุณภาพการศึกษา ของมหาวิทยาลัยให้ข้อเสนอแนะในการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา
3. ระบบการประเมินคุณภาพ มีคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับสำนักและสถาบัน ประจำปีการศึกษา 2560 เพื่อสรุปผลการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของสำนัก และมีการนำผลการประกันคุณภาพการศึกษามาจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพ เพื่อพัฒนาการดำเนินงานของหน่วยงาน ให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผล
เอกสารอ้างอิง
1. นโยบายการประกันคุณภาพสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน
2. รายชื่อคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสำนัก
3. แผนการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหน่วยงาน
4. ปฏิทินการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน
5. ระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน
6. โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายใน
7. รายชื่อคณะกรรมการตรวจสอบและกำกับติดตามการประกันคุณภาพภายใน ระดับสำนัก สถาบัน ปีการศึกษา 2560
8. แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2560
|