องค์ประกอบที่ 7การบริหารและการจัดการ
ตัวบ่งชี้ที่ 7.1ภาวะผู้นำของสถาบันและผู้บริหารทุกระดับของสถาบัน
ชนิดตัวบ่งชี้กระบวนการ
ผู้กำกับดูแลตัวชี้วัด : อาจารย์ ดร.สุธาทิพย์   งามนิล ผู้จัดเก็บข้อมูล  :
นายมงคล    แพทองคำ
นางศิราณี    จตุรทิศ
โทรศัพท์                 : 0-5621-9100  ต่อ  1201 โทรศัพท์          : 0-5621-9100  ต่อ 1204

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1
คะแนน 2
คะแนน 3
คะแนน 4
คะแนน 5
มีการดำเนินการ
1 ข้อ
มีการดำเนินการ
2 หรือ 3 ข้อ
มีการดำเนินการ
4 หรือ 5 ข้อ
มีการดำเนินการ
6 ข้อ
มีการดำเนินการ
7 ข้อ

ผลการประเมินตนเอง
มี
ข้อ
เกณฑ์
ผลดำเนินงาน
หลักฐาน
1
สภาสถาบันปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดครบถ้วนและมีการประเมินตนเองตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดล่วงหน้า - -
2
ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ กำหนดทิศทางการดำเนินงาน และสามารถถ่าย ทอดไปยังบุคลากรทุกระดับ มีความสามารถในการวางแผนกลยุทธ์ มีการนำข้อมูลสารสนเทศเป็นฐานในการปฏิบัติงานและพัฒนาสถาบัน ผู้บริหาร ในนามคณะกรรมการบริหารสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มีวิสัยทัศน์ในการกำหนดแนวทางการดำเนินงานตามปรัชญาและ พันธกิจตามบริบทของสำนัก รวมถึงวางแผนกลยุทธ์ต่าง ๆ เพื่อการปฏิบัติงาน อย่างชัดเจน  และถ่ายทอดไปยังหัวหน้างาน บุคลากรภายในและภายนอกหน่วยงาน ผ่านช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ เช่น การประชุมบุคลากร  หน้าเว็บไซต์ของสำนัก รวมถึงเอกสาร รายงานต่าง ๆ 7-7.1-MR-1 แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ 2555
7-7.1-MR-2 รายงานการประชุมบุคลากรสำนักฯ ครั้งที่ 3/2553
7-7.1-MR-3 รายงานการประชุมบุคลากรสำนักฯ ครั้งที่ 3/2554 (5.1)
7-7.1-MR-4 apr.nsru.ac.th  
3
ผู้บริหารมีการกำกับ ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามที่มอบหมาย รวมทั้งสามารถสื่อสารแผนและผลการดำเนินงานของสถาบันไปยังบุคลากรในสถาบัน ผู้บริหารในนามคณะกรรมการบริหารสำนักมีนโยบายในการมอบหมายตัวชี้วัดในแผนปฏิบัติราชการ และมีการกำกับ ติดตามการดำเนินงานกิจกรรม/โครงการต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องโดยมีกลไกการกำกับติดตาม“กระบวนการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรเพื่อการพัฒนาหน่วยงาน”เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้  และจัดทำรายงานผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรอง  รายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี  รายงานการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี  โดยนำผลการดำเนินงานต่าง ๆ แจ้งให้บุคลากรรับทราบ และเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ของสำนักฯ 7-7.1-MR-5 แนวปฏิบัติ “กระบวนการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรเพื่อการพัฒนาหน่วยงาน
7-7.1-MR-6 รายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี
7-7.1-MR-7 รายงานผลการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี 2555
7-7.1-MR-4 www.nsru.ac.th/apr   
7-7.1-MR-8 มาตรฐานกำหนดตำแหน่งงาน
4
ผู้บริหารสนับสนุนให้บุคลากรในสถาบันมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ ให้อำนาจในการตัดสินใจแก่บุคลากรตามความเหมาะสม ผู้บริหารในนามคณะกรรมการบริหารจัดการสำนักฯ เปิดโอกาสให้บุคลากรทุกระดับในหน่วยงานมีส่วนร่วมและให้ข้อเสนอแนะในการบริหารงาน และมีอำนาจตัดสินใจตามความเหมาะสม สอดรับกับหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ตามแผนปฏิบัติราชการและกระบวนงานฯ ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดของคณะผู้บริหาร 7-7.1-MR-1 แผนปฏิบัติราชการประจำปี 2555
7-7.1-MR-9 คำสั่งแต่งตั้งหัวหน้ากลุ่มงาน และหัวหน้างาน  
5
ผู้บริหารถ่ายทอดความรู้และส่งเสริมพัฒนาผู้ร่วมงาน เพื่อให้สามารถทำงานบรรลุวัตถุประสงค์ของสถาบันเต็มตามศักยภาพ ผู้บริหารในนามคณะกรรมการบริหารจัดการสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียนสนับสนุน ให้บุคลากรได้พัฒนาความรู้ความสามารถของตนเอง โดยการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการเข้ารับการอมรม สัมมนา ประชุมเชิงปฏิบัติการในเรื่องที่ตนสนใจและเกี่ยวข้องกับภาระงานในหน้าที่ และ สนับสนุนให้บุคลากรนำความรู้ที่ได้รับมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน นอกจากนี้ยังมีการถ่ายทอดความรู้จากผู้บริหารที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานและการปฏิบัติตน 7-7.1-MR-10 แผนพัฒนาบุคลากร ปีงบประมาณ 2555
7-7.1-MR-11 รายงานผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาบุคลากรปีงบประมาณ 2555
6
ผู้บริหารบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาล โดยคำนึงถึงประโยชน์ของสถาบันและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผู้บริหารสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มีการบริหารงานโดยยึดหลักธรรมาภิบาล ตามความในมาตรา 3/1 ของพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และสังคมที่ดี พ.ศ. 2546 ดังนี้
1. หลักประสิทธิผล (Effectiveness) มีการจัดทำแผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติราชการประจำปี มีการกำหนดยุทธศาสตร์และเป้าประสงค์ที่ชัดเจน มีกระบวนการปฏิบัติงาน และระบบงานที่เป็นมาตรฐาน มีการติดตามและประเมินผล มีการพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ
2. หลักประสิทธิภาพ (Efficiency)  มีการจัดทำคู่มือคุณภาพ คู่มือนโยบายการกำกับดูแลองค์กรที่ดี คู่มือการปฏิบัติงานรายบุคคล กระบวนการทำงานและให้บุคลากรจัดทำแผนปฏิบัติราชการรายบุคคล พร้อมทั้งให้มีการรายงานผลการปฏิบัติราชการตามแผน
3. หลักการตอบสนอง (Responsiveness)  จากการบริหารงานของคณะกรรมการบริหารสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน ได้ให้แนวทางในการปฏิบัติงานตามภารกิจหลัก และภารกิจรอง โดยให้มุ่งเน้นการดำเนินงานที่สามารถตอบสนองความต้องการ/ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายในระยะ เวลาที่กำหนดดังวิสัยทัศน์ที่ว่า “สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียนเป็นองค์กรที่ทันสมัย ให้บริการถูกต้อง รวดเร็ว” โดยมีการจัดทำขั้นตอน “การลดรอบการทำงาน” เพื่อใช้เป็นแนวทางการดำเนินงานตามภารกิจหลักร่วมกัน
4. หลักภาระรับผิดชอบ (Accountability) 
 มีการถ่ายทอดตัวชี้วัด เป้าหมาย และมอบนโยบายการดำเนินงานให้บุคลากรภายในหน่วยงานทราบ  รวมทั้งสร้างการตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของบุคลากร 5. หลักความโปร่งใส (Transparency) มีการจัดทำระบบฐานข้อมูลสารสนเทศด้านการบริหารการใช้จ่ายงบประมาณ การบริหารความเสี่ยง ซึ่งบุคคลภายนอกจะได้ทราบทุกขั้นตอน กระบวนการต่าง ๆ ในการดำเนินงานของสำนักฯ และมีการติดตาม ตรวจสอบโดยหน่วยงานตรวจสอบภายในอย่างต่อเนื่อง
6. หลักการมีส่วนร่วม ( Participation) ในการดำเนินงานของสำนักฯ มีการกำหนดขั้นตอนแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ชัดเจน และเปิดโอกาสให้นักศึกษา ผู้ปกครองและบุคคลภายนอก มีส่วนร่วมในการพัฒนาการดำเนินงานและให้ข้อเสนอแนะแก่หน่วยงาน ในรูปของคณะกรรมการรับข้อเสนอแนะและเรื่องอื่น ๆ จากนักศึกษา ผู้ปกครอง และบุคคลภายนอก พร้อมทั้งเสนอแนวทางในการดำเนินงานที่สร้างความพึงพอใจสูงสุดแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
7. หลักการกระจายอำนาจ (Decentralization) มีการบริหารงานตามกฎกระทรวงว่าด้วยการแบ่งส่วนราชการในมหาวิทยาลัย โดยสำนักมี ๔ กลุ่มงาน มีการแต่งตั้งหัวหน้ากลุ่มงาน และหัวหน้างานเพื่อดูแลรับผิดชอบภารกิจของกลุ่มงาน โดยมีการมอบอำนาจหน้าที่ให้รองผู้อำนวยการกำกับดูแลแต่ละกลุ่มงาน และมีการแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจของสำนัก
8. หลักนิติธรรม (Rule of Law)  ผู้บริหารปฏิบัติหน้าที่ และขับเคลื่อนงานของสำนักตามกรอบของกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด เช่น ปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.๒๕๔๖ ว่าด้วยการรายงานผลการปฏิบัติราชการต่อสาธารณะ และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ ว่าด้วยการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาและผู้บริหาร บุคลากรปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพหน่วยงาน
9. หลักความเสมอภาค (Equity)  ในการปฏิบัติงานของผู้บริหารและบุคลากรภายในสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียนมีการให้บริการนักศึกษา ประชาชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน
10. หลักมุ่งเน้นฉันทามติ (Consensus Oriented)  มีการประชุมบุคลากรภายในหน่วยงาน เพื่อให้ข้อคิดเห็นในการปฏิบัติงานต่าง ๆ ของสำนัก
7-7.1-MR-12 แนวปฏิบัติในการลดรอบการทำงาน
7-7.1-MR-13 บันทึกข้อความ เรื่องขอรับการตรวจสอบภายใน
7-7.1-MR-14 คู่มือการกำกับดูแลองค์การที่ดี
7-7.1-MR-15 http://regis.nsru.ac.th/commun/webboard/  เว็บบอร์ดทะเบียนสำหรับนักศึกษา
7-7.1-MR-16 http://regis.nsru.ac.th/commun/free_wb/  เว็บบอร์ดทะเบียนสำหรับบุคคลภายนอก
7-7.1-MR-4 apr.nsru.ac.th/     
7
สภาสถาบันประเมินผลการบริหารงานของสถาบันและผู้บริหารนำผลการประเมินไปปรับปรุงการบริหารงานอย่างเป็นรูปธรรม มหาวิทยาลัยฯ โดยคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย ได้แต่งตั้งคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลงานของสำนักฯ  โดยมีการตรวจสอบ ประเมินผลการปฏิบัติงาน และมีการแจ้งผลการประเมินให้แก่หน่วยงานทราบ  ซึ่งมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี ในปีงบประมาณ 2554 คณะกรรมการติดตามฯ ได้ให้ข้อเสนอแนะ และคณะผู้บริหารของสำนักได้นำข้อเสนอแนะดังกล่าวมาปรับปรุง พัฒนาการดำเนินงาน 7-7.1-MR-17 ข้อเสนอแนะของคณะกรรมการติดตามฯ
7-7.1-MR-18 รายงานผลการปรับปรุงตามข้อเสนอแนะ ฯ

ผลการประเมินของคณะกรรมการประเมินปีที่แล้ว  :  
ลำดับตัวบ่งชี้
ผลการดำเนินงานคะแนนอิงเกณฑ์การประเมินตัวบ่งชี้  สกอ.
ตัวบ่งชี้ที่ 7.1
เป้าหมายที่กำหนด
ผลของเป้าหมายที่ได้
การบรรลุเป้าหมาย
ค่าคะแนนที่ได้
7 ข้อ
7 ข้อ
บรรลุ
5 คะแนน

ผลการประเมินตนเองปีนี้
ลำดับตัวบ่งชี้
ผลการดำเนินงานคะแนนอิงเกณฑ์การประเมินตัวบ่งชี้  สกอ.
ตัวบ่งชี้ที่ 7.1
เป้าหมายที่กำหนด
ผลของเป้าหมายที่ได้
การบรรลุเป้าหมาย
ค่าคะแนนที่ได้
7 ข้อ
7 ข้อ
บรรลุ
5 คะแนน

ผลการประเมินของคณะกรรมการปีนี้  
ลำดับตัวบ่งชี้
ผลการดำเนินงานคะแนนอิงเกณฑ์การประเมินตัวบ่งชี้  สกอ.
ตัวบ่งชี้ที่ 7.1
เป้าหมายที่กำหนด
ผลของเป้าหมายที่ได้
การบรรลุเป้าหมาย
ค่าคะแนนที่ได้
7 ข้อ
6 ข้อ
ไม่บรรลุ
4 คะแนน

จุดแข็ง
  • ผู้บริหารมีความสนใจ เอาใจใส่ในการบริหารงานและแสดงบทบาทได้อย่างเข้มแข็ง
  • มีการกระจายอำนาจไปสู่บุคลากรภายในสำนัก
  • เปิดโอกาสให้บุคลากรภายในมีส่วนในการขับเคลื่อนองค์กรให้ก้าวไปสู่การพัฒนา
  • มีระบบและกลไกการบริหารทรัพยากรบุคคลอย่างเป็นรูปธรรม
จุดอ่อน
  • ไม่มี
ข้อเสนอแนะ
  • ไม่มี