องค์ประกอบที่ 5การบริหารและการจัดการ
ตัวบ่งชี้ที่ 5.1การบริหารของหน่วยงานเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจกลุ่มสถาบันและเอกลักษณ์ของหน่วยงาน
ชนิดตัวบ่งชี้กระบวนการ
ผู้กำกับดูแลตัวชี้วัด :
อาจารย์ปราณี เนรมิตร
ดร.บัณฑิตา อินสมบัติ
ผู้จัดเก็บข้อมูล  :
หัวหน้าสำนักงานผู้อำนวยการ
หัวหน้ากลุ่มงาน 3 กลุ่มงาน
โทรศัพท์ : 0-5621-9100  ต่อ  1201 โทรศัพท์ : 0-5621-9100  ต่อ 1203

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1
คะแนน 2
คะแนน 3
คะแนน 4
คะแนน 5
มีการดำเนินการ
1 ข้อ
มีการดำเนินการ
2 ข้อ
มีการดำเนินการ
3 ข้อ
มีการดำเนินการ
4 หรือ 5 ข้อ
มีการดำเนินการ
6 ข้อ

ผลการประเมินตนเอง

เกณฑ์ประเมินข้อที่ 1. พัฒนาแผนกลยุทธ์จากผลการวิเคราะห์ TOWS โดยเชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์และสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของสำนัก สถาบัน รวมทั้งสอดคล้องกับกลุ่มสถาบันและเอกลักษณ์ของหน่วยงาน และพัฒนาไปสู่แผนกลยุทธ์ทางการเงินและแผนปฏิบัติการประจำปีตามกรอบเวลาเพื่อให้บรรลุตามตัวบ่งชี้และเป้าหมายของแผนกลยุทธ์และเสนอผู้บริหารระดับสถาบันเพื่อพิจารณาอนุมัติ
ผลการดำเนินงาน
            สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มีกระบวนการพัฒนาแผนกลยุทธ์ระดับต่างๆ จากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน-ภายนอก ร่วมกับวิสัยทัศน์ นโยบาย ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย และพัฒนาไปสู่การจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี แผนกลยุทธ์ทางการเงิน เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานให้บรรลุเป้าประสงค์ และตัวชี้วัดของหน่วยงาน ร่วมทั้งสนับสนุนการดำเนินงานในระดับมหาวิทยาลัยให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยมีกระบวนการดำเนินการ ดังนี้
            1. รวบรวมข้อมูลพื้นฐาน เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการทบทวนการดำเนินงาน อันได้แก่ วิสัยทัศน์, พันธกิจของมหาวิทยาลัยและของหน่วยงาน, นโยบายการบริหารงานและจุดเน้นจากสภามหาวิทยาลัย, ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในของหน่วยงาน, ผลการติดตามตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานจากคณะกรรมการภายนอกที่ได้รับการแต่งตั้งจากสภามหาวิทยาลัย, ผลการดำเนินงานของหน่วยงานจากปีที่ผ่านมา, ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บริการของหน่วยงาน
            2. ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการทบทวนแผนยุทธศาสตร์ และแผนปฏิบัติราชการประจำปี สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน ประจำปีงบประมาณ 2559 เพื่อกำหนดนโยบาย กรอบแนวทางการดำเนินงานในการทบทวนแผนกลยุทธ์ต่างๆ จากข้อมูลพื้นฐานตามข้อ 1 ให้มีความเชื่อมโยง สอดคล้องกับลักษณะการดำเนินงานของสำนัก และสนับสนุนการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย
            3. จัดประชุมคณะกรรมการฯ ร่วมกันวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน-ภายนอก เพื่อให้ทราบถึงสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป และส่งผลกระทบต่อหน่วยงาน พร้อมทั้งศึกษาถึงสถานการณ์ที่เกิดจากการประเมินสภาพแวดล้อม โดย TOWS ที่ได้จากการวิเคราะห์มีรายละเอียด ดังนี้

SO (จุดแข็งและโอกาส)
+บุคลากรส่วนใหญ่มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์สิ่งใหม่อย่างต่อเนื่อง
0.6
+หน่วยงานภายนอกมีการประชุม อบรม เพื่อพัฒนางานที่ทำอยู่อย่างต่อเนื่อง
0.6
+ระบบการบริหารงานเน้นการมีส่วนร่วมของบุคลากร และกระจายอำนาจในการบริหารงาน
0.4
+ความต้องการสมัครเข้าเรียนในบางสาขามีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น
0.6
+กำหนดภาระงานและความรับผิดชอบแก่ผู้ปฏิบัติอย่างชัดเจน
0.4
+มีแหล่งทรัพยากรและเทคโนโลยีสารสนเทศสนับสนุนการเรียนรู้ภายนอกมากขึ้น
0.8
+มีเครื่องมือ/ทรัพยากรที่สนับสนุนการปฏิบัติงานที่ทันสมัย
0.3
+มหาวิทยาลัยให้แต่ละหน่วยงานมีอิสระในการบริหารงานภายใต้นโยบายของมหาวิทยาลัย
0.6
+บุคลากรส่วนใหญ่มีศักยภาพสูง มีความขยัน อดทน ทำงานหนัก
0.3
+การเพิ่มช่องทางการให้บริการจากหน่วยงานภายนอก
0.3
+มีการพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ และระบบงานให้บริการมีความทันสมัย สอดคล้องกับระเบียบ ประกาศของมหาวิทยาลัย
0.8
+การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี
0.4
รวม=2.8 เฉลี่ย=0.47 รวม=3.3 เฉลี่ย=0.55

ST (จุดแข็งและภัยคุกคาม)
+บุคลากรส่วนใหญ่มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์สิ่งใหม่อย่างต่อเนื่อง
0.6
+การแข่งขันที่เพิ่มขึ้นจากสถาบันการศึกษาทั้งในพื้นที่บริการและนอกพื้นที่บริการ
0.9
+ระบบการบริหารงานเน้นการมีส่วนร่วมของบุคลากร และกระจายอำนาจในการบริหารงาน
0.4
+ทัศนคติ มุมมองสังคมภายนอกที่มีต่อบัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏในเชิงลบ
0.6
+กำหนดภาระงานและความรับผิดชอบแก่ผู้ปฏิบัติอย่างชัดเจน
0.4
+นโยบายและการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริหารงานของรัฐบาล
0.6
+มีเครื่องมือ/ทรัพยากรที่สนับสนุนการปฏิบัติงานที่ทันสมัย
0.3
+การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร ส่งผลให้ประชากรวัยเรียนลดลง
1.2
+บุคลากรส่วนใหญ่มีศักยภาพสูง มีความขยัน อดทน ทำงานหนัก
0.3
+มีการพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ และระบบงานให้บริการมีความทันสมัย สอดคล้องกับระเบียบ ประกาศของมหาวิทยาลัย
0.8
รวม 2.8 เฉลี่ย=0.46 รวม 3.3 เฉลี่ย=0.83

WO (จุดอ่อนและโอกาส)
+ขาดการประชาสัมพันธ์เชิงรุก ในงานให้บริการ
0.8
+หน่วยงานภายนอกมีการประชุม อบรม เพื่อพัฒนางานที่ทำอยู่อย่างต่อเนื่อง
0.6
+การสื่อสารระหว่างหน่วยงานภายในไม่มีประสิทธิภาพ
0.6
+ความต้องการสมัครเข้าเรียนในบางสาขามีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น
0.6
+พื้นที่ให้บริการและสภาพแวดล้อมภายในแออัด
0.6
+มีแหล่งทรัพยากรและเทคโนโลยีสารสนเทศสนับสนุนการเรียนรู้ภายนอกมากขึ้น
0.8
+งบประมาณสนับสนุนการให้บริการไม่เพียงพอ
0.8
+มหาวิทยาลัยให้แต่ละหน่วยงานมีอิสระในการบริหารงานภายใต้นโยบายของมหาวิทยาลัย
0.6
+กระบวนการ ขั้นตอนการทำงานตามระเบียบ ข้อบังคับ มีความซับซ้อน และใช้เวลาในการดำเนินงานมาก
0.8
+การเพิ่มช่องทางการให้บริการจากหน่วยงานภายนอก
0.3
+การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี
0.4
รวม 3.6 เฉลี่ย=0.72 รวม=3.3 เฉลี่ย=0.55

WT (จุดอ่อนและภัยคุกคาม)
+ขาดการประชาสัมพันธ์เชิงรุก ในงานให้บริการ
0.8
+การแข่งขันที่เพิ่มขึ้นจากสถาบันการศึกษาทั้งในพื้นที่บริการและนอกพื้นที่บริการ
0.9
+การสื่อสารระหว่างหน่วยงานภายในไม่มีประสิทธิภาพ
0.6
+ทัศนคติ มุมมองสังคมภายนอกที่มีต่อบัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏในเชิงลบ
0.6
+พื้นที่ให้บริการและสภาพแวดล้อมภายในแออัด
0.6
+นโยบายและการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริหารงานของรัฐบาล
0.8
+งบประมาณสนับสนุนการให้บริการไม่เพียงพอ
0.8
+การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร ส่งผลให้ประชากรวัยเรียนลดลง
1.2
+กระบวนการ ขั้นตอนการทำงานตามระเบียบ ข้อบังคับ มีความซับซ้อน และใช้เวลาในการดำเนินงานมาก
0.8
รวม 3.6 เฉลี่ย=0.72 รวม 3.3 เฉลี่ย=0.83

            4. จากการวิเคราะห์ TOWS เพื่อใช้ในการกำหนดยุทธศาสตร์ของหน่วยงานนั้น คณะกรรมการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ได้เลือกใช้ผลการวิเคราะห์ และเสนอกลยุทธ์จากผลการวิเคราะห์ ดังนี้

ตารางที่ 1 การวิเคราะห์ตาม TOWS Matrix ในด้าน WT

ยุทธศาสตร์เชิงรับ (WT)
W จุดอ่อนภายในองค์กร T อุปสรรคภายนอก
1. ขาดการประชาสัมพันธ์เชิงรุก ในงานให้บริการ
2. การสื่อสารระหว่างหน่วยงานภายในไม่มีประสิทธิภาพ
3. พื้นที่ให้บริการและสภาพแวดล้อมภายในแออัด
4. งบประมาณสนับสนุนการให้บริการไม่เพียงพอ
5. กระบวนการ ขั้นตอนการทำงานตามระเบียบ ข้อบังคับ มีความซับซ้อน และใช้เวลาในการ
1. การแข่งขันที่เพิ่มขึ้นจากสถาบันการศึกษาทั้งในพื้นที่บริการและนอกพื้นที่บริการ
2. ทัศนคติ มุมมองสังคมภายนอกที่มีต่อบัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏในเชิงลบ
3. นโยบายและการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริหาร งานของมหาวิทยาลัย และรัฐบาล
4. การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร ส่งผลให้ประชากรวัยเรียนลดลง
ยุทธศาสตร์เชิงรับ (WT)
กลยุทธ์ที่เสนอ
1. สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยให้เข้มแข็ง
2. เร่งพัฒนาช่องทางการติดต่อสื่อสารระหว่างหน่วยงาน/มหาวิทยาลัย กับชุมชนและท้องถิ่น
3. ปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงานของบุคลากรให้มีความคล่องตัว ลดระยะเวลาการปฏิบัติ

ตารางที่ 2 การวิเคราะห์ตาม TOWS Matrix ในด้าน WO

ยุทธศาสตร์เชิงพัฒนา (WO)
W จุดอ่อนภายในองค์กร O โอกาสภายนอก
1. ขาดการประชาสัมพันธ์เชิงรุก ในงานให้บริการ
2. การสื่อสารระหว่างหน่วยงานภายในไม่มีประสิทธิภาพ
3. พื้นที่ให้บริการและสภาพแวดล้อมภายในแออัด
4. งบประมาณสนับสนุนการให้บริการไม่เพียงพอ
5. กระบวนการ ขั้นตอนการทำงานตามระเบียบ ข้อบังคับ มีความซับซ้อน และใช้เวลาในการ
1. หน่วยงานภายนอกมีการประชุม อบรม เพื่อพัฒนางานที่ทำอยู่อย่างต่อเนื่อง
2. ความต้องการสมัครเข้าเรียนในบางสาขามีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น
3. มีแหล่งทรัพยากรและเทคโนโลยีสารสนเทศสนับสนุนการเรียนรู้ภายนอกมากขึ้น
4. มหาวิทยาลัยให้แต่ละหน่วยงานมีอิสระในการบริหารงานภายใต้นโยบายของมหาวิทยาลัย
5. การเพิ่มช่องทางการให้บริการจากหน่วยงานภายนอก
6. การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี
ยุทธศาสตร์เชิงพัฒนา (WO)
กลยุทธ์ที่เสนอ
1. สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยให้เข้มแข็ง
2. เร่งพัฒนาช่องทางการติดต่อสื่อสารระหว่างหน่วยงาน/มหาวิทยาลัย กับชุมชนและท้องถิ่น
3. สร้างค่านิยมในการพัฒนาตนเอง และส่งเสริมให้บุคลากรปฏิบัติงานอย่างมีเป้าหมาย

ตารางที่ 3 การวิเคราะห์ตาม TOWS Matrix ในด้าน ST

ยุทธศาสตร์เชิงป้องกัน (ST)
S จุดแข็งภายในองค์กร T อุปสรรคภายนอก
1. บุคลากรส่วนใหญ่มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์สิ่งใหม่อย่างต่อเนื่อง
2. ระบบการบริหารงานเน้นการมีส่วนร่วมของบุคลากร และกระจายอำนาจในการบริหารงาน
3. กำหนดภาระงานและความรับผิดชอบแก่ผู้ปฏิบัติอย่างชัดเจน
4. มีเครื่องมือ/ทรัพยากรที่สนับสนุนการปฏิบัติงานที่ทันสมัย
5. บุคลากรส่วนใหญ่มีศักยภาพสูง มีความขยัน อดทน ทำงานหนัก
6. มีการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ และระบบงานให้บริการมีความทันสมัย สอดคล้องกับระเบียบ ประกาศของมหาวิทยาลัย
1. การแข่งขันที่เพิ่มขึ้นจากสถาบันการศึกษาทั้งในพื้นที่บริการและนอกพื้นที่บริการ
2. ทัศนคติ มุมมองสังคมภายนอกที่มีต่อบัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏในเชิงลบ
3. นโยบายและการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริหารงานของมหาวิทยาลัย และรัฐบาล
4. การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร ส่งผลให้ประชากรวัยเรียนลดลง
ยุทธศาสตร์เชิงป้องกัน (ST)
กลยุทธ์ที่เสนอ
1. เร่งพัฒนาช่องทางการติดต่อสื่อสารระหว่างหน่วยงาน/มหาวิทยาลัย กับชุมชนและท้องถิ่น

ตารางที่ 4 การวิเคราะห์ตาม TOWS Matrix ในด้าน SO

ยุทธศาสตร์เชิงรุก (SO)
S จุดแข็งภายในองค์กร O โอกาสภายนอก
1. บุคลากรส่วนใหญ่มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์สิ่งใหม่อย่างต่อเนื่อง
2. ระบบการบริหารงานเน้นการมีส่วนร่วมของบุคลากร และกระจายอำนาจในการบริหารงาน
3. กำหนดภาระงานและความรับผิดชอบแก่ผู้ปฏิบัติอย่างชัดเจน
4. มีเครื่องมือ/ทรัพยากรที่สนับสนุนการปฏิบัติงานที่ทันสมัย
5. บุคลากรส่วนใหญ่มีศักยภาพสูง มีความขยัน อดทน ทำงานหนัก
6. มีการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ และระบบงานให้บริการมีความทันสมัย สอดคล้องกับระเบียบ ประกาศของมหาวิทยาลัย
1. หน่วยงานภายนอกมีการประชุม อบรม เพื่อพัฒนางานที่ทำอยู่อย่างต่อเนื่อง
2. ความต้องการสมัครเข้าเรียนในบางสาขามีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น
3. มีแหล่งทรัพยากรและเทคโนโลยีสารสนเทศสนับสนุนการเรียนรู้ภายนอกมากขึ้น
4. มหาวิทยาลัยให้แต่ละหน่วยงานมีอิสระในการบริหารงานภายใต้นโยบายของมหาวิทยาลัย
5. การเพิ่มช่องทางการให้บริการจากหน่วยงานภายนอก
6. การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี
ยุทธศาสตร์เชิงรุก (SO)
กลยุทธ์ที่เสนอ
1. พัฒนากระบวนการปฏิบัติงาน โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาสนับสนุนการดำเนินงานในทุกขั้นตอน
2. พัฒนาระบบงานให้บริการที่มีความหลากหลาย ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและสนองความต้องการของผู้รับบริการ
3. พัฒนาระบบสนับสนุนการปฏิบัติงานที่ทันสมัย เข้าถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

                        คณะกรรมการทำการทบทวนยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ กลยุทธ์ที่ได้จากการทำ TOWS Matrix และกำหนดมาตรการดำเนินการ ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายแผนยุทธศาสตร์ ดังนี้
                        ประเด็นยุทธศาสตร์ ที่ 1 ส่งเสริมการจัดการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษา
                              เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์
                                    1. หลักสูตรการศึกษามีการพัฒนาตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา
                                    2. มีความพร้อมในการสนับสนุนการจัดการศึกษา
                              กลยุทธ์
                                    1. ส่งเสริมการพัฒนา/ปรับปรุงหลักสูตร และสิ่งสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน
                                    2. สร้างโอกาสทางการศึกษาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในท้องถิ่นอย่างทั่วถึง
                                    3. พัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอน และการฝึกประสบการณ์วิชาชีพที่ได้มาตรฐาน
                        ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 ส่งเสริมการพัฒนางานบริการของหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพ
                              เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์
                                    1. ระบบให้บริการมีความถูกต้อง รวดเร็ว สร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
                                    2. ระบบสารสนเทศสนับสนุนงานด้านวิชาการ งานทะเบียนและประมวลผลมีความทันสมัย ข้อมูลถูกต้องเชื่อถือได้
                              กลยุทธ์
                                    1. ปรับปรุงขั้นตอนการให้บริการตามพันธกิจของหน่วยงาน
                                    2. พัฒนาช่องทางการสื่อสารระหว่างหน่วยงานกับผู้รับบริการ
                                    3. พัฒนาระบบสารสนเทศที่สนับสนุนการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยและการดำเนินงานของหน่วยงาน
                                    4. เสริมสร้างวัฒนธรรมการให้บริการที่เป็นเลิศ
                        ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริมการบริหารจัดการที่ได้มาตรฐานและเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
                              เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์
                                    หน่วยงานมีระบบบริหารจัดการที่ได้มาตรฐาน ยึดหลักธรรมาภิบาล
                              กลยุทธ์
                                    1.บริหารจัดการงบประมาณอย่างเป็นระบบ
                                    2.พัฒนาบุคลากรให้มีสมรรถนะที่สูงขึ้น
                                    3.สร้างมาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของหน่วยงาน
                                    4. บริหารจัดการเชิงรุกอย่างมีธรรมาภิบาล
                                    5. สร้างวัฒนธรรมในการแสวงหาความรู้ด้วยกระบวนการที่หลากหลาย

ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ ผู้รับผิดชอบ
2560 2561 2562 2563 2564
1. ร้อยละของจำนวนหลักสูตรที่มีการจัดการเรียนการสอน โดยผู้เรียนสามารถเรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริง (ตัวชี้วัดของมหาวิทยาลัย) 85 90 95 100 100 กลุ่มงานส่งเสริมวิชาการ
2. สัดส่วนผู้เข้าเรียนระดับอุดมศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ : ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (ตัวชี้วัดของมหาวิทยาลัย) 33 : 67 35 : 65 35 : 65 35 : 65 35 : 65 กลุ่มงานทะเบียนและประมวลผล
3. การเพิ่มขึ้นของร้อยละของอาจารย์ประจำที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการเทียบกับปีที่ผ่านมา (เกณฑ์การประกันคุณภาพ 2553-2556) ร้อยละ 4.8 ร้อยละ 7.2 ร้อยละ 9.6 ร้อยละ 12 ร้อยละ 12 กลุ่มงานบริหาร
4. ระดับความพึงพอใจการให้บริการในภาพรวม 3.50 4.00 4.50 5.00 5.00 กลุ่มงานบริหาร
5. ร้อยละความสำเร็จของการพัฒนาบุคลากรด้านการให้บริการ 94 96 98 100 100 กลุ่มงานบริหาร
6. ร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในการรักษามาตรฐานระยะเวลาให้บริการ 80 85 90 95 100 กลุ่มงานทะเบียนและประมวลผล
7. ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้สารสนเทศ 3.50 4.00 4.50 5.00 5.00 กลุ่มงานทะเบียนและประมวลผล
8.ร้อยละความสำเร็จของการเบิกจ่ายงบประมาณภาพรวม ร้อยละ 80 ร้อยละ 85 ร้อยละ 90 ร้อยละ 95 ร้อยละ 100 กลุ่มงานบริหาร
9.ร้อยละของบุคลากรที่ได้รับการพัฒนา ร้อยละ 90 ร้อยละ 90 ร้อยละ 95 ร้อยละ 100 ร้อยละ 100 กลุ่มงานบริหาร
10.ผลคะแนนการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน 4.00 4.50 4.50 5.00 5.00 กลุ่มงานบริหาร
11. ระดับความสำเร็จของการจัดการความเสี่ยง 3.51 4.00 4.51 5.00 5.00 กลุ่มงานบริหาร

            5. เมื่อได้แผนยุทธศาสตร์ 5 ปี (2560-2564) หน่วยงานได้แปลงแผนยุทธศาสตร์ ไปสู่การจัดทำแผนปฏิบัติการด้านต่างๆ ดังนี้
                        5.1 แผนยุทธศาสตร์กับการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปี คณะกรรมการฯ ทำการแปลงแผนยุทธศาสตร์ 5 ปี มาจัดทำเป็นแผนปฏิบัติราชการประจำปี โดยนำเป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ มาตรการ และตัวชี้วัดมาเป็นข้อมูลตั้งต้น โดยกำหนดกิจกรรม/โครงการ และงบประมาณ ในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้บรรลุตามตัวชี้วัดและเป้าประสงค์นั้นพร้อมทั้งกำหนดผู้รับผิดชอบการดำเนินงาน
                        5.2 แผนยุทธศาสตร์กับการจัดทำแผนการเงิน ดำเนินการโดยนำรายละเอียดกิจกรรม/โครงการที่กำหนดไว้ตามแผนยุทธศาสตร์ มาจัดทำแผนงบประมาณ เพื่อจัดทำคำขอตั้งงบประมาณ
            6. เสนอแผนยุทธศาสตร์ 5 ปี (2560-2564) แผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ 2560 แผนการเงิน ปีงบประมาณ 2560 แก่คณะกรรมการบริหารสำนักเพื่อตรวจทานความถูกต้อง เหมาสม ก่อนเสนอต่อคณะกรรมการประจำสำนัก พิจารณาให้ความเห็นชอบ ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2560 เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2560 และเสนอต่อมหาวิทยาลัยเพื่อขออนุมัติแผน ตามบันทึกข้อความที่ 057/2560 ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2560
            7. เมื่อได้รับการอนุมัติแผนดังกล่าว ผู้บริหารมีการกำกับติดตาม ให้การดำเนินงานเป็นไปตามที่กำหนด ผ่านช่องทางต่าง ๆ ดังนี้
                        7.1 ติดตามผลการใช้งบประมาณ จากรายงานการเบิกจ่ายงบประมาณ รอบ 6 เดือน 9 เดือน และ 12 เดือน นอกจากนี้ ผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติงานสามารถติดตามความเคลื่อนไหวการใช้งบประมาณได้ทุกเวลา ผ่านระบบบัญชี 3 มิติ
                        7.2 รายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการ ณ สิ้นปีงบประมาณ
                        7.3 ติดตามผลการปฏิบัติงาน จากการสอบถามแบบเป็นทางการในรูปของการประชุมบุคลากร และแบบไม่เป็นทางการ เช่นการประชุมกลุ่มย่อย และรายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี เพื่อติดตามการดำเนินงาน รับทราบปัญหา และร่วมกันหาแนวทางแก้ไขในกรณีที่เกิดปัญหา
            เอกสารอ้างอิง
                        1. แผนยุทธศาสตร์ 5 ปี พ.ศ. 2560-2564
                        2. คำสั่งเรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการทบทวนแผนยุทธศาสตร์ฯ
                        3. แผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ 2560
                        4. แผนกลยุทธ์ทางการเงิน ปีงบประมาณ 2560
                        5. รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักฯ
                        6. รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำสำนัก ครั้งที่ 1/2560
                        7. บันทึกข้อความขออนุมัติแผนฯ ต่อมหาวิทยาลัย
                        8. รายงานการเบิกจ่ายงบประมาณ
                        9. รายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการ ปีงบประมาณ 2559
เกณฑ์ประเมินข้อที่ 3. ดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยงที่เป็นผลจากการวิเคราะห์และปัจจัยเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากปัจจัยภายนอก หรือปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามพันธกิจของสำนักฯ และให้ระดับความเสี่ยงลดลงจากเดิม
ผลการดำเนินงาน
            หน่วยงานมีแนวทางการจัดการความเสี่ยง ตามนโยบายของมหาวิทยาลัย โดยใช้กระบวนการจัดการความเสี่ยงและควบคุมภายในตามแบบ COSO-ERM โดยดำเนินการ ดังนี้้
            1. ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน เพื่อดำเนินงานและติดตามการผลการการจัดการความเสี่ยงภายในหน่วยงาน
            2. คณะกรรมการฯ สำรวจปัจจัยที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อการดำเนินงานของหน่วยงาน และมหาวิทยาลัย โดยเก็บข้อมูลจากบุคลากรทุกกลุ่มงานภายในหน่วยงาน ตามแบบฟอร์ม RM 1
            3. คณะกรรมการฯ รวบรวมข้อมูลที่ได้ ตามแบบฟอร์ม RM1 มาทำการคัดกรองแยกเรื่องที่มีลักษณะเป็นปัญหากับเรื่องที่มีลักษณะเป็นปัจจัยเสี่ยง โดยนำเรื่องที่เป็นปัจจัยเสี่ยงมาจัดลำดับความเสี่ยง ได้แก่
                        ความเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายใน ได้แก่ นักศึกษาไม่สำเร็จการศึกษาตามระยะเวลาปกติสาเหตุเนื่องมาจาก
                              1. ผู้เรียนไม่ตรวจสอบโครงสร้างหลักสูตร และไม่ติดตามผลการเรียนที่ยังไม่สมบูรณ์ของตนเอง
                              2. เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องขาดความรอบครอบในการตรวจทานโครงสร้างหลักสูตร
                              3. นักศึกษาไม่จองรายวิชาเรียน และชำระค่าลงทะเบียนเรียนตามระยะเวลาที่กำหนดตามปฏิทินวิชาการ
                        ความเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายนอก ได้แก่ จำนวนนักศึกษาใหม่ลดลง ไม่เป็นไปตามแผนการรับ (ดำเนินการต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา) สาเหตุเนื่องมาจาก
                              1. จำนวนประชากรในวัยเรียนลดลง
                              2. การขยายเขตพื้นที่บริการของมหาวิทยาลัยขนาดใหญ่เข้ามาในพื้นที่
            4. คณะกรรมการ นำข้อมูลที่ได้มาจัดทำแผนการจัดการความเสี่ยง เพื่อกำหนดแนวทางรับมือกับปัจจัยเสี่ยงนั้น และเสนอคณะกรรมการเพื่อพิจารณาอนุมัติ ในคราวประชุมครั้งที่ 2/2559
            5. ดำเนินกิจกรรม/โครงการตามแนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ได้กำหนดไว้ และรายงานความก้าวหน้าตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งจากการรายงานความก้าวหน้าดังกล่าว พบว่า ความเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายนอก เรื่อง จำนวนนักศึกษาใหม่ลดลง ไม่เป็นไปตามแผนการรับ นั้นยังไม่สามารถขจัดให้ลดลงได้ จำนวนผู้สมัครเรียนในปีการศึกษา 2560 ยังมีจำนวนลดลงจากเดิม และจำนวนนักศึกษาใหม่ที่ลาออก ภายหลังจากการรายงานตัว ยังมีอย่างต่อเนื่อง หน่วยงานจึงดำเนินการทบทวนแผนการดำเนินการ และวางกลยุทธ์ในการขจัดปัจจัยเสียงดังกล่าวให้ลดลง โดยกำหนดรายละเอียดโครงการกิจกรรม เชิงรุกมากยิ่งขึ้นในปีต่อไป
            เอกสารอ้างอิง
                        1. คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการจัดการความเสี่ยงและควบคุมภายใน
                        2. แผนการจัดการความเสี่ยง ปีงบประมาณ 2560
                        3. รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำสำนัก ครั้งที่ 1/2560
                        4. รายงานการผลการจัดการความเสี่ยงรอบ 6 เดือน
                        5. รายงานสถิติการลาออกของนักศึกษาใหม่ รหัส 60
                        6. ร่าง สนว.61 รายละเอียดโครงการส่งเสริมการผลิตบัณฑิตภาคปกติ
เกณฑ์ประเมินข้อที่ 4. บริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลอย่างครบถ้วนทั้ง 10 ประการที่อธิบายการดำเนินงานอย่างชัดเจน
ผลการดำเนินงาน
            จากพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และสังคมที่ดี พ.ศ. 2546 คณะผู้บริหารสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียนได้นำมาเป็นแนวทางในการบริหารงาน ดังนี้
            1) หลักประสิทธิผล (Effectiveness) คณะผู้บริหารสำนักฯ บริหารงานโดยมุ่งเน้นผลการปฏิบัติราชการที่บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของแผนการปฏิบัติราชการตามที่ได้รับงบประมาณมาดำเนินการ มีการกำหนดทิศทางยุทธศาสตร์และเป้าประสงค์ กระบวนการปฏิบัติงานและระบบงานที่เป็นมาตรฐาน รวมถึงมีการติดตามประเมินผลและพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ ส่งผลให้การปฏิบัติงานของหน่วยงานบรรลุผลสำเร็จตามแผนฯ พร้อมทั้งแจ้งผลการดำเนินงานให้บุคลากรภายในหน่วยงานได้รับทราบ และเสนอต่อคณะกรรมการประจำสำนัก และมีการพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ จากการบริหารงาน โดยเทียบเคียงระหว่างผลการดำเนินงานและค่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ตามแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2559 ที่ผ่านมา สรุปผลได้ดังนี้
            ตัวชี้วัดตามประเด็นยุทธศาสตร์ของแผนปฏิบัติราชการ
จำนวนตัวชี้วัดของแผน 12 ตัวชี้วัด
บรรลุผลสำเร็จ จำนวน 9 ตัวชี้วัด
ไม่บรรลุผลสำเร็จ จำนวน 3 ตัวชี้วัด
ผลสำเร็จคิดเป็นร้อยละ 75
            2. หลักประสิทธิภาพ ผู้บริหารสำนักฯ มีการกำกับติดตามดูแลการใช้ทรัพยากรในแต่ละด้านให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น การบริหารงบประมาณให้เป็นไปตามแผนที่กำหนด บริหารงบประมาณด้วยความประหยัด คุณภาพของงานคุ้มค่ากับงบประมาณที่เสียไป มีการวิเคราะห์การใช้จ่ายงบประมาณ โดยทำการสรุปผลการใช้งบประมาณประจำปี และรายงานให้คณะกรรมการประจำสำนักทราบ
            3. หลักการตอบสนอง มีกระบวนการปฏิบัติงาน และขั้นตอนการทำงาน โดยมีการกำหนดมาตรฐานระยะเวลาการให้บริการ เพื่อตอบสนองความต้องการของบุคคลภายนอก และนักศึกษา ให้เกิดความพึงพอใจสูงสุด พร้อมทั้งเร่งขจัดปัญหา /หรือข้อร้องเรียนต่างๆ (ถ้ามี) จากผู้รับบริการ รวมถึงการพัฒนาระบบสนับสนุนการดำเนินงานต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้รับบริการ
            4. หลักภาระรับผิดชอบ บุคลากรผู้ปฏิบัติงานภายในหน่วยงานั้น มีการกำหนดภาระหน้าที่ ความรับผิดชอบงานด้านต่างๆ อย่างชัดเจน เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย เนื่องจากภารกิจหลักของหน่วยงานเป็นการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผู้รับบริการ หลากหลายกลุ่ม การปฏิบัติงาน หรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับบุคคลกลุ่มดังกล่าวจึงจำเป็น ต้องปฏิบัติด้วยความระมัดระวัง มีความถูกต้อง เชื่อถือได้และเป็นไปตามระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ของมหาวิทยาลัย โดยในแต่ละงานนั้น มีการกำหนดผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน พร้อมทั้งกำหนดเป้าหมาย/ตัวชี้วัด ที่สามารถสนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยงาน และตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้เสีย
            5. หลักความโปร่งใส มีการนำเสนอการดำเนินงานของสำนักให้หน่วยงานภายนอกทราบ ผ่านการดำเนินโครงการ สนส. สัญจร มีกระบวนปฏิบัติงานที่ชัดเจน เปิดเผยชี้แจงได้เมื่อมีข้อสงสัย ผู้มีส่วนได้เสียสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างเสรี โดยจัดทำระบบข้อมูลสารสนเทศ ซึ่งบุคคลภายนอกจะได้ทราบทุกขั้นตอน กระบวนการต่าง ๆ ในการดำเนินงานของสำนักฯ และสามารถตรวจสอบได้ และจัดทำรายงานผลการดำเนินงานเพื่อเผยแพร่ ผ่านช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสารให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียรับทราบอย่างทั่วถึง
            6. หลักการมีส่วนร่วม มีการส่งเสริมให้นักศึกษา คณาจารย์ บุคลากร และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนและให้ข้อเสนอแนะการดำเนินงานของสำนัก ดังนี้
                        - มีคณะกรรมการประจำสำนักที่มาจากบุคคลภายนอกมีคณะกรรมการประจำสำนักที่มาจากบุคคลภายนอก
                        - ผู้ใช้บริการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมแสดงทัศนะ ร่วมเสนอปัญหาในการดำเนินงานของสำนัก
                        - นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้ที่เข้าร่วมกิจกรรมโครงการต่าง ๆ ที่หน่วยงานจัดขึ้น ได้ร่วมให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการดำเนินโครงการ/กิจกรรมในคราวต่อไป
            7. หลักการกระจายอำนาจ มีการบริหารงานตามกฎกระทรวงว่าด้วยการแบ่งส่วนราชการในมหาวิทยาลัย มีการแต่งตั้งหัวหน้ากลุ่มงานเพื่อดูแลรับผิดชอบภารกิจของกลุ่มงาน โดยมีการมอบอำนาจหน้าที่ให้รองผู้อำนวยการกำกับดูแลแต่ละกลุ่มงาน มีการแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งต่างๆ เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจของสำนัก เพิ่มการกระจายอำนาจการตัดสินใจ ด้านการให้บริการของหน่วยงานไปยังศูนย์การศึกษาย่านมัทรี รวมถึงการมอบหมายงานต่าง ๆ ให้แก่บุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องกับงานนั้น ให้มีอำนาจการตัดสินใจในเบื้องต้น
            8. หลักนิติธรรม ผู้บริหารปฏิบัติหน้าที่ และขับเคลื่อนงานของหน่วยงานตามกรอบของกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด และผู้บริหาร บุคลากรปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ
            9. หลักความเสมอภาค มีการให้บริการนักศึกษา คณาจารย์ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างเท่าเทียมกัน มีระบบให้บริการทั้งในส่วนของนักศึกษาและคณาจารย์ รวมทั้งจัดหาสิ่งสนับสนุนการให้บริการนักศึกษา (ย่านมัทรี) ด้วยระบบ Video Conference ซึ่งนักศึกษาสามารถใช้เป็นช่องทางติดต่อ สอบถามข้อมูล ขอรับคำปรึกษาผ่านระบบดังกล่าวได้ทันที
            10. หลักมุ่งเน้นฉันทามติ ในการประชุมสำนักฯ และคณะกรรมการประจำสำนัก ผู้บริหารยึดหลักเคารพมติของเสียงส่วนใหญ่และความคิดเห็นที่แตกต่าง เพื่อให้เกิดฉันทามติและการดำเนินงานของเป็นไปในทิศทางที่เหมาะสม
            เอกสารอ้างอิง
                        1. แผนยุทธศาสตร์ 5 ปี 2560-2564
                        2. แผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ 2560
                        3. รายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ 2559
                        4. รายงานการเบิกจ่ายงบประมาณ ปีงบประมาณ 2559
                        5. รายงานการเบิกจ่ายงบประมาณ ปีงบประมาณ 2560 รอบ 6 เดือน
                        6. รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำสำนัก
                        7. ลดรอบการทำงาน
                        8. ระบบงานที่พัฒนาเพื่อให้บริการนักศึกษา
                        9. ระบบงานที่พัฒนาเพื่อให้บริการอาจารย์
                        10. ระบบให้บริการคำร้องออนไลน์
                        11. ระบบให้บริการลงทะเบียนเพิ่มเติมออนไลน์
                        12. การบริหารงานบุคคล
                        13. รายงานผลการประเมินความพึงพอใจผู้รับบริการ
                        14. สรุปผลโครงการ สนส. สัญจร 2559
                        15. ระบบติดตามคำร้องงานทะเบียน
                        16. รายงานประจำปี 2559
                        17. รายงานการศึกษาตนเอง ปีงบประมาณ 2559
                        18. รายงานผลการตรวจสอบภายใน
                        19. คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการประจำสำนักฯ 2560
                        20. คำสั่งแต่งตั้งผู้รักษาราชการในตำแหน่งหัวหน้างาน
                        21. แนวปฏิบัติในการกำกับดูแลองค์กรที่ดี
เกณฑ์ประเมินข้อที่ 5. ค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีจากความรู้ทั้งที่มีอยู่ในตัวบุคคลทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรงและแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ตามประเด็นความรู้ อย่างน้อยครอบคลุมพันธกิจ ด้านการผลิตบัณฑิตและด้านการวิจัย จัดเก็บอย่างเป็นระบบโดยเผยแพร่ออกมา เป็นลายลักษณ์อักษรและนำมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง
ผลการดำเนินงาน
            สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มีการดำเนินการและบริหารจัดการความรู้ภายในหน่วยงาน ตามนโยบายการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัย และสนับสนุนการปฏิบัติงานตามภารกิจของสำนักฯ ดังนี้
            1. คณะกรรมการจัดการความรู้ (KM Team) ประกอบด้วยผู้บริหารและบุคลากรกลุ่มงานต่างๆ โดยพิจารณาการจัดการความรู้ในปีงบประมาณ 2559 มาใช้เป็นแนวทางกำหนดประเด็นความรู้ และกลุ่มเป้าหมายของการจัดการความรู้ ที่สนับสนุนการดำเนินงานตามประเด็นยุทธศาสตร์ ทั้ง 3 ประเด็น
            2. เมื่อได้ขอบเขตประเด็นความรู้ที่สนับสนุนการดำเนินงานตามประเด็นยุทธศาสตร์แล้ว หน่วยงานจัดประชุมบุคลากรสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน เพื่อคัดเลือกประเด็นความรู้ที่บุคลากรต้องการ ซึ่งประเด็นความรู้ที่บุคลากรส่วนใหญ่ให้ความสนใจ คือ
                        ประเด็นความรู้: เรื่อง การพัฒนาศักยภาพการให้บริการ
                        ขอบเขตความรู้: สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมประสิทธิภาพการให้บริการ
                        เป้าหมายของการจัดการความรู้: เพื่อให้บุคลากรและผู้บริหารทุกระดับ มีความสามารถในการพัฒนาระบบให้บริการตามพันธกิจของหน่วยงานที่มีประสิทธิภาพ มุ่งเน้นสร้างความพึงพอใจแก่ผู้รับบริการ
                        กลุ่มเป้าหมาย: บุคลากรภายในสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียนทุกคน             3. หลังจากนั้นหน่วยงานได้จัดประชุมผู้บริหารและหัวหน้ากลุ่มงาน เพื่อทำแผนการจัดการความรู้ และกำหนดกิจกรรม/โครงการ เพื่อสร้างความรู้ให้แก่กลุ่มเป้าหมายในประเด็นที่ต้องการ
            4.หน่วยงานมีการแสวงหาความรู้ โดยการจัดกิจกรรมให้บุคลากรได้เข้าศึกษาดูงานหน่วยงานที่มีความเป็นเลิศ โดดเด่นด้านการให้บริการ และเชิญผู้ทรงคุณวุฒิจากภายในมหาวิทยาลัยมาร่วมแลกเปลี่ยนแนวคิดในการสร้างทัศนคติที่ดีในการให้บริการ และประชุมแลกเปลี่ยนประเด็นปัญหาการดำเนินงานรอบที่ผ่านมา โดยมีกิจกรรม/โครงการต่าง ๆ ดังนี้
                        4.1 จัดโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แนวปฏิบัติที่ดีด้านการให้บริการ กับสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เมื่อวันที่ 28-30 พฤศจิกายน 2559 มีประเด็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คือ แนวทางการให้บริการด้านงานทะเบียนและประมวลผล การจัดการห้องเรียน ตารางเรียน ตารางสอน และระบบการให้บริการนักศึกษา/อาจารย์ รวมถึงการแลกเปลี่ยนแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการให้บริการ (รวมทั้งกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างหน่วยงาน)
                        4.2 จัดโครงการส่งเสริมการจัดการความรู้ เพื่อพัฒนาการให้บริการที่เป็นเลิศ เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2560 ณ ห้องประชุมดุสิตา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทัศนุพันธุ์ กุศลสถิต มาร่วมแลกเปลี่ยนแนวคิดในการสร้างทัศนคติที่ดีในการให้บริการ และการสร้างแรงจูงใจในการให้บริการอย่างมีความสุข
                        4.3 จัดโครงการแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่ดีด้านการใช้ระบบสารสนเทศ มาสนับสนุนการให้บริการ กับสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี เมื่อวันที่ 5-7 มิถุนายน 2560
            5. จากการจัดกิจกรรม/โครงการดังกล่าว ผู้บริหารมีนโยบายให้บุคลากรทุกคน นำแนวปฏิบัติและองค์ความรู้ที่ได้รับ มาปรับใช้กับการดำเนินงาน ดังนี้
                        5.1 ให้บุคลากรทำการทบทวนกระบวนงาน ขั้นตอนการให้บริการภายใต้ความรับผิดชอบของตน พร้อมทั้งทบทวนระยะเวลามาตรฐานในการให้บริการแก่นักศึกษา อาจารย์ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
                        5.2 พัฒนาระบบสนับสนุนการให้บริการ ลดการใช้ทรัพยากรสิ้นเปลือง (ลดกระดาษ ลดเวลา)
                        5.3 นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการปฏิบัติงาน เช่น การให้บริการทางไกลผ่านระบบ Video Conference จากมหาวิทยาลัย(ในเมือง) ไปยังศูนย์การศึกษาย่านมัทรี (พยุหะคีรี)
            6. องค์ความรู้ที่ได้รับจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้แก่
                        6.1 เทคนิคการให้บริการแบบจิตบริการ โดยผู้ให้บริการต้องมีความจริงใจ เต็มใจให้บริการ มีความรอบรู้ในงานที่ปฏิบัติ สื่อสารด้วยความชัดเจนด้วยข้อมูลที่ถูกต้อง มีความน่าเชื่อถือ
                        6.2 แนวปฏิบัติด้านการให้บริการโดยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีส่วนช่วยในการขับเคลื่อนการปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายของหน่วยงาน เช่น การใช้ Google Tool มาช่วยเป็นช่องทางการประชาสัมพันธ์ข้อมูล ปฏิทินวิชาการต่างๆ เพื่อสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้ใช้บริการ
                        6.3 มีขั้นตอนกระบวนการให้บริการที่ได้รับการทบทวน ปรับปรุงให้ทันสมัย และมีการรักษาระยะเวลามาตรฐานการลดรอบการให้บริการ
            เอกสารอ้างอิง
                        1. แผนการจัดการความรู้ สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน
                        2. รายงานความก้าวหน้าการจัดการความรู้ รอบ 9 เดือน
                        3. ผลการทบทวนปรับปรุงกระบวนงาน ของบุคลากร และระยะเวลามาตรฐานการให้บริการ
                        4. รายงานโครงการส่งเสริมการจัดการความรู้ 2560
เกณฑ์ประเมินข้อที่ 6. การกำกับติดตามผลการดำเนินงานตามแผนการบริหารและแผนพัฒนาบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน
ผลการดำเนินงาน
            คณะผู้บริหารได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการบริหาร และพัฒนาคนควบคู่ไปกับการพัฒนางาน โดยมีการกำกับติดตามการดำเนินงานด้านบุคลากร ดังนี้
            1. กำหนดแนวทางในการบริหารทรัพยากรบุคคล โดยเริ่มจากการกำหนดกรอบอัตรากำลังระยะยาว 5 ปี การกำหนดคุณสมบัติตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งงาน ภาระงานและขั้นตอนการปฏิบัติงานในตำแหน่งต่างๆ รวมถึงการพัฒนาและสร้างขวัญกำลังใจ และส่งเสริมความก้าวหน้าในสายงาน
            2. คณะกรรมการบริหารสำนัก นำแนวทางการบริหารงานบุคคล มาจัดทำเป็นแผนพัฒนาบุคลากรประจำปีงบประมาณ 2560 ซึ่งมีนโยบายส่งเสริมและพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน รวมถึงทักษะชีวิตอื่นๆ ที่บุคลากรสนใจ โดยจัดกิจกรรม/โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากร ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน
            3. นำเสนอแผนพัฒนาบุคลากร ประจำปีงบประมาณ 2560 แก่คณะกรรมการประจำสำนัก พิจารณาให้ความเห็นชอบ ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2560 เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2560
            4. ผู้รับผิดชอบโครงการตามแผนพัฒนาบุคลากร ดำเนินกิจกรรม/โครงการพัฒนาบุคลากร ภายใต้การกำกับดูแล ของคณะกรรมการบริหารสำนักฯ
            5. คณะผู้บริหารได้ส่งเสริมให้บุคลากรเข้ารับการพัฒนาศักยภาพทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน และติดตามผลการเข้าร่วมกิจกรรมโครงการต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ พร้อมทั้งกำหนดให้ผู้เข้าร่วมโครงการพัฒนาบุคลากรจัดทำรายงานผลการเข้าร่วมอบรมหรือกิจกรรม/โครงการทั้งในรูปของแบบรายงานผล และรูปเล่มรายงาน
            6. ผู้บริหารสนับสนุนให้นำความรู้ที่ได้มาทำการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบุคลากรภายในหน่วยงาน เพื่อนำแนวปฏิบัติที่ดีมาปรับใช้ในการปฏิบัติงาน และมีการติดตามผลการนำความรู้ไปใช้ จากผลการปฏิบัติงานตามภาระงานหลักที่ความรับผิดชอบ ซึ่งจะนำไปเป็นข้อมูลส่วนหนึ่งเพื่อประกอบการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน ตามเกณฑ์การประเมินในแบบ ป. 6 แบบ กผ. 1 และ แบบ กส. 4
            เอกสารอ้างอิง
                        1. แนวทางการบริหารงานบุคคล
                        2. แผนพัฒนาบุคลากร ปีงบประมาณ 2560
                        3. รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำสำนัก ครั้งที่ 1/2560
                        4. รายงานผลการเข้าร่วมอบรม/ดูงาน ปีงบประมาณ 2559
                        5. รายงานผลการเข้าร่วมอบรม/ดูงาน ปีงบประมาณ 2560
                        6. ตัวอย่างการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในงานของบุคลากร
เกณฑ์ประเมินข้อที่ 7. ดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามระบบและกลไกที่เหมาะสมและสอดคล้องกับพันธกิจและพัฒนาการของคณะที่ได้ปรับให้การดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารงานคณะตามปกติที่ประกอบด้วยการควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพ และการประเมินคุณภาพ
ผลการดำเนินงาน
            หน่วยงานมีระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายในที่สอดคล้องกับพันธกิจของสำนักฯ และสอดคล้องกับการมหาวิทยาลัย ดังนี้
            1. ระบบการควบคุมคุณภาพ นำประกาศนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน มาทำการทบทวนและปรับให้สอดคล้องกับการดำเนินงานระดับสำนัก มีคณะกรรมการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของสำนักฯ รับผิดชอบการดำเนินงานตามตัวชี้วัดต่าง ๆ รวมทั้งแผนการประกันคุณภาพการศึกษา
            2. ระบบการติดตามตรวจสอบคุณภาพ สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน จัดทำโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการการติดตาม ตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายใน โดยจัดทำรายงาน การประเมินตนเอง ปีการศึกษา 2559 เสนอต่อคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ การประกันคุณภาพการศึกษา ของมหาวิทยาลัยให้ข้อเสนอแนะในการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา
            3. ระบบการประเมินคุณภาพ มีคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับสำนักและสถาบัน ประจำปีการศึกษา 2559 เพื่อสรุปผลการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ของสำนัก และมีการนำผลการประกันคุณภาพการศึกษามาจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพ เพื่อพัฒนาการดำเนินงานของหน่วยงาน ให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผล
            เอกสารอ้างอิง
                        1. นโยบายการประกันคุณภาพสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน
                        2. คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสำนัก
                        3. แผนการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหน่วยงาน
                        4. ปฏิทินการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน
                        5. ระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน
                        6. โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสำนัก
                        7. รายชื่อคณะกรรมการตรวจสอบและกำกับติดตามการประกันคุณภาพภายใน ระดับสำนัก สถาบัน ปีการศึกษา 2559
                        8. คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินคุณภาพฯ
                        9. แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2559

ผลการประเมินปีที่ผ่านมา
ลำดับตัวบ่งชี้
ผลการดำเนินงานคะแนนอิงเกณฑ์การประเมินตัวบ่งชี้  สกอ.
ตัวบ่งชี้ที่ 5.1
เป้าหมายที่กำหนด
ผลที่ได้
การบรรลุเป้าหมาย
คะแนน
6 ข้อ
6 ข้อ
บรรลุ
4 คะแนน

ผลการประเมินตนเองปีนี้
ลำดับตัวบ่งชี้
ผลการดำเนินงานคะแนนอิงเกณฑ์การประเมินตัวบ่งชี้  สกอ.
ตัวบ่งชี้ที่ 5.1
เป้าหมายที่กำหนด
ผลที่ได้
การบรรลุเป้าหมาย
คะแนน
5 ข้อ
6 ข้อ
บรรลุ
5 คะแนน

ผลการประเมินของคณะกรรมการปีนี้  
ลำดับตัวบ่งชี้
ผลการดำเนินงานคะแนนอิงเกณฑ์การประเมินตัวบ่งชี้  สกอ.
ตัวบ่งชี้ที่ 5.1
เป้าหมายที่กำหนด
ผลที่ได้
การบรรลุเป้าหมาย
คะแนน
5 ข้อ

จุดแข็ง
  • ไม่มี
จุดอ่อน
  • ไม่มี
ข้อเสนอแนะ
  • เพิ่มเติมความรู้ความเข้าใจด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในแก่บุคลากรภายในหน่วยงานทุกคน ให้เกิดความเข้าใจในการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในที่ถูกต้อง