องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ในการดำเนินงาน ระดับหน่วยงาน

            ตามที่มหาวิทยาลัยมีนโยบายการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน และมอบหมายผู้กำกับตัวบ่งชี้ ผู้จัดเก็บข้อมูลและผู้รับผิดชอบดำเนินการตามองค์ประกอบ /ตัวบ่งชี้ การประกันคุณภาพภายใน ประจำปีการศึกษา 2564 ไปแล้วนั้น สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้จัดเก็บข้อมูล และผู้รับผิดชอบดำเนินการตัวบ่งชี้การประกันคุณภาพภายใน ดังนี้

องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ (ระดับหน่วยงาน)

            ตัวบ่งชี้ที่ 5.2    การบริหารของหน่วยงานเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบันและเอกลักษณ์ของหน่วยงาน

            เกณฑ์มาตรฐาน

            1. พัฒนาแผนกลยุทธ์จากผลการวิเคราะห์ SWOT โดยเชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์และสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของสำนัก สถาบัน รวมทั้งสอดคล้องกับกลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของหน่วยงาน และพัฒนาไปสู่แผนกลยุทธ์ทางการเงิน และแผนปฏิบัติการประจำปีตามกรอบเวลาเพื่อให้บรรลุตามตัวบ่งชี้และเป้าหมายของแผนกลยุทธ์ และเสนอผู้บริหารระดับสถาบันเพื่อพิจารณาอนุมัติ

            2. ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินที่ประกอบด้วยต้นทุนต่อหน่วยในแต่ละหลักสูตร สัดส่วนค่าใช้จ่ายเพื่อพัฒนานักศึกษา อาจารย์ บุคลากร การจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการบริหารหลักสูตร ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการผลิตบัณฑิต และโอกาสในการแข่งขัน

            3. ดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยงที่เป็นผลจากการวิเคราะห์และปัจจัยเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากปัจจัยภายนอก หรือปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามพันธกิจของสำนักฯ และให้ระดับความเสี่ยงลดลงจากเดิมอย่างน้อย 1 เรื่อง

            4. บริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลอย่างครบถ้วนทั้ง 10 ประการ ที่อธิบายการดำเนินงานอย่างชัดเจน

            5. ค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีจากความรู้ที่มีอยู่ในตัวบุคคล ทักษาของผู้มีประสบการณ์ตรง และแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ ตามประเด็นความรู้ อย่างน้อยครอบคลุมพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิตและด้านการวิจัย จัดเก็บอย่างเป็นระบบโดยเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรและนำมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง

            6. กำกับติดตามผลการดำเนินงานตามแผนบริหารและแผนพัฒนาบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน

            7. ดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามระบบและกลไกที่เหมาะสม และสอดคล้องกับพันธกิจและพัฒนาการของหน่วยงานที่ได้ปรับให้การดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารงานหน่วยงานตามปกติที่ประกอบด้วยการควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพและการประเมินคุณภาพ



ตัวบ่งชี้ตามพันธกิจของสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน

ตัวบ่งชี้ที่ 1 ระบบและกลไกการรับสมัครนักศึกษาใหม่

ชนิดตัวบ่งชี้ กระบวนการ

คำอธิบายตัวบ่งชี้

            การแสวงหาผู้เรียนเพื่อเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา ที่มีคุณสมบัติเป็นไปตามความต้องการของหลักสูตร เป็นหนึ่งในกระบวนการพื้นฐานซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จของหลักสูตร และบรรลุเป้าประสงค์ตามพันธกิจและภารกิจหลักของสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการรับสมัครนักศึกษาใหม่ การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการที่ใช้ในการคัดเลือกต้องมีความโปร่งใส ชัดเจน มีเครื่องมือที่ใช้ในการคัดเลือก ให้ได้นักศึกษาที่มีความพร้อมทางปัญญา สุขภาพกายและใจ มุ่งมั่นและตั้งใจที่จะเรียน เพื่อให้สามารถสำเร็จการศึกษาตามระยะเวลาของหลักสูตร

            เพื่อให้ได้มาซึ่งนักศึกษาใหม่ที่มีคุณสมบัติตามความต้องการของหลักสูตรนั้น ๆ กระบวนการในการแสวงหาผู้เรียนจึงมีความจำเป็นและสำคัญอย่างยิ่ง ที่หน่วยงานต้องดำเนินการให้เป็นไปด้วยความโปร่งใส่ มีการสื่อสารและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างทั่วถึง

เกณฑ์มาตรฐาน

            1. มีการจัดทำแผนการรับสมัคร กำหนดระยะเวลาการดำเนินงาน ประกาศหรือระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน

            2. มีการกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดการดำเนินการรับสมัครนักศึกษาใหม่ที่ชัดเจน ตรงตามความต้องการของหลักสูตรการสอนภายในมหาวิทยาลัย

            3. จัดให้มีกิจกรรม เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์การรับสมัคร และการประชาสัมพันธ์หลักสูตรการสอน เพื่อการรับสมัครนักศึกษาใหม่ โดยนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เข้ามาใช้ในการดำเนินกิจกรรม

            4. มีการรายงานผลการดำเนินการรับสมัครนักศึกษาใหม่ ตามรอบระยะเวลาการรับสมัคร ให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ

            5. จัดให้มีการประเมินผลการดำเนินการรับสมัครนักศึกษาใหม่

            6. นำผลการประเมินฯ มาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงานในปีถัดไป

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ
1 ข้อ
มีการดำเนินการ
2 ข้อ
มีการดำเนินการ
3 ข้อ
มีการดำเนินการ
4 ข้อ
มีการดำเนินการ
5 ข้อ


ตัวบ่งชี้ที่ 2 ระบบและกลไกการตรวจสอบคุณวุฒินักศึกษา

ชนิดตัวบ่งชี้ กระบวนการ

คำอธิบายตัวบ่งชี้

            ภายใต้กรอบการดำเนินงานของหน่วยงาน ที่มีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลจากหน่วยงานไปยังหน่วยงานอื่น ซึ่งการตรวจสอบคุณวุฒิทางการศึกษา เป็นภารกิจหนึ่งที่มีการดำเนินงานในลักษณะดังกล่าว และเป็นกิจกรรมการปฏิบัติที่เป็นส่วนหนึ่งของงานรับสมัครนักศึกษา และการให้บริการแก่หน่วยงานภายนอก ซึ่งการตรวจสอบคุณวุฒิทางการศึกษาภายใต้การดำเนินงานของหน่วยงาน แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้

            1. การตรวจสอบคุณวุฒิทางการศึกษา สำหรับนักศึกษาใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อยืนยันสถานะการสำเร็จการศึกษาจากสถานศึกษาเดิม และคุณสมบัติของนักศึกษาใหม่ให้เป็นไปตามความต้องการของหลักสูตร

            2. การตรวจสอบคุณวุฒิทางการศึกษา เพื่อเป็นการยืนยันสถานการณ์สำเร็จการศึกษาของบัณฑิต ที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ในช่วงระยะเวลาต่าง ๆ

            การตรวจสอบคุณวุฒิทางการศึกษาทั้ง 2 ลักษณะ นั้น หน่วยงานกำหนดรอบระยะเวลาในการจัดเก็บข้อมูล ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม - 31 กรกฎาคม ของปีถัดไป

เกณฑ์มาตรฐาน

            1. มีการกำหนดแผนการดำเนินงาน คู่มือการตรวจสอบคุณวุฒิการศึกษา

            2. มีการดำเนินงานตามกำหนดการ แผนงาน หรือปฏิทินการดำเนินงาน ตามขั้นตอนการปฏิบัติงานที่กำหนด โดยนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาสนับสนุนการดำเนินงาน

            3. กำหนดให้มีการกำกับติดตาม ตรวจสอบการดำเนินงาน ให้เป็นไปตามขั้นตอน ระยะเวลา ที่กำหนด

            4. จัดให้มีการประเมินผลการดำเนินการตรวจสอบคุณวุฒินักศึกษาตามระยะเวลาที่กำหนด

            5. นำผลการประเมินฯ มาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงานในปีถัดไป

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ
1 ข้อ
มีการดำเนินการ
2 ข้อ
มีการดำเนินการ
3 ข้อ
มีการดำเนินการ
4 ข้อ
มีการดำเนินการ
5 ข้อ


ตัวบ่งชี้ที่ 3 ร้อยละความพึงพอใจการให้บริการในภาพรวม

ชนิดตัวบ่งชี้ ผลลัพธ์

คำอธิบายตัวบ่งชี้

            สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มีพันธกิจหลักในการสนับสนุนการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัย และการให้บริการวิชาการแก่นักศึกษา คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และบุคคลภายนอก เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้รับบริการ

เกณฑ์การให้คะแนน

            ใช้ค่าเฉลี่ยของผลการประเมินความพึงพอใจผู้รับบริการ (คะแนนเต็ม 5)



ตัวบ่งชี้ที่ 4 ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้สารสนเทศของหน่วยงาน

ชนิดตัวบ่งชี้ ผลลัพธ์

คำอธิบายตัวบ่งชี้

            สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มีเป้าประสงค์ในการเป็นหน่วยงาน ที่มีคุณภาพด้านการบริการวิชาการ โดยมุ่งเน้นการให้บริการแก่นักศึกษา คณาจารย์ และบุคคลทั่วไป ด้วยจรรยาบรรณในการทำงาน มีความเสมอภาค และสร้างความพึงพอใจแก่ผู้รับบริการในรูปแบบต่าง ๆ และมีช่องทางการให้บริการผ่านทางหน้าเว็บไซต์ของหน่วยงาน นอกจากนี้หน่วยงานได้มีการพัฒนาระบบงานเพื่อการให้บริการที่มีประสิทธิภาพ และยกระดับการให้บริการงานตามพันธกิจของหน่วยงาน ให้มีความทันสมัย มีความถูกต้อง สะดวก รวดเร็ว และมีการปรับปรุงพัฒนาฐานข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ

            ปัจจุบันสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มีการพัฒนาระบบสนับสนุนการให้บริการทั้งในส่วนของการปรับปรุงระบบงาน และการพัฒนาขึ้นใหม่ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของหน่วยงาน ในปีการศึกษา 2564 หน่วยงานดำเนินการประเมินความพึงพอใจการใช้งานระบบจากผู้ใช้งาน โดยคัดเลือกระบบงานที่เกี่ยวข้องและส่งผลกระทบต่อผู้ใช้มากที่สุด จำนวน 3 ระบบงาน ได้แก่

            ระบบเพิ่ม-ถอนรายวิชา ช่วยสนับสนุนให้นักศึกษาสามารถลงทะเบียนจองรายวิชาเรียนต่าง ๆ นอกเหนือจากแผนการเรียนในภาคเรียนปกติของตนเองได้ ปัจจุบันมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่การเข้าใช้งานโดยการพิมพ์คำร้องเสนอเซ็นต์เพื่อขออนุมัติ จนถึงปัจจุบัน เป็นการใช้งานโดยการเพิ่ม-ถอนรายวิชาผ่านระบบออนไลน์ทั้งหมด โดยนักศึกษาไม่ต้องดำเนินการจัดพิมพ์เอกสารเพื่อขออนุมัติ

            ระบบคำร้องออนไลน์ เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่นักศึกษา สามารถเข้าถึงการใช้งานได้ง่าย อีกทั้งยังช่วยลดระยะเวลา ลดความผิดพลาดของเอกสาร และลดการสูญหายของเอกสารคำร้อง นอกจากนี้นักศึกษายังสามารถติดตามการดำเนินการของคำร้องที่ตนเองยื่นเรื่องไว้ ว่าอยู่ในขั้นตอน กระบวนการใด สถานะคำร้องได้รับการอนุมัติแล้วหรือไม่

            ระบบส่งผลการเรียนผ่านอินเทอร์เน็ต (สำหรับอาจารย์ผู้สอน) เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่อาจารย์ผู้สอน ในการส่งผลการเรียน รายวิชาที่รับผิดชอบ

            ระบบงานอาจารย์ที่ปรึกษา ระบบสนับสนุนการดำเนินงานของอาจารย์ที่ปรึกษาประจำหมู่เรียน ครอบคลุมงานด้านต่าง ๆ ได้แก่ การให้คำปรึกษาด้านวิชาการ การลงทะเบียนเรียน การเพิ่ม-ถอนรายวิชา การตรวจสอบโครงสร้างหลักสูตรของนักศึกษา การออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ตลอดจนการแนะแนวอาชีพ และกิจกรรม

เกณฑ์การให้คะแนน

            ใช้ค่าเฉลี่ยของผลการประเมินความพึงพอใจภาพรวมของผู้ใช้สารสนเทศ (คะแนนเต็ม 5)

แนวทางการจัดเก็บข้อมูล

            1. จัดเก็บข้อมูลการใช้งานระบบฯ จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม 64 - 31 กรกฏาคม 2565

            2. การประเมินการใช้งานระบบ เป็นการประเมินแบบออนไลน์ ในช่วงระยะเวลาที่ผู้ประเมินเข้าใช้งาน



ตัวบ่งชี้ที่ 5 ระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในการรักษามาตรฐานระยะเวลาการให้บริการ

ชนิดตัวบ่งชี้ ผลผลิต

คำอธิบาย

            1. การให้บริการถือเป็นภาระงานตามพันธกิจหลักของสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน ในฐานะหน่วยงานสนับสนุนการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ การให้บริการต่าง ๆ ผ่านเคาน์เตอร์ของหน่วยงาน ซึ่งจำเป็นจะต้องรักษามาตรฐานระยะเวลาการให้บริการ เพื่อสร้างความพึงพอใจแก่ นักศึกษาผู้รับบริการ

            2. ระดับคะแนนพิจารณาจากระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยของผู้รับบริการที่ได้รับบริการตามรอบระยะเวลามาตรฐาน โดยเปรียบเทียบกับผู้รับบริการทั้งหมดในแต่ละกระบวนงาน

            3. รอบระยะเวลามาตรฐาน หมายถึง ระยะเวลาให้บริการตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. กำหนด ซึ่งได้มาจากผลการวิเคราะห์ระยะเวลาการให้บริการที่ทุกมหาวิทยาลัยสามารถดำเนินการลดได้จริง และได้แจ้งระยะเวลาให้บริการดังกล่าวเป็นผลการปฏิบัติราชการ ณ สิ้นปีงบประมาณ

            4. ตามแบบฟอร์ม 1 ที่สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียนคัดเลือกกระบวนงานเพื่อนำมาประเมินผลในปีการศึกษา 2564 สำนักส่งเสริมวิชาการต้องขอเพิ่มเติมเงื่อนไขในกระบวนงาน คือ การให้บริการเอกสารที่ต้องมีการเสนอเซ็นต่อผู้บริหารโดยจะ (ไม่นับระยะเวลาในการรอเซ็นอนุมัติเอกสาร)


ตารางและสูตรการคำนวณ :

จำนวนผู้รับบริการที่ได้รับบริการตามรอบระยะเวลามาตรฐาน x 100
จำนวนผู้รับบริการทั้งหมดที่ได้รับบริการตลอดปีการศึกษาที่ประเมิน

เกณฑ์การให้คะแนน :

ระดับคะแนน เกณฑ์การให้คะแนน
1
ร้อยละ50
2
ร้อยละ60
3
ร้อยละ70
4
ร้อยละ80
5
ร้อยละ90

แหล่งข้อมูล/วิธีการจัดเก็บข้อมูล :

            1. กำหนดให้กลุ่มงานทะเบียนและประมวลผลรวบรวมผลการดำเนินงานทุกงานบริการ ที่เกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

            2. จัดเก็บข้อมูลผลการดำเนินงานรายงานที่สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน

            ปีการศึกษา 2564 (สิงหาคม 2564 - กรกฎาคม 2565) สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน ได้ดำเนินการจัดเก็บข้อมูลตามตัวบ่งชี้ที่ได้รับมอบหมาย และจัดทำรายงานผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ โดยมีรายละเอียดผลการดำเนินงาน ดังนี้