องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

ตัวบ่งชี้ที่ 5.2 การบริหารของหน่วยงานเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจกลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของหน่วยงาน

ชนิดของตัวบ่งชี้ กระบวนการ

ผู้กำกับดูแลตัวบ่งชี้ :

ผศ.ปราณี เนรมิตร
อาจารย์เอกวิทย์ สิทธิวะ

ผู้จัดเก็บข้อมูล :

หัวหน้าสำนักงานผู้อำนวยการ
หัวหน้ากลุ่มงาน 3 กลุ่มงาน

โทรศัพท์ : 0-5621-9100 ต่อ 1201

โทรศัพท์ : 0-5621-9100 ต่อ 1203


เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ
1 ข้อ
มีการดำเนินการ
2 ข้อ
มีการดำเนินการ
3 ข้อ
มีการดำเนินการ
4-5 ข้อ
มีการดำเนินการ
6 ข้อ

การประเมินตนเอง

เกณฑ์ประเมินข้อที่ 1.

พัฒนาแผนกลยุทธ์จากผลการวิเคราะห์ SWOT โดยเชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์และ สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของสำนัก สถาบัน รวมทั้งสอดคล้องกับกลุ่มสถาบันและ เอกลักษณ์ของหน่วยงาน และพัฒนาไปสู่แผนกลยุทธ์ทางการเงินและ แผนปฏิบัติการประจำปีตามกรอบเวลาเพื่อให้บรรลุตามตัวบ่งชี้และเป้าหมาย ของแผนกลยุทธ์และเสนอผู้บริหารระดับสถาบันเพื่อพิจารณาอนุมัติ

ผลการดำเนินงาน

            ในปีงบประมาณ 2565 สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มีการทบทวนแผนกลยุทธ์ระดับต่าง ๆ ดังนี้

            1. แต่งตั้งคณะกรรมการ ทบทวนแผนยุทธศาสตร์ และแผนปฏิบัติการประจำปี สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน เพื่อกำหนดนโยบาย แนวทางการดำเนินงานในการทบทวนแผนกลยุทธ์ต่าง ๆ

            2. จัดประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักฯ ร่วมกันคัดกรองผลการวิเคราะห์ข้อมูล สภาพแวดล้อมภายใน-ภายนอก (SWOT) จากบุคลากรที่ได้จากการประชุมกลุ่มย่อยเพื่อทบทวนแผนยุทธศาสตร์ฯ 5 ปี (2561-2565) ฉบับทบทวน ปี พ.ศ. 2564 และนำผลที่ได้มาจัดทำ TOWS Matrix (ภาพที่ 1)

            3. วิเคราะห์ความเชื่อมโยงสอดคล้องระหว่างปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจระดับหน่วยงาน กับระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งแผนยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ กลยุทธ์ ตัวชี้วัด และค่าเป้าหมาย มีความเชื่อมโยงไปยังแผนต่าง ๆ





            4. เมื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์ 5 ปี (ทบทวน 2564) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว หน่วยงานได้แปลงแผนยุทธศาสตร์ไปสู่การจัดทำแผนกลยุทธ์ทางการเงิน 4 ปี 2561-2565 และแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ 2564 และ 2565 โดยมีการกำหนดกิจกรรม/โครงการ งบประมาณ ผู้รับผิดชอบ ระยะเวลาในการดำเนินงาน และกำหนดตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย เพื่อวัดความสำเร็จในการดำเนินงานตามแผน

            5. เสนอแผนยุทธศาสตร์ แผนปฏิบัติราชการประจำปี แผนกลยุทธ์ทางการเงิน แก่คณะกรรมการบริหารสำนักฯ เพื่อตรวจทานความถูกต้องเหมาะสม ก่อนเสนอต่อคณะกรรมการประจำสำนักฯ พิจารณาให้ความเห็นชอบ ในคราวประชุมครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2564 และเสนอมหาวิทยาลัยฯ เพื่อขออนุมัติแผนประจำปีงบประมาณ บันทึกข้อความ ที่ 595 /2564 เรื่อง ขอความอนุเคราะห์พิจารณาอนุมัติแผนการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ลงวันที่ 20 ตุลาคม 2564

            จากกระบวนการดังกล่าวข้างต้น หน่วยงานมีผลสำเร็จของการดำเนินงาน ตามแผนปฏิบัติราชการ และการบริหารงบประมาณ ในปีงบประมาณ 2564 และ 2565 ดังนี้

            ผลการบริหารงบประมาณ ปีงบประมาณ 2564

               งบประมาณที่ได้รับจัดสรร จำนวน 14,510,880 บาท

               งบประมาณที่เบิกจ่าย จำนวน 13,250,927.20 บาท

               ร้อยละความสำเร็จของการบริหารงบประมาณ 91.32 ร้อยละ

            ผลการบริหารงบประมาณ ปีงบประมาณ 2565

              ไตรมาสที่ 1

                  งบประมาณที่ได้รับจัดสรร จำนวน 1,325,9000.00 บาท

                  งบประมาณที่เบิกจ่าย จำนวน 968,117.95 บาท

                  ความสำเร็จของการบริหารงบประมาณคิดเป็นร้อยละ 73.02

              ไตรมาสที่ 2

                  งบประมาณที่ได้รับจัดสรร จำนวน 2,711,110.00 บาท

                  งบประมาณที่เบิกจ่าย จำนวน 1,975,744.10 บาท

                  ความสำเร็จของการบริหารงบประมาณคิดเป็นร้อยละ 72.88

              ไตรมาสที่ 3

                  งบประมาณที่ได้รับจัดสรร จำนวน 1,376,855 บาท

                  งบประมาณที่เบิกจ่าย จำนวน 1,376,855 บาท

                  ร้อยละความสำเร็จของการบริหารงบประมาณ 100 ร้อยละ

            ผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ 2565*

              โครงการ/กิจกรรมตามแผน ทั้งสิ้นจำนวน 13 โครงการ (แบ่งเป็น 44 กิจกรรมย่อย)

                  ดำเนินการจำนวน                       9 โครงการ

                  ร้อยละความสำเร็จตามแผนงาน     69.23 ของแผนการดำเนินงาน

            * ข้อมูล ณ วันที่ 22 ก.ค. 2565



เอกสารอ้างอิง

5.2-1-NSRU-MR-1 แผนยุทธศาสตร์ 5 ปี (2561-2565) ฉบับทบทวน ปี พ.ศ. 2564
5.2-1-NSRU-MR-2 แผนกลยุทธ์ทางการเงิน ปีงบประมาณ 2561-2564 (ปรับปรุง 2564)
5.2-1-NSRU-MR-3 แผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ 2564
5.2-1-NSRU-MR-4 รายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2564
5.2-1-NSRU-MR-5 แผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ 2565
5.2-1-NSRU-MR-6 รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำสำนักฯ ครั้งที่ 2/2564
5.2-1-NSRU-MR-7 บันทึกข้อความพิจารณาอนุมัติแผนยุทธศาสตร์ แผนกลยุทธ์ทางการเงิน และแผนปฏิบัติการประจำปี โดยอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

เกณฑ์ประเมินข้อที่ 2.

ดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยงที่เป็นผลจากการวิเคราะห์และปัจจัยเสี่ยง ที่เกิดขึ้นจากปัจจัยภายนอก หรือปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ที่ส่งผลต่อการ ดำเนินงานตามพันธกิจของสำนักฯ และให้ระดับความเสี่ยงลดลงจากเดิม

ผลการดำเนินงาน

            หน่วยงานมีแนวทางการจัดการความเสี่ยง ตามนโยบายมหาวิทยาลัย โดยใช้กระบวนการจัดการความเสี่ยงและควบคุมภายใน ตามแบบ COSO-ERM ดำเนินการ ดังนี้

            1. ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน เพื่อดำเนินงานและติดตามการผลการการจัดการความเสี่ยงภายในหน่วยงาน

            2. คณะกรรมการฯ สำรวจปัจจัยที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อการดำเนินงานของหน่วยงาน และมหาวิทยาลัย โดยเก็บข้อมูลจากบุคลากรทุกกลุ่มงานภายในหน่วยงาน ตามแบบฟอร์ม RM 1

            3. คณะกรรมการฯ รวบรวมข้อมูลที่ได้ ตามแบบฟอร์ม RM1 มาทำการคัดกรองแยกเรื่องที่มีลักษณะเป็นปัญหากับเรื่องที่มีลักษณะเป็นปัจจัยเสี่ยง โดยนำเรื่องที่เป็นปัจจัยเสี่ยงมาจัดลำดับความเสี่ยง ได้แก่

            ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นและส่งผลเสียต่อหน่วยงาน ได้แก่

              1. ระบบสารสนเทศเกิดความเสียหาย สาเหตุเนื่องมาจาก

               1.1 อุปกรณ์ เครื่องมือ ส่วนประกอบ ชำรุดเสียหาย

               1.2 การลักลอบเข้าถึงฐานข้อมูลสำคัญของหน่วยงานโดยบุคคลอื่น (ปัจจัยภายนอก)

              2. นักศึกษาไม่สำเร็จการศึกษาตามระยะเวลาที่กำหนดในแผนการเรียน

               2.1 ผลการเรียนไม่เป็นไปตามเกณฑ์

               2.2 นักศึกษาไม่ลงทะเบียนเรียนตามแผนการเรียน

               2.3 จัดแผนการเรียนไม่ครบตามโครงสร้างหลักสูตร

              3. การเกิดผลประโยชน์ทับซ้อนในการปฏิบัติงาน

               3.1 การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ไม่เป็นไปตามขั้นตอนและระเบียบ

               3.2 กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างไม่เป็นไปตามระเบียบเอื้อประโยชน์ต่อพวกพอง

            4. คณะกรรมการฯ นำข้อมูล ที่ได้มาทำการวิเคราะห์ความจำเป็นและสำคัญในการป้องกันความเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายในและภายนอก และจัดทำแผนการจัดการความเสี่ยง เพื่อกำหนดแนวทางรับมือกับความเสี่ยงนั้น และเสนอคณะกรรมการเพื่อพิจารณาอนุมัติ

               ปัจจัยภายนอกที่นำมาจัดทำแผนจัดการความเสี่ยง คือ

               4.1 ระบบสารสนเทศเกิดความเสียหาย สาเหตุเนื่องมาจาก

                  - อุปกรณ์ เครื่องมือ ส่วนประกอบ ชำรุดเสียหาย

                  - การลักลอบเข้าถึงฐานข้อมูลสำคัญของหน่วยงานโดยบุคคลอื่น (ปัจจัยภายนอกที่ดำเนินการต่อเนื่องจากปีงบประมาณ 2564 เนื่องจากหน่วยงานมีการปรับปรุงและพัฒนาระบบสารสนเทศอย่างต่อเนื่อง)

            5. มอบหมายผู้เกี่ยวข้องดำเนินกิจกรรม /โครงการตามแนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ได้กำหนดไว้ และรายงานความก้าวหน้าตามรอบระยะเวลาที่กำหนด

               ผลการจัดการความเสี่ยง ปีงบประมาณ 2564 พบว่า ประเด็นความเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายนอก เรื่อง การลักลอบเข้าถึงฐานข้อมูลสำคัญของหน่วยงานโดยบุคคลอื่น สามารถป้องกันไม่ให้เกิดเหตุไม่พึงประสงค์ได้ โดยผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้องที่ได้รับมอบหมาย ได้กำหนดแนวทางและวิธีปฏิบัติเพื่อป้องกันการเข้าถึงข้อมูลสำคัญของหน่วยงานอย่างชัดเจน ได้แก่

               1. การกำหนดสิทธิ์การเข้าถึง และใช้งานระบบสารสนเทศ ข้อมูลสำคัญของหน่วยงาน ตามภาระหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ภายใต้การกำกับดูแลจากหัวหน้างาน ผู้บังคับบัญชาตามลำดับขั้นอย่างใกล้ชิด

               2. ติดตั้งระบบความปลอดภัยของข้อมูล และการเข้าถึงข้อมูลจากผู้ไม่ได้รับอนุญาต


            การจัดการความเสี่ยง ปีงบประมาณ 2565 ประเด็นความเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายนอก คือ การลักลอบเข้าถึงฐานข้อมูลสำคัญของหน่วยงานโดยบุคคลอื่น (การจัดทำแผนฯ เพื่อรองรับความเสี่ยงและควบคุมภายใน) เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศต่าง ๆ มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว หน่วยงานจึงต้องมีการพัฒนาแนวทางการป้องกันเหตุแห่งความเสี่ยงดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง โดยมีการทบทวนแนวทางการป้องกัน ดังนี้

               1. ปรับปรุงสิทธิ์การเข้าถึงและการใช้งานข้อมูลสำคัญของหน่วยงาน ภายใต้การกำกับดูแล จากหัวหน้างาน ผู้บังคับบัญชาตามลำดับขั้น

               2. ปรับปรุงระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลให้ทันสมัยอยู่เสมอ

               3. การกำหนดระยะเวลาการเข้าใช้งานในแต่ละครั้ง เพื่อป้องกันการใช้งานที่มีระยะเวลานานผิดปกติ

               4. เพิ่มขั้นตอนการตรวจสอบซ้ำ สามารถตรวจสอบซ้ำได้ทั้งผู้รับข้อมูล และผู้ส่งข้อมูล


            ผลการกำกับติดตามการจัดการความเสี่ยงและประเมินผลการควบคุมภายใน ปีงบประมาณ 2565 รอบ 9 เดือน ในปัจจัยเสี่ยงภายนอก (ระบบสารสนเทศเกิดความเสียหาย) มีผลการดำเนินงานในภาพรวม ดังนี้

            ด้านระบบงานและการป้องกัน

               ยังไม่พบปัญหาที่เกิดจากการลักลอบเข้าใช้งาน ทั้งนี้เป็นผลมาจากการปรับปรุงระบบงานอย่างสม่ำเสมอ ทั้งในเรื่องการสำรองข้อมูล การกำหนดสิทธิ์การเข้าใช้งาน และการตรวจสอบบันทึกข้อมูลการเข้าใช้งานระบบฐานข้อมูลสำคัญ

เอกสารอ้างอิง

5.2-2-NSRU-MR-1 คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการจัดการความเสี่ยงและควบคุมภายใน
5.2-2-NSRU-MR-2 แผนการจัดการความเสี่ยง ปีงบประมาณ 2564
5.2-2-NSRU-MR-3 แผนการจัดการความเสี่ยง ปีงบประมาณ 2565
5.2-2-NSRU-MR-4 รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหาร
5.2-2-NSRU-MR-5 รายงานการผลการจัดการความเสี่ยง ปีงบประมาณ 2564
5.2-2-NSRU-MR-6 ผลการตรวจสอบและควบคุมภายใน จากหน่วยงานตรวจสอบภายในฯ
5.2-2-NSRU-MR-7 รายงานการผลการจัดการความเสี่ยง ปีงบประมาณ 2565 รอบ 9 เดือน



เกณฑ์ประเมินข้อที่ 3.

บริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลอย่างครบถ้วน ทั้ง 10 ประการ ที่อธิบาย การดำเนินงานอย่างชัดเจน

ผลการดำเนินงาน

            คณะผู้บริหารสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน บริหารงานภายใต้หลักธรรมาภิบาล ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และสังคมที่ดี พ.ศ. 2546 ดังนี้

            1. หลักประสิทธิผล: ผลการปฏิบัติราชการที่บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของแผนการปฏิบัติราชการตามที่ได้รับจัดสรรงบประมาณมาดำเนินการ โดยมีทิศทางยุทธศาสตร์ และเป้าประสงค์ที่ชัดเจน มีกระบวนการปฏิบัติงาน และระบบงานที่เป็นมาตรฐาน รวมถึงมีการติดตามประเมินผล และพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ ในปีงบประมาณ 2564 และ 2565 บริหารงานและกำกับดูแลของคณะผู้บริหาร ส่งผลให้หน่วยงานมีผลสำเร็จของการปฏิบัติราชการ ตามแผนยุทธศาสตร์การดำเนินงาน ทั้ง 3 ประเด็น ดังนี้

              1. ส่งเสริมการจัดการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรี และระดับบัณฑิตศึกษา

              2. ส่งเสริมการพัฒนางานบริการของหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพ

              3. ส่งเสริมการบริหารจัดการที่ได้มาตรฐานและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

              การดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ และแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ 2564 มีโครงการ /กิจกรรมตามแผนฯ ทั้งสิ้นจำนวน 19 โครงการใหญ่ (ประกอบด้วย 27 กิจกรรมย่อย บรรลุผลสำเร็จ จำนวน 20 กิจกรรม) ผลสำเร็จของการดำเนินโครงการคิดเป็นร้อยละ 74.07 ผลสำเร็จของตัวชี้วัดตามแผนปฏิบัติราชการ (จำนวน 22 ตัวชี้วัด บรรลุเป้าหมาย จำนวน 17 ตัวชี้วัด) คิดเป็นร้อยละ 77.27 และผลสำเร็จของการเบิกจ่ายงบประมาณ (รับจัดสรรงบประมาณ 14,510,880 บาท เบิกจ่ายเป็นเงิน 13,250,927.20 บาท) คิดเป็นร้อยละ 91.32

              การดำเนินงานจากแผนยุทธศาสตร์ และแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2565 มีโครงการ/กิจกรรมตามแผนฯ ทั้งสิ้นจำนวน 13 โครงการใหญ่ (ประกอบด้วย 44 กิจกรรมย่อย) ผลสำเร็จของการดำเนินโครงการ ณ ไตรมาส 3 ของแผนการดำเนินงาน คิดเป็นร้อยละ 69.23 และผลสำเร็จของการเบิกจ่ายงบประมาณ ได้รับจัดสรรงบประมาณ 7,315,000 บาท เบิกจ่ายเป็นเงิน 4,664,399.85 บาท คิดเป็นร้อยละ 63.76

            2. หลักประสิทธิภาพ: คณะผู้บริหารสำนักฯ บริหารงานโดยใช้ทรัพยากร ทั้งด้านงบประมาณ แรงงาน และ ระยะเวลาให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาขีดความสามารถในการปฏิบัติราชการตามภารกิจ และตอบสนองความต้องการของนักศึกษา อาจารย์ บุคลากรภายและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม เพื่อให้การดำเนินงาน มีประสิทธิภาพ คณะผู้บริหารฯ มีการกำกับติดตามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่

              1. ติดตามการบริหารจัดการด้านการจัดซื้อจัดจ้างและการจัดหาพัสดุ ให้เป็นไปตามแผนงบประมาณ ผ่านรายงานการจัดซื้อจัดจ้าง

              2. ติดตามการเบิกจ่ายงบประมาณที่ได้รับจัดสรร ให้เป็นไปตามแผนงบประมาณที่ได้รับทั้งงบประมาณเงินรายได้และงบประมาณแผนดิน

              3. ติดตามการปฏิบัติงานของบุคลากรภายในหน่วยงาน ตามภาระงานหลักที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนให้ผลการดำเนินงานของหน่วยงานบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้

              4. การติดตามการดำเนินงานกิจกรรม /โครงการตามแผนการดำเนินงานที่กำหนด

              ผลการบริหารงบประมาณ ปีงบประมาณ 2565

              ไตรมาสที่ 1

                  งบประมาณที่ได้รับจัดสรร จำนวน 1,325,9000.00 บาท

                  งบประมาณที่เบิกจ่าย จำนวน 968,117.95 บาท

                  ความสำเร็จของการบริหารงบประมาณคิดเป็นร้อยละ 73.02

              ไตรมาสที่ 2

                  งบประมาณที่ได้รับจัดสรร จำนวน 2,711,110.00 บาท

                  งบประมาณที่เบิกจ่าย จำนวน 1,975,744.10 บาท

                  ความสำเร็จของการบริหารงบประมาณคิดเป็นร้อยละ 72.88

              ไตรมาสที่ 3

                  งบประมาณที่ได้รับจัดสรร จำนวน 1,376,855 บาท

                  งบประมาณที่เบิกจ่าย จำนวน 1,376,855 บาท

                  ร้อยละความสำเร็จของการบริหารงบประมาณ 100 ร้อยละ

            3. หลักการตอบสนอง: การปฏิบัติตามบริบทของหน่วยงาน โดยมุ่งเน้นที่การให้บริการด้านวิชาการที่สามารถดำเนินการได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด และสร้างความเชื่อมั่น ความไว้วางใจ รวมถึงตอบสนองตามต้องการ ของประชาชน ผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีความหลากหลายและมีความแตกต่างกัน ให้ได้รับความพึงพอใจและบรรลุตามวิสัยทัศน์ของหน่วยงานที่ว่า “สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน เป็นองค์กรที่ทันสมัย ให้บริการถูกต้อง รวดเร็ว” โดยมีการดำเนินการดังนี้

              1. หน่วยงานจัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการให้บริการ เช่น ระบบงานสำหรับนักศึกษา ระบบงานสำหรับอาจารย์และอาจารย์ที่ปรึกษา สารสนเทศข้อมูลด้านงานทะเบียนและประมวลผลการศึกษา สารสนเทศข้อมูลด้านหลักสูตรและแผนการเรียน ตลอดจนระบบการแจ้งเตือนสถานะต่าง ๆ เช่น การแจ้งข้อมูลสถานะของนักศึกษาในระบบงานอาจารย์ที่ปรึกษา การแจ้งเตือนการส่งผลการเรียน

              2. จัดให้มีช่องทางและเครือข่ายการให้บริการที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น เช่น การให้บริการผ่านระบบออนไลน์ ปัจจุบันมีการพัฒนาระบบคำร้องออนไลน์ให้สามารถรองรับการอนุมัติแบบออนไลน์ (อยู่ระหว่างการปรับบปรุงและทดสอบระบบ) นอกจากนี้หน่วยงานยังพัฒนาช่องทางการให้บริการเอกสารทางการศึกษาผ่านระบบอิเลคทรอนิกส์ (digitalTranscrip)

              3. หน่วยงานมีการประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการอย่างต่อเนื่อง โดยมีผลการสอบถามความพึงพอใจอยู่ที่ระดับ 3.94 คะแนน และความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบสารสนเทศของหน่วยงาน อยู่ที่ระดับ 4.24 คะแนน พร้อมทั้งนำข้อเสนอแนะจากผู้รับบริการ มาดำเนินการทบทวน และปรับปรุงระบบงานให้บริการ ให้ตรงกับความต้องการใช้งานมากยิ่งขึ้น โดยกำหนดแนวทางการปรับปรุง พัฒนา ไว้ในแผนปฏิบัติการประจำปี

            4. หลักภาระรับผิดชอบ: หน่วยงานมีการปฏิบัติที่แสดงถึงความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่และผลงาน ต่อเป้าหมายที่กำหนดไว้ สนองต่อความคาดหวัง และแสดงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม ดังนี้

              1. ดำเนินงานภายใต้พันธกิจและภารกิจการจัดตั้งหน่วยงาน ตลอดจนภารกิจที่ได้รับมอบหมายจากมหาวิทยาลัยฯ ในการเป็นหน่วยงานสนับสนุนการจัดการศึกษาและงานด้านวิชาการให้บรรลุตามเป้าประสงค์

              2. มีการกำหนดทิศทางในการปฏิบัติงานที่ชัดเจน ผ่านการกำหนดวิสัยทัศน์ เป้าหมาย และผลการดำเนินงานของหน่วยงาน และมีการถ่ายทอดตัวชี้วัดการดำเนินงานของหน่วยงานไปสู่บุคลากร เพื่อการปฏิบัติงานที่บรรลุเป้าหมาย พร้อมทั้งประเมินผลการปฏิบัติงาน และตัวชี้วัดผลการปฏิบัติที่ชัดเจน โดยระบุไว้ในแผนยุทธศาสตร์ และแผนปฏิบัติราชการประจำปี

              3. เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ให้บุคคล และสังคมภายนอกทราบถึงบริบท หน้าที่และความรับผิดชอบของหน่วยงานตามพันธกิจหลักที่ได้รับมอบหมาย ผ่านช่องทาง http://apr.nsru.ac.th

            5. หลักความโปร่งใส: ผู้บริหารส่งเสริมให้หน่วยงานปฏิบัติหน้าที่เปิดเผยอย่างตรงไปตรงมา ชี้แจงได้เมื่อมีข้อสงสัยจากผู้รับบริการ และสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารอันไม่ต้องห้ามตามกฎหมายได้อย่างเสรีทุกขั้นตอน ในการดำเนินกิจกรรมหรือกระบวนการต่าง ๆ และสามารถตรวจสอบได้ มีตัวอย่างการปฏิบัติดังนี้

              1. กำกับให้มีการปฏิบัติงานที่เป็นไปตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสามารถติดตามกระบวนการปฏิบัติต่าง ๆ และสามารถตรวจสอบได้ผ่านช่องทาง http://apr.nsru.ac.th

              2. จัดให้มีการเข้ารับการตรวจสอบ ตรวจทานการปฏิบัติงาน จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น หน่วยงานตรวจสอบภายใน คณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการปฏิบัติงานฯ การเผยแพร่ข้อมูลตามหลักเกณฑ์การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ เป็นต้น

              3. จัดให้มีการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร ที่จำเป็นและสำคัญแจ้งให้แก่ผู้รับบริการของหน่วยงานทราบอย่างต่อเนื่อง ผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น เอกสารจดหมายข่าว แผ่นพับประชาสัมพันธ์ แผนผังขั้นตอนการปฏิบัติงาน สื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ

            6. หลักการมีส่วนร่วม: หน่วยงานเปิดโอกาสให้ ประชาชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม ได้เข้าร่วมในการรับรู้ เรียนรู้ ความเข้าใจ ร่วมแสดงทัศนะ ร่วมเสนอปัญหา /ประเด็นที่สำคัญที่เกี่ยวข้อง ร่วมคิดแนวทาง ร่วมการแก้ไขปัญหา ร่วมในกระบวนการตัดสินใจและกระบวนการพัฒนา

              1. จัดให้มีสอบถามข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และความต้องการในงานตามพันธกิจหลัก จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม เพื่อการพัฒนาหน่วยงานให้สามารถตอบสนองความต้องการและสร้างความพึงพอใจแก่ผู้รับบริการของหน่วยงานผ่านช่องทางต่าง ๆ

              2. เปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงาน การวางแผนงาน ตลอดจนการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับงานตามพันธกิจของหน่วยงาน ในลักษณะของคณะกรรมการประจำสำนักฯ ซึ่งประกอบด้วยบุคคลจากภายนอกหน่วยงาน คณะกรรมการดำเนินงานในกิจกรรม /โครงการต่าง ๆ

            7. หลักการกระจายอำนาจ: หน่วยงานมีการถ่ายโอนอำนาจการตัดสินใจทรัพยากร และภารกิจ รวมถึงการมอบอำนาจและความรับผิดชอบในการตัดสินใจและการเนินการให้แก่บุคลากร โดยมุ่งเน้นการสร้างความพึงพอใจในการให้บริการต่อผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และการปรับปรุงกระบวนการ เพื่อผลการดำเนินงานที่ดีของหน่วยงาน มีการปฏิบัติตามหลักการกระจายอำนาจ ดังนี้

              1. แต่งตั้งและมอบหมายงานให้ รองผู้อำนวยการ ในการกำกับการบริหารราชการ สั่งและปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการ

              2. แต่งตั้งและมอบหมายให้ หัวหน้าสำนักงานผู้อำนวยการฯ ควบคุม กำกับ และตรวจสอบการดำเนินงานของสำนักงานผู้อำนวยการ

              3. แต่งตั้งและมอบหมายงานแก่บุคลากร ในการปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจของสำนัก เพิ่มการกระจายอำนาจการตัดสินใจ ด้านการให้บริการของหน่วยงานไปยังศูนย์การศึกษาย่านมัทรี รวมถึงบุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องกับงานนั้น ให้มีอำนาจการตัดสินใจในเบื้องต้น

              4. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานร่วมดำเนินการในกิจกรรม/โครงการต่าง ๆ ที่หน่วยงานจัดขึ้น

            8. หลักนิติธรรม: ผู้บริหารปฏิบัติหน้าที่ และขับเคลื่อนงานของหน่วยงานตามกรอบของกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด และผู้บริหาร บุคลากรปฏิบัติงานด้วยความเป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ และคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น

              การดำเนินงานด้านการบริหารหน่วยงาน ดำเนินการภายใต้ พรบ.มหาวิทยาลัยราชภัฏ และหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากสภามหาวิทยาลัยฯ

              การดำเนินงานด้านหลักสูตรและแผนการเรียน ต้องดำเนินงานภายใต้ประกาศมหาวิทยาลัย และเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรจาก อว. เป็นต้น

              การดำเนินงานด้านงานทะเบียนและประมวลผลการศึกษา ดำเนินงานภายใต้ระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศ มหาวิทยาลัย เช่น การประกาศพ้นสภาพการเป็นนักศึกษา ดำเนินงานภายใต้ระเบียบมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ว่าด้วยการประเมินผลการศึกษาระดับอนุปริญญาและระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2550 และข้อบังคับ ระเบียบ หรือประกาศอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

            9. หลักความเสมอภาค: หน่วยงานมีการปฏิบัติและให้บริการอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่มีการแบ่งแยกด้านเพศ ถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา อายุ ความพิการ สภาพทางกายภาพหรือสุขภาพของสถานะ บุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจ ความเชื่อทางศาสนา การศึกษา การฝึกอบรม และอื่นๆ หน่วยงานมีการดำเนินการ

              1. จัดทำฐานข้อมูลด้านการให้บริการ เพื่อรองรับการให้บริการนักศึกษา คณาจารย์ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างเท่าเทียมกัน มีระบบให้บริการทั้งในส่วนของนักศึกษาและคณาจารย์

              2. จัดหาสิ่งสนับสนุนการให้บริการนักศึกษาผ่านระบบออนไลน์ต่าง ๆ ซึ่งนักศึกษาสามารถใช้เป็นช่องทางติดต่อ สอบถามข้อมูล ขอรับคำปรึกษาผ่านระบบดังกล่าวได้ทันที

              3. สร้างทัศนคติ และค่านิยมด้านความเสมอภาคให้แก่บุคลากร ในการให้บริการแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างเท่าเทียมกัน

              4. ให้บริการผู้มาติดต่อความความเท่าเทียมกัน ทั้งในด้านคุณภาพการให้บริการ การอำนวยความสะดวก การให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ภายใต้แนวนโยบายที่เป็นไปตามระเบียบและวิธีปฏิบัติด้วยมาตรฐานเดียวกัน

            10. หลักมุ่งเน้นฉันทามติ: ผู้บริหารหน่วยงานฯ ดำเนินงานภายใต้คณะกรรมการประจำสำนักฯ และคณะกรรมการบริหารสำนักฯ ยึดหลักเคารพมติของเสียงส่วนใหญ่และความคิดเห็นที่แตกต่าง เพื่อให้เกิด ฉันทามติ และการดำเนินงานให้เป็นไปในทิศทางที่เหมาะสม ตัวอย่างการปฎิบัติของผู้บริหารสำนักฯ ที่แสดงให้เห็นถึงการมุ่งเน้นฉันทามติ ได้แก่

              1. การพิจารณากิจกรรม/โครงการของหน่วยงาน การออกเสียงหรือแสดงความเห็นในการประชุมบุคลากรสำนักฯ และคณะกรรมการประจำสำนักฯ เป็นต้น

              2. คณะกรรมการบริหารฯ และคณะกรรมการประจำสำนัก ตลอดจนผู้ปฏิบัติงานยึดกฎระเบียบข้อบังคับในการดำเนินงาน เคารพมติของเสียงส่วนใหญ่ และความคิดเห็นที่แตกต่าง เพื่อให้เกิดฉันทามติ และการดำเนินงานของสำนักฯ


            เอกสารอ้างอิง

            5.2-3-NSRU-MR-1 แผนยุทธศาสตร์ 5 ปี พ.ศ. (2564-2568) ฉบับทบทวน ปี พ.ศ. 2564
            5.2-3-NSRU-MR-2 แผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ 2564
            5.2-3-NSRU-MR-3 แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ 2565
            5.2-3-NSRU-MR-4 รายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ 2564
            5.2-3-NSRU-MR-5 รายงานการเบิกจ่ายงบประมาณ ปีงบประมาณ 2564
            5.2-3-NSRU-MR-6 รายงานการเบิกจ่ายงบประมาณ ปีงบประมาณ 2565 รอบ 9 เดือน
            5.2-3-NSRU-MR-7 ตัวอย่างรายงานการประชุมคณะกรรมการประจำสำนัก
            5.2-3-NSRU-MR-8 ตัวอย่างรายงานการประชุมบุคลากรสำนัก
            5.2-3-NSRU-MR-9 ระบบงานที่พัฒนาเพื่อให้บริการนักศึกษา
            5.2-3-NSRU-MR-10 ระบบงานที่พัฒนาเพื่อให้บริการอาจารย์
            5.2-3-NSRU-MR-11 ระบบให้บริการคำร้องออนไลน์
            5.2-3-NSRU-MR-12 ระบบให้บริการลงทะเบียนเพิ่มเติมออนไลน์
            5.2-3-NSRU-MR-13 การบริหารงานบุคคล
            5.2-3-NSRU-MR-14 รายงานผลการประเมินความพึงพอใจผู้รับบริการ ปีงบประมาณ 2564
            5.2-3-NSRU-MR-15 รายงานประจำปี 2564
            5.2-3-NSRU-MR-16 รายงานการศึกษาตนเอง ปีงบประมาณ 2564
            5.2-3-NSRU-MR-17 รายงานผลการตรวจสอบภายใน ปีงบประมาณ 2564 (รอบ 12 เดือน)
            5.2-3-NSRU-MR-18 ช่องทางการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารแก่บุคคลภายนอก
            5.2-3-NSRU-MR-19 สรุปสถิติการให้บริการ ปีงบประมาณ 2565 รอบ 9 เดือน
            5.2-3-NSRU-MR-20 คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการประจำสำนักฯ



เกณฑ์ประเมินข้อที่ 4.

ค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีจากความรู้ทั้งที่มีอยู่ในตัวบุคคลทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรงและ แหล่งเรียนรู้อื่น ๆ ตามประเด็นความรู้ อย่างน้อยครอบคลุมพันธกิจ ด้านการผลิตบัณฑิต และด้านการวิจัย จัดเก็บอย่างเป็นระบบโดยเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรและ นำมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง

ผลการดำเนินงาน

            สำนักส่งเสริมวิชาการฯ มีการดำเนินการและบริหารจัดการความรู้ภายในหน่วยงาน ตามนโยบายการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัย และสนับสนุนการปฏิบัติงานตามภารกิจของสำนักฯ เพื่อพัฒนาหน่วยงานให้เกิดวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ ดังนี้

            สำรวจความรู้ที่ต้องการ (P)

            1. คณะกรรมการจัดการความรู้ ประกอบด้วยผู้บริหารและบุคลากร โดยพิจารณากิจกรรมการจัดการความรู้ในปีงบประมาณ 2564 มาใช้เป็นแนวทางกำหนดประเด็นความรู้ และกลุ่มเป้าหมายของการจัดการความรู้ ที่สนับสนุนการดำเนินงานพันธกิจของหน่วยงาน

            2. คัดเลือกประเด็นความรู้ที่บุคลากรต้องการ ซึ่งประเด็นความรู้ที่บุคลากรส่วนใหญ่ให้ความสนใจ โดยดำเนินการสำรวจความรู้ที่ต้องการจากบุคลากรภายในหน่วยงาน เพื่อคัดเลือกความรู้ที่บุคลากรมีความสนใจ และต้องการเรียนรู้ร่วมกัน ผ่านช่องทาง https://forms.gle/rKLNH9e7VN5TBAaJA ผลการสำรวจ พบว่า ผู้บริหารและบุคลากร จำนวน 26 คน โหวตเลือกความรู้ที่ต้องการแลกเปลี่ยน ใน 4 เรื่อง ผลดังนี้

                ประเด็นความรู้: สื่อสารในยุคดิจิทัลเพื่อยกระดับงานบริการของหน่วยงาน

                ขอบเขตความรู้: สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริมการบริหารจัดการที่ได้มาตรฐานและเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

                เป้าหมายของการจัดการความรู้: เพื่อให้บุคลากรภายในหน่วยงานได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และสามารถนำแนวคิด แนวปฏิบัติที่ดีในการสื่อสารภายในองค์กร และการสื่อสารระหว่างองค์กร กับบุคคล ภายนอก ตลอดจนเครื่องมือสนับสนุนการสื่อสารข้อมูลด้านวิชาการที่มีประสิทธิภาพ ไปใช้ในการพัฒนาหน่วยงานอย่างมีประสิทธิผล

                กลุ่มเป้าหมาย: ผู้บริหาร และบุคลากรภายในสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน


            การดำเนินกิจกรรม (D)

            1. รวบรวมและสรุปผลการดำเนินงาน ปัญหา อุปสรรคในการปฏิบัติงานรอบปีงบประมาณที่ผ่านมา รวมทั้งแนวคิด เทคนิค วิธีการที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานด้านต่าง ๆ ภายใต้กรอบงานตามโครงสร้างของสำนักฯ เช่น บริการหน้าเคาน์เตอร์ การตอบข้อซักถาม การประสานงานเรื่องต่าง ๆ และประเด็นปัญหา การดำเนินงานรอบที่ผ่านมา จากประเด็นความรู้ที่ต้องการคือ “สื่อสารในยุคดิจิทัลเพื่อยกระดับงานบริการของหน่วยงาน” พบว่า งานให้บริการของหน่วยงานจำเป็นต้องให้ความสำคัญเรื่องการดำเนินงานต้องเป็นไปตามระเบียบ ข้อบังคับ แล้วนั้น อีกสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญไม่ต่างกันคือเรื่องการสื่อสารระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการ บุคลากรและผู้บริหารได้นำประเด็นดังกล่าวมาทบทวนความรู้เดิมและเครื่องมือที่มีอยู่เดิม ที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารระหว่างบุคคล ทั้งในแบบทางการและไม่เป็นทางการ

            2. จัดกลุ่มของปัญหาที่พบจากการดำเนินงานที่ผ่านมา พร้อมทั้งแนวทางการจัดการปัญหา และความรู้ใหม่ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนระหว่างบุคลากร นำข้อมูลความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มาสรุปปัญหา และอุปสรรคจากการปฏิบัติงานของตนเอง ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นปัญหาและอุปสรรคที่พบเป็นรายด้าน ดังนี้

                2.1 ปัญหาหรืออุปสรรคที่เกิดจากตัวผู้ปฏิบัติงานเอง เช่น ขาดการเตรียมพร้อมในการให้บริการ การศึกษาทำความเข้าใจถึงกระบวนการ ขั้นตอนการบริการ

                2.2 ปัญหาหรืออุปสรรคที่เกิดจากสิ่งอำนวยความสะดวก ที่สนับสนุนการให้บริการ ระบบสนับสนุนการให้บริการกลุ่มต่าง ๆ รวมถึงช่วงเวลาในการให้ข้อมูลและตอบข้อซักถาม

            3. แลกเปลี่ยนเรียนรู้และถ่ายทอดความรู้ โดยการดำเนินกิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการ “สื่อสารอย่างไรในยุคดิจิทัล ?” เมื่อวันอังคารที่ 19 เมษายน 2565 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมดุสิตา อาคาร 14 ชั้น 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ พร้อมทั้งประเมินผลความพึงพอใจของบุคลากรที่มีต่อกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (ด้านเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์) ผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ที่คะแนน 4.59 มีรายละเอียด ดังนี้

เรื่องที่แลกเปลี่ยน ผู้ถ่ายทอดความรู้ ความรู้/แนวทางที่ได้
1. การรับเรื่องและการตอบข้อซักถามข้อมูลด้านวิชาการ อาจารย์เอกวิทย์ สิทธิวะ   แนวทางการคัดกรอง และรับเรื่องเพื่อตอบข้อซักถาม ประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการ การใช้งานระบบสารสนเทศของหน่วยงาน ดังนี้
   1. กรณีรับเรื่องทางโทรศัพท์
   - ควรสอบถามเรื่องที่ต้องการติดต่อ
   - สอบถามข้อมูลเบื้องต้นของผู้ติดต่อ เช่น รหัสนักศึกษา เพื่อตรวจสอบในระบบงานนักศึกษาและแก้ไขปัญหา
   2. กรณีรับเรื่องผ่านช่องทางออนไลน์
   - บันทึกข้อซักถามที่ได้รับ พร้อมทั้งข้อมูลติดต่อกลับและส่งเรื่องไปยังส่วนงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผู้รับบริการได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง
2. การใช้งาน Google Workspace เพื่อการสื่อสารภายในหน่วยงาน อาจารย์เอกวิทย์ สิทธิวะ    การนำเครื่องมือ Google Chat เข้ามาใช้เป็นช่องทางสนับสนุนการสื่อสารภายในหน่วยงาน มีข้อดีของ Google Chat ที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการ จะใช้ที่อยู่อีเมลของเพื่อนร่วมงานในหน่วยงานในการติดต่อ และจุดแข็งของ Google Chat ก็คือ ข้อมูลทั้งหมดจะเก็บไว้บน Cloud ซึ่งจะไม่เปลืองพื้นที่ในคอมพิวเตอร์หรือในโทรศัพท์ และที่สำคัญมีความปลอดภัยสูง เชื่อมต่อการทำงานกับเครื่องมือต่าง ๆ ของ Google Workspace อย่าง Drive Calendar และ Google Meet โดยการเข้าใช้งานนั้น บุคลากร สนส. ใช้ผูกกับ e-mail ของมหาวิทยาลัย
3. การประยุกต์ใช้ Chat botสนับสนุนงานประชาสัมพันธ์และบริการอาจารย์และนักศึกษา นายธีระศักดิ์ อ่องทิพย์    แนวทางการนำ Chat Bot มาปรับใช้ในการสื่อสารและตอบคำถาม ผ่านโซเชียลมีเดียของหน่วยงาน ได้แก่ Line Bot และ Messenger Chat Bot ซึ่งสามารถตอบโจทย์ความต้องการในการใช้เป็นช่องการสื่อสาร บริการข้อมูล และตอบข้อซักถามต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานบริการของหน่วยงานแก่อาจารย์ นักศึกษาและบุคคลภายนอกพร้อมทั้งวิเคราะห์งานให้บริการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับผู้รับบริการโดยตรง ได้แก่ งานหลักสูตรและแผนการเรียน งานทะเบียนและประมวลผลการศึกษา งานรับเข้านักศึกษา งานบริการด้านวิชาการต่าง ๆ เช่น ทุนการศึกษา, การตอบข้อซักถามเกี่ยวกับการยื่นคำร้องต่าง ๆ
   ปัจจุบันหน่วยงานได้นำระบบ Chat Bot เข้ามาสนับสนุนการตอบข้อซักถามเบื้องต้นผ่าน Messenger Chat สามารถคัดกรองและตอบข้อซักถามได้จำนวนหนึ่ง หากมีคำถามใดที่มีความซับซ้อน และต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ข้อคำถามนั้นจะถูกตแก้ไขโดยเจ้าหน้าที่ส่วนงานที่เกี่ยวข้อง
4. ระบบจัดเก็บเอกสารออนไลน์ CWIE นายเลอศักดิ์ สุขขำ    แนะนำการใช้งานระบบการจัดการข้อมูล CWIE แบ่งการใช้งานออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1) ระบบงานข้อมูลสำหรับอาจารย์ประจำหลักสูตร 2) ระบบงานสำหรับผู้ประสานงานกลาง และ 3) ระบบงานสำหรับสถานประกอบการ (อยู่ระหว่างการพัฒนา) พร้อมทั้งจัดทำคู่มือแนะนำการใช้งานระบบจัดการข้อมูลสำหรับบุคลากร สนส.

            การติดตามผลการดำเนินงานและการนำความรู้ไปใช้ (C)

            1. มีการติดตามผลการดำเนินงานตามแผน และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบุคลากรภายในหน่วยงาน และมีระบบเผยแพร่ความรู้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (เว็บเพจการจัดการความรู้ สื่อโชเชียลมีเดีย)

            2. มีการรายงานความก้าวหน้าการดำเนินกิจกรรม /โครงการตามแผนการจัดการความรู้ รอบ 9 เดือน เพื่อการยกย่องชมเชยแก่บุคลากรที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพการให้บริการ เพื่อให้บุคลากรมีทัศนคติที่ดีในการเผยแพร่องค์ความรู้และแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกันภายในหน่วยงาน

            3. ติดตามการนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงานผ่าน Google Forms:
https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSeTsZSNUXtUG8McWkSPWncjajgVymniWrqiGM5-Rmah1-f4xg/viewform
มีผลการดำเนินงาน ดังนี้

เรื่องที่แลกเปลี่ยน แหล่งที่นำความรู้ไปใช้ ผลการนำความรู้ไปใช้
1. การรับเรื่องและการตอบข้อซักถามข้อมูลด้านวิชาการ การให้บริการงานตามพันธกิจของหน่วยงาน    บุคลากรของหน่วยงานตอบแบบสำรวจการนำความรู้ไปใช้โดยภาพรวม พบว่า หลังจากปฏิบัติตามแนวทางที่ได้จากการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ การตอบข้อซักถามต่าง ๆ มีความรวดเร็ว และข้อคำถามตกค้างรอการตอบกลับลดลงจนเป็นศูนย์ สามารถตอบข้อคำถามได้อย่างถูกต้อง
2. การใช้งาน Google Workspace เพื่อการสื่อสารภายในหน่วยงาน การติดต่อสื่อสารภายในหน่วยงาน    ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสารภายในหน่วยงาน สามารถส่งไฟล์งาน และแท็กรายชื่อเพื่อมอบหมายงาน รวมถึงการแสดงผลการดำเนินงาน เก็บไฟล์งานได้นานสามารถย้อนกลับมาโหลดไฟล์เดิมได้ซึ่งต่างจากการใช้งานใน Line Group
3. การประยุกต์ใช้ Chat botสนับสนุนงานประชาสัมพันธ์และบริการอาจารย์และนักศึกษา ช่องทางประชาสัมพันธ์และสื่อสารข้อมูลทางวิชาการ ผ่านสื่อออนไลน์ (Face Book / Line)    สามารถตอบข้อมูลที่เกิดการถามซ้ำบ่อยครั้งในเรื่องเดิม นำไปใช้สำหรับการสื่่อสารบนเว็บงานบริการวิชาการของวารสารวิชาการฯ เพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางสำหรับการสอบถามข้อมูล และช่วยการเพิ่มช่องทางการสื่อสารที่สะดวกรวดเร็ว ตรงใจผู้รับบริการ
4. ระบบจัดเก็บเอกสารออนไลน์ CWIE การจัดเก็บข้อมูล CWIE    ทดลองนำเข้าข้อมูลบางรายการโดยนำแบบฟอร์มรายงานข้อมูลที่ได้จากการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางการขับเคลื่อนหลักสูตรสหกิจศึกษาและการบูรณาการกับการทำงาน มาปรับปรุงระบบจัดเก็บข้อมูลให้สามารถนำเข้าข้อมูลและรายงานผลการดำเนินงานผ่านช่องทางออนไลน์ และนำไปสู่จัดทำรายงานผลการดำเนินงาน CWIE ให้แก่แม่ข่ายฯ ได้ทันที (ปัจจุบันระบบฐานข้อมูลอยู่ระหว่างการปรับปรุงในส่วนงานของสถานประกอบการ)

            การทบทวน ปรับปรุงงาน (A)

            แนวปฏิบัติที่เกิดจากความรู้ในตัวบุคคลที่เกิดจากทักษะความรู้ของผู้มีประสบการณ์ตรง ผลจากการนำความรู้ไปทดลองใช้ประโยชน์ในงานที่เกี่ยวข้องจนทราบถึงผลดีและข้อจำกัดของเครื่องมือที่ใช้ และนำมาทบทวนการนำเครื่องมือมาปรับใช้ให้เกิดความเหมาะสมกับงาน

            เอกสารอ้างอิง

            5.2-4-NSRU-MR-1 แผนการจัดการความรู้ สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน
            5.2-4-NSRU-MR-2 แบบสำรวจความรู้จาก
            5.2-4-NSRU-MR-3 สรุปความรู้จากการแลกเปลี่ยน และภาพกิจกรรม
            5.2-4-NSRU-MR-4 แบบสำรวจการนำความรู้ไปใช้



เกณฑ์ประเมินข้อที่ 5.

การกำกับติดตามผลการดำเนินงานตามแผนการบริหารและแผนพัฒนาบุคลากรสายวิชาการ และสายสนับสนุน

ผลการดำเนินงาน

            ผู้บริหารมีการส่งเสริมการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากร และกำกับติดตามการดำเนินงานตามแผน ดังนี้

               1. มีการมอบหมายคณะทำงาน เพื่อวางแผนการพัฒนาบุคลากร กระบวนการ/วิธีการ พัฒนาบุคลากร ทั้งในสมรรถนะหลักและสมรรถนะรอง ประกอบด้วยผู้บริหารหน่วยงาน หัวหน้ากลุ่มงาน

               2. จัดทำแนวทางในการบริหารทรัพยากรบุคคล ซึ่งประกอบไปด้วย การวิเคราะห์และกำหนดกรอบอัตรากำลังระยะยาว การกำหนดคุณสมบัติตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งงาน ภาระงานและขั้นตอนการปฏิบัติงานในตำแหน่งต่าง ๆ แนวทางการพัฒนา สร้างขวัญกำลังใจ และส่งเสริมความก้าวหน้าในสายงาน ตลอดจนการจัดหาอัตราทดแทนการเกษียณอายุราชการ

               3. จัดทำแผนพัฒนาบุคลากรประจำปีงบประมาณ 2565 โดยมุ่งเน้น 2 ด้าน ในการพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน รวมถึงทักษะชีวิตอื่น ๆ ที่บุคลากรสนใจ จัดกิจกรรม /โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากร ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน

               4. ดำเนินการพัฒนาบุคลากร โดยการจัดสรรงบประมาณในการพัฒนาบุคคลากรส่งเสริมให้เข้ารับการอบรม ประชุม สัมมนา เพื่อเพิ่มทักษะความรู้ ในวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง และมีระบบการกำกับติดตามโดยให้บุคลากรรายงานผลการอบรม ประชุม สัมมนา แก่ผู้บริหารได้รับทราบข้อมูล

               5. ติดตามผลการพัฒนาศักยภาพบุคลากร (อย่างน้อย 2 ด้าน) ตามแผนงานที่กำหนด ผ่านช่องทาง
https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLScTZHmmZE6Ur_saFkozXQDidpBe1kwA_DtdXIlYJesKSL7mVA/viewform
พร้อมทั้งสนับสนุนให้นำความรู้ที่ได้มาทำการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบุคลากรภายในหน่วยงาน เพื่อนำแนวปฏิบัติที่ดีมาปรับใช้ในการปฏิบัติงาน และมีการติดตามผลการนำความรู้ไปใช้ สรุปผลได้ดังนี้

               1. มีบุคลากรภายในหน่วยงานได้รับการพัฒนาศักยภาพตามแผนงานที่กำหนด จำนวน 19 คน (ไม่นับรวมผู้บริหารตามวาระ) คิดเป็นร้อยละ 100 ของบุคลากรทั้งหมด แบ่งเป็นกลุ่มงานต่าง ๆ ดังแผนภาพ

               2. บุคลากรเข้าร่วมกิจกรรมการอบรม สัมมนา จากหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย จำนวน 12 ครั้ง และกิจกรรมที่จัดโดยหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัย จำนวน 22 ครั้ง (รายละเอียดตามเอกสารแนบ)

               3. ผลการดำเนินงารด้านการพัฒนาบุคลากรตามตัวชี้วัดแผนพัฒนาบุคลากร ปีงบประมาณ 2565

               ตัวชี้วัด : บุคลากรในสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียนได้เข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนาจากภายนอกในแต่ละปีงบประมาณ มีจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของจำนวนบุคลากรทั้งหมดในหน่วยงาน

               ผลการดำเนินงาน บุคลากรเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนาจากภายนอก จำนวน 19 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ของบุคลากรทั้งหมดในหน่วยงาน

               ตัวชี้วัด : บุคลากรมีคู่มือการปฏิบัติงาน ตามภาระหน้าที่ที่รับมอบหมายตามตำแหน่งงาน

               ผลการดำเนินงาน : บุคลากรทุกคนมีการจัดทำคู่มือปฏิบัติงานตามภาระงานที่ได้รับมอบหมายอย่างน้อย 1 งาน พร้อมทั้งทบทวนปรับปรุงคู่มือให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ

               6. จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงานโครงการจัดกิจกรรมการพัฒนาบุคลากร และรายงานให้มหาวิทยาลัยฯ ได้รับทราบ

            เอกสารอ้างอิง

            5.2-5-NSRU-MR-1 แนวทางการบริหารงานบุคคล สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน
            5.2-5-NSRU-MR-2 แผนพัฒนาบุคลากร ปีงบประมาณ 2565
            5.2-5-NSRU-MR-3 สรุปรายงานการพัฒนาตนเอง ปีงบประมาณ 2565
            5.2-5-NSRU-MR-4 รายงานผลการพัฒนาบุคลากรตามแผนพัฒนาบุคลากร ระดับมหาวิทยาลัย



เกณฑ์ประเมินข้อที่ 6.

ดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามระบบและกลไกที่เหมาะสม และสอดคล้องกับพันธกิจ และพัฒนาการของคณะที่ได้ปรับให้การดำเนินงาน ด้านการประกันคุณภาพเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารงานหน่วยงานตามปกติ ที่ประกอบด้วยการควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพและการประเมินคุณภาพ

ผลการดำเนินงาน

            สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียนมีระบบและกลไก การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ที่สอดคล้องกับพันธกิจของสำนักฯ และมีการดำเนินงานตามระบบอย่างครบถ้วน สอดคล้องกับนโยบายและพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัย ดังนี้

            1. การวางแผน (P)

                - นำประกาศนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน มาทำการทบทวนและปรับให้สอดคล้องกับการดำเนินงานระดับสำนักฯ

                - หน่วยงานมีการจัดทำแผนการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา 2564 โดยนำผลการประเมินและข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการประเมินคุณภาพในรอบปีที่ผ่านมา เป็นข้อมูลพื้นฐานในการดำเนินงานในปีการศึกษาถัดไป

                - มีคณะกรรมการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของหน่วยงาน เพื่อทำหน้าที่กำหนดแนวทางการดำเนินงาน ร่วมกำหนดตัวบ่งชี้เพิ่มเติมที่สอดคล้องกับการดำเนินงานตามพันธกิจ การติดตามจัดเก็บข้อมูลผลการดำเนินงาน และร่วมพัฒนา/ปรับปรุงการประกันคุณภาพของหน่วยงาน และมหาวิทยาลัยในองค์ประกอบที่ได้รับมอบหมาย

            2. การดำเนินงาน (D)

                - หน่วยงานมีการประชุมชี้แจงตัวบ่งชี้, เกณฑ์การดำเนินงาน พร้อมทั้งนำผลและข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในฯ ปีการศึกษา 2563 มาหารือร่วมกันเพื่อทบทวนและปรับปรุงการดำเนินงาน ผ่านการประชุมผู้บริหารและบุคลากร เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2564 ณ ห้องประชุมสภามหาวิทยาลัย อาคาร 14 ชั้น 8 โดยที่ประชุมพิจารณาลงความเห็นให้ดำเนินการจัดเก็บข้อมูลตามตัวชี้วัดเดิมเพื่อให้ครบวงรอบการดำเนินงาน

                - จัดส่งบุคลากรเข้าร่วมพัฒนาความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับองค์ประกอบคุณภาพ และตัวบ่งชี้เกณฑ์การประเมิน เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2565 การประชุมออนไลน์ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

                - สำนักส่งเสริมวิชาการฯ จัดทำรายงานผลการดำเนินงาน รอบ 6 เดือน รอบ 9 เดือน และรอบ 12 เดือน เสนอต่อคณะกรรมการบริหารฯ เพื่อให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในการดำเนินงาน และรายงานผลการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของสำนักฯ ต่อกลุ่มงานมาตรฐานการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

            3. การประเมินคุณภาพ (C)

                - มีการประชุมติดตามผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ และรายงานผลการประเมินตนเอง ระดับหน่วยงานแก่ผู้บริหารอย่างต่อเนื่องตามรอบระยะเวลา โดยจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมการประเมินคุณภาพภายใน ระดับหน่วยงาน เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2565 การประชุมออนไลน์ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยคณะกรรมการฯ ร่วมกันพิจารณาผลการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน ตามตัวบ่งชี้ รอบ 9 เดือน พร้อมทั้งร่วมกันปรับปรุงกระบวนการดำเนินงาน

                - จัดให้มีการประเมินคุณภาพ โดยคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับสำนักและสถาบัน ประจำปีการศึกษา 2564 สรุปผลการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของสำนัก เพื่อพัฒนาการดำเนินงานของหน่วยงาน ให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผล

            4. การควบคุมคุณภาพ

                สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะบียน ได้นำผลการประเมินคุณภาพภายใน ประจำปีการศึกษา 2563 จุดเด่น และข้อเสนอแนะต่าง ๆ มาประชุมร่วมกันเพื่อวางแผนพัฒนาคุณภาพภายในของหน่วยงาน ในปีการศึกษา 2564 และทบทวน/พัฒนาตัวบ่งชี้ที่สะท้อนถึงการดำเนินงานตามพันธกิจหลักของหน่วยงาน ในปีการศึกษาต่อไป

            เอกสารอ้างอิง

            5.2-6-NSRU-MR-1 นโยบายการประกันคุณภาพสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน
            5.2-6-NSRU-MR-2 แผนการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหน่วยงาน
            5.2-6-NSRU-MR-3 ปฏิทินการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน
            5.2-6-NSRU-MR-4 รายงานการประเมินตนเอง ปีการศึกษา 2564 รอบ 9 เดือน
            5.2-6-NSRU-MR-5 รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน

ผลการประเมินปีที่ผ่านมา

ลำดับตัวบ่งชี้ ผลการดำเนินงานคะแนนอิงเกณฑ์การประเมินตัวบ่งชี้ สกอ.
ตัวบ่งชี้ที่ 5.2
เป้าหมายที่กำหนด
ผลที่ได้
การบรรลุเป้าหมาย
คะแนน
6 ข้อ
6 ข้อ
บรรลุเป้าหมาย
4

ผลการประเมินตนเองปีนี้

ลำดับตัวบ่งชี้ ผลการดำเนินงานคะแนนอิงเกณฑ์การประเมินตัวบ่งชี้ สกอ.
ตัวบ่งชี้ที่ 5.2
เป้าหมายที่กำหนด
ผลที่ได้
การบรรลุเป้าหมาย
คะแนน
5 ข้อ
6 ข้อ
บรรลุ
5

ผลการประเมินของคณะกรรมการประเมินปีนี้

ลำดับตัวบ่งชี้ ผลการดำเนินงานคะแนนอิงเกณฑ์การประเมินตัวบ่งชี้ สกอ.
ตัวบ่งชี้ที่ 5.2
เป้าหมายที่กำหนด
ผลที่ได้
การบรรลุเป้าหมาย
คะแนน
5 ข้อ